HomeBrand Move !!สำรวจตลาดร้านอาหารปี ‘64 “CRG” ชู 5 กลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ “สาขาโมเดลใหม่ – ทำ M&A – ขายแฟรนไชส์”

สำรวจตลาดร้านอาหารปี ‘64 “CRG” ชู 5 กลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ “สาขาโมเดลใหม่ – ทำ M&A – ขายแฟรนไชส์”

แชร์ :

Shop in Shop_Arigato X Mister Donut

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปี 2563 กลุ่มธุรกิจอาหารได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ Landscape ของธุรกิจอาหาร และร้านอาหารเปลี่ยนไปมากพอสมควร เพราะฉะนั้นวิธีคิดที่เราเคยคิด ประสบการณ์ที่เคยมีในอดีต เปลี่ยนรูปแบบไปเยอะ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วันนี้ CRG ต้องทรานส์ฟอร์ม เพราะตอนนี้อุตสาหกรรมอาหาร และร้านอาหาร โดน Disrupt แล้ว จากเดิมที่เป็นยุค Traditional Trade พัฒนาไปสู่ยุค Modern Trade กระทั่งวันนี้เราอยู่ในยุค Digital Trade ดังนั้นธุรกิจอาหาร – ร้านอาหารจะเติบโตต่อไปได้ ต้องทรานส์ฟอร์ม” คุณณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group) หรือ “ซีอาร์จี (CRG)” ฉายภาพถึงความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอาหาร และร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหารที่จะเดินหน้าต่อได้ หากยังยึดกับ Business Model เดิมๆ คงไม่อาจก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ พฤติกรรมผู้บริโภค และการแข่งขัน

ในปี 2564 จึงเป็นปีที่ “CRG” กลุ่มธุรกิจร้านอาหารในเครือเซ็นทรัล กรุ๊ป ประกาศแผน “Transform For The Future” ด้วย 5 กลยุทธ์

Central Restaurants Group (CRG)

คุณณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group Co., Ltd)

 

สำรวจธุรกิจร้านอาหาร ปี 2563 – 2564 และ 6 ปัจจัย เปลี่ยน Landscape ธุรกิจร้านอาหาร

 

มูลค่าธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย

ปี 2562 อยู่ที่กว่า 400,000 ล้านบาท

ปี 2563 อยู่ที่กว่า 370,000 ล้านบาท ลดลงไปประมาณ 10% หรือกว่า 30,000 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

ปี 2564 คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดรวมธุรกิจร้านอาหาร จะกลับมาเท่ากับปี 2019 คืออยู่ที่กว่า 400,000 ล้านบาท

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้ฟื้นกลับมา ประกอบด้วย

– วัคซีน COVID-19

– เปิดประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมาเที่ยวประเทศไทย

– มีร้านใหม่เกิดขึ้น ช่วยกระตุ้นตลาดให้มีความคึกคัก

– ธุรกิจ Delivery กลายเป็นขาสร้างรายได้สำคัญให้กับร้านอาหาร ไม่น้อยไปกว่าบริการ Dine-in

ในขณะที่ 4 เซ็กเมนต์ธุรกิจร้านอาหารที่มีการขยายตัวดี และแข่งขันกันสูง คือ

  1. ร้านคาเฟ่ มูลค่าตลาดกว่า 30,000 ล้านบาท
  2. ร้านอาหารญี่ปุ่น มูลค่าตลาดกว่า 25,000 ล้านบาท
  3. ร้านหม้อไฟ (Hotpot) และร้านปิ้งย่าง มูลค่าตลาดกว่า 20,000 ล้านบาท
  4. ร้านไก่ทอด มูลค่าตลาดกว่า 28,000 ล้านบาท

Brown-Cafe

ทั้งนี้การเกิดขึ้นของ COVID-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง Landscape ธุรกิจร้านอาหารใน 6 มิติใหญ่คือ

– ผู้บริโภคคำนึงถึงความสะอาด และสุขอนามัยมากขึ้น

– ผู้บริโภคต้องการความหลากหลาย และประสบการณ์แปลกใหม่-น่าตื่นเต้น

– รสชาติยังคงเป็นหัวใจสำคัญ

– การตอบโจทย์ความสะดวก เป็นเรื่องพื้นฐานที่ธุรกิจร้านอาหารต้องมี

–  ราคา ต้องคุ้มค่า

– ต้องมีบริการ Delivery เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Delivery มากขึ้น ทำให้ร้านอาหารสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคได้รับความสะดวก และเข้าถึงร้านอาหารได้หลากหลาย ทั้งเชนใหญ่ และร้านเล็ก

KFC

 

CRG” ตั้งเป้าปี 2564 จะกลับมาโต ด้วยยอดขาย 12,000 ล้านบาท – ลุยเปิดสาขาเพิ่ม

ผลประกอบการธุรกิจ CRG ในปี 2563

– ยอดขาย 10,100 ล้านบาท ต่ำกว่าปี 2019 ประมาณ 17%

– เปิดสาขาใหม่ 30 สาขา ทำให้โดยรวม 16 แบรนด์ใน Portfolio มี 1,100 สาขา

– ยอดขาย Delivery 2,000 ล้านบาท โตจากปี 2019 ถึง 150% หรือเพิ่มขึ้น 800 ล้านบาท

– โมเดลธุรกิจใหม่ ได้ขยายร้านกาแฟ Arigato อีก 50 สาขา โดยใช้วิธีเปิดพร้อมกับร้านมิสเตอร์ โดนัท ขายแฟรนไชส์ร้านอร่อยดี เปิด Cloud Kitchen อีก 4 สาขา และเปิดตัว Virtual Brand ที่ให้บริการผ่าน Cloud Kitchen เท่านั้น

