Tag: CMMU
เจาะอินไซต์ 52 ล้านคนไทย “สายมู” กับ 5 อันดับความเชื่อ โอกาสแบรนด์ชูกลยุทธ์ “การตลาดของคนอยู่เป็น”
การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ชีวิตของผู้คน จาก Covid-19 ในปีที่ผ่านต่อเนื่องมาถึงปี 2021 เป็นการเพิ่มปัจจัยให้โลกเข้าสู่สถานการณ์ VUCA World เต็มตัว ซึ่งมี 4 คำหลัก คือ Volatility ผันผวน Uncertainty ไม่แน่นอน Complexity ซับซ้อน และ Ambiguity คลุมเครือ...
ถอดกลยุทธ์ Brand Loyalty ดึงผู้บริโภคไม่ให้เปลี่ยนใจ แถมสร้าง ‘สาวก’ ซื้อซ้ำบอกต่อ
แม้ยุคที่สถานการณ์ไม่เป็นใจในหลายๆ ธุรกิจ ที่ต้องเจอกับวิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ และยังไม่รู้ว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่การทำตลาดก็หยุดนิ่งไม่ได้ หากอยากเป็น “แบรนด์” ในใจลูกค้า ไม่ว่าจะยุคนี้ หรือจะ New Normal กลยุทธ์สร้าง Brand Loyalty มัดใจผู้บริโภคไม่ให้เปลี่ยนใจยังสำคัญเสมอวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยข้อมูลงานวิจัย “How to Hook” เทคนิคมัดใจลูกค้ายุคดิจิทัล...
การตลาดมัดใจลูกค้ายุคโควิด “แฮปปี้มาร์เก็ตติ้ง”เทรนด์แรง แพลตฟอร์มบันเทิงโดนใจทุกวัย
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และนโยบาย Social Distancing ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่พบว่าหันมาใช้สื่อออนไลน์ในการใช้ชีวิตประจำวันด้านต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อติดตามข่าวสาร ใช้เพื่อการสื่อสาร หรือรับชมความบันเทิง ตลอดจนช้อปปิ้งสินค้า ยิ่งในช่วงที่ผู้คนมีความเครียดจากการกักตัวอยู่บ้าน เป็นสิ่งที่ “แบรนด์” ต้องปรับกลยุทธ์โฟกัสการทำตลาดที่สร้างความสุขให้กับผู้บริโภคปัจจุบันประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet Penetration) สูงถึง 80% หรือ 55 ล้านคน มีพฤติกรรมออนไลน์วันละ 10.30...
เจาะอินไซต์ วัดระดับความเขียว “คนไทยสายกรีน” พร้อม 4 เทรนด์ธุรกิจโลกสวยมาแรง
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยผลวิจัย “การตลาดโลกสวย Voice of Green : เพื่อโลก เพื่อเรา” ทำความเข้าใจผู้บริโภคคนไทยในการตระหนักและคำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงทัศนคติและพฤติกรรม และหาแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมให้ลดลง โดยด้านทัศนคติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยมองว่าเป็นปัญหามากที่สุด อันดับ 1 คือ ปัญหาเรื่องพลาสติก เพราะมองว่าย่อยสลายได้ช้า และเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม 2. มลพิษทางอากาศ...
เคล็ดลับ “แบรนด์ไทย” Survive ในตลาดโลก เพราะแค่คำว่า “Thailand” ไม่ได้เหมาะกับการขายทุกอย่าง
เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันสินค้าแบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ไทยหลายๆ แบรนด์เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก สามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีหลายๆ แบรนด์ไทยที่มีศักยภาพ แต่เมื่อส่งออกไปขายในต่างประเทศจริงๆ กลับไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่บางรายได้พาร์ทเนอร์ที่ดี ได้ตลาดที่ดี รวมทั้งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ดีไซน์ ที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งที่ในตลาดประเทศนั้นๆ แต่เมื่อเข้าไปทำตลาดจริง กลับอยู่ได้เพียงไม่นานก็ต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักในประเทศไทยเหมือนเดิม ซึ่งในแต่ละปีมีเคสในลักษณะเช่นนี้จำนวนไม่น้อยเลยที่เดียวเหตุผลแบรนด์ไทยไม่แจ้งเกิดระดับอินเตอร์ข้อมูลที่น่าสนใจจาก คุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มาแชร์ประสบการณ์มากกว่า 15 ปี...
“ไม่ได้ขี้เกียจ แค่เสียดายเวลา” รู้จัก Lazy Consumer ผู้บริโภครุ่นใหม่ที่หวงแหนทุกวินาที แม้กระทั่งเวลาแปรงฟัน
“ความขี้เกียจ” ฟังดูอาจเป็นเหมือนพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่ในยุคปัจจุบันพฤติกรรมที่ดูคล้ายๆ กับว่าจะเป็นความขี้เกียจนี้อาจจะกลับกลายเป็นโอกาสทางการตลาดอย่างมหาศาล สำหรับผู้ที่เข้าใจอินไซต์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น "Lazy Consumer" แต่คงจะหมายความว่าเป็นคนขี้เกียจซะทีเดียวอาจจะไม่ถูกนัก แต่เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ชอบความสะดวกสบาย และหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะไม่อยากจะเสียเวลาทำบางสิ่งบางอย่างด้วยตัวเองทั้งนี้ เทรนด์ผู้บริโภคที่รักความสะดวกสบายไม่ได้เกิดขึ้นอยู่แค่ในประเทศไทย แต่กระจายไปทั่วโลก เพราะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีเวลาในการทำสิ่งสำคัญได้มากขึ้น เนื่องจาก เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และภารกิจต่างๆ ในแต่ละวันที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคในปัจจุบัน การมีเทคโนโลยี หรือมีผู้ช่วยมาทำงานเล็กๆ น้อยๆ...
เหตุเกิดจากความเหงา! เมื่อ “คนเหงา” กำลังเป็นวาระแห่งโลก ส่องเทรนด์ตลาด ธุรกิจที่กำลังโตจาก Pain point นี้
เมื่อได้ยินคำว่า “ความเหงา” หรือ “คนเหงา” หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ใครๆ ก็เหงากันได้ แต่ด้วยสภาพสังคมทั่วโลกในปัจจุบัน การพัฒนาของเทคโนโลยีที่กล่าวอ้างว่า ทำให้คนทั่วโลกขยับเข้ามาใกล้กันมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลับสร้างความเป็น Individual หรือความเป็นปัจเจกชนให้เพิ่มมากขึ้น คนส่วนใหญ่จึงมักจะอยู่คนเดียว แต่งงานกันช้าลง หย่าร้างกันมากขึ้น มีจำนวนคนโสดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้คนทั่วโลกที่ต้องอาศัยอยู่คนเดียวขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ปริมาณคนเหงาทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วความเหงาไม่ใช่แค่เรื่องของ “คนเหงา”ในบางประเทศ การขยายตัวของประชากรในกลุ่มคนเหงาเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็นความกังวลของรัฐบาล มองว่านี่คือต้นตอสำคัญของปัญหาทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์...
7 อินไซต์ เข้าใจ GEN Z พร้อมกลยุทธ์เจาะกระเป๋ากลุ่มกำลังซื้อใหม่ ที่แค่เร็วไม่พอ นาทีนี้ต้อง “ด่วน” เท่านั้น...
จาก Search Trend ของ Google พบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวนครั้งของการค้นหาคำว่า Generation Z (เจนเนอเรชั่น ซี) เติบโตขึ้นอย่างมาก และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ Generation อื่น สะท้อนถึงความสำคัญ และความน่าสนใจของคนกลุ่มนี้ ด้วยพฤติกรรมและทัศนคติที่ค่อนข้างซับซ้อน ประกอบกับเป็นกลุ่มที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยแรงงาน และพฤติกรรมเฉพาะตัวที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ ทั้งรูปแบบไลฟ์สไตล์...