– ทำ Joint Venture กับ “OR” เพื่อนำแบรนด์ Café Amazon ปัจจุบันเปิดในเวียดดนามแล้ว 5 สาขา

– พัฒนาสาขาโมเดลใหม่ เช่น ทำ Hybrid Cloud โมเดล Mobile Box, KFC เปิดตัวสั่งอาหารรูปแบบ Click & Collect และทำสินค้า Ready to Eat – Ready to Cook

– สร้างความแข็งแกร่ง Brand Portfolio ด้วย “Merge & Acquisition” (M&A) โดยถือหุ้นใหญ่ใน Brown Café หลังจากเมื่อปี 2562 เข้าถือหุ้นใหญ่ใน Salad Factory

– งบลงทุน ตั้งไว้ 1,300 ล้านบาท แต่เมื่อเจอสถานการณ์ COVID-19 จึงใช้ไป 40% หรือประมาณ 470 ล้านบาท

CRG Transform for the future

ขณะที่เป้าหมายผลประกอบการปี 2564

– ตั้งเป้ายอดขาย 12,000 ล้านบาท หรือโต 20%

– เปิดสาขาเพิ่มอีก 200 สาขา ทำให้สาขารวมอยู่ที่ 1,300 สาขา

– วางงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 600 ล้านบาท เป็นงบขยายสาขาใหม่ / 300 ล้านบาท สำหรับรีโนเวทสาขาเดิม และลงทุนระบบไอที / 30 – 40 ล้านบาท เป็นงบการตลาด และงบโฆษณา

Ootoya

 

5 กลยุทธ์ “CRG” ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ สู่ยุค Digital Trade

 

เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของปี 2564 “CRG” มุ่งเน้น 5 กลยุทธ์หลักคือ

1. กลยุทธ์ขยายช่องทางการตอบโจทย์ลูกค้าอย่างหลากหลายและครบถ้วนใน 1 มื้อ (New Way to Serve the Customers) พร้อมลุยเมนูกัญชาออร์แกนิก

ใช้พลัง Synergy เครือข่ายร้านอาหารทั้ง 16 แบรนด์ของ CRG ที่มีจำนวนสาขามากกว่า 1,100 สาขา พนักงานมากกว่า 10,000 คน และเมนูที่มีมากกว่า 800 เมนู รองรับความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบ ทุกกลุ่มอายุ และทุกไลฟ์สไตล์

– สร้างร้านรูปแบบ Shop in Shop เช่น เปิดเคาน์เตอร์เครื่องดื่มอาริกาโตะ (Arigato) ร่วมกับร้านมิสเตอร์ โดนัท

– ใช้กลยุทธ์ Cross Sale แบรนด์ในเครือ เช่น นำเมนูจาก บราวน์ คาเฟ่ (Brown Café) ขายในร้านคัตสึยะ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ ๆ และตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบถ้วนมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะขยายสาขาที่มีบริการ Cross Sale ได้มากกว่า 400 สาขา

– ผนึกกำลังกันของแบรนด์ในเครือ พัฒนาสินค้าและบริการ อาทิ ล่าสุดแบรนด์ไทยเทอเรส และ อร่อยดี นำร่องขานรับนโยบายปลด ล็อกกัญชา ร่วมกันพัฒนาเมนูอาหารมากกว่า 10 เมนู ที่ปรุงจากใบกัญชาออร์แกนิกที่สั่งซื้อจากวิสาหกิจชุมชนผัก พืชสมุนไพรและพืชพลังงาน ตำบลพนมรอก จ.นครสวรรค์ โดยมีแผนขยายไปยังแบรนด์อื่นๆ ในเครือ CRG ต่อไป

CRG Transform for the futureCRG Transform for the futureCRG Transform for the future

2. กลยุทธ์การขยายสาขาโมเดลใหม่ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ลูกค้า (New Way to Expand)

– ขยายสาขาไปในพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ครอบคลุมมากขึ้น

– Multi-brand, Multi-channel ปีนี้เตรียมเปิดตัว Mobile Box Model ในสถานีบริการน้ำมัน และ Mini Kiosk ต่อจากโมเดลร้าน Delco ที่เปิดตัวก่อนหน้านี้ และขยายสาขาได้คล่องตัว เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานที่และแหล่งชุมชนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

– แฟรนไชส์ เตรียมขายแฟรนไชส์ในแบรนด์ต่างๆ ของพอร์ตโฟลิโอ โดยเน้นที่การลงทุนไม่สูง ให้ผลตอบแทนดี หลังจากเมื่อปีที่แล้วนำร่องขายแฟรนไชส์ร้านอร่อยดี

Aroi DeeMobile Box

 

3. กลยุทธ์เดินหน้าบริการ Delivery และ Cloud Kitchen

 

– วางเป้าหมายจะขยายจุดบริการ Delivery ครอบคลุมมากที่สุด และตั้งเป้ายอดขายจาก Delivery เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท

– Cloud Kitchen จะขยายครบ 15 แห่งภายในปีนี้ และปูพรมทั่วประเทศอย่างน้อย 50 แห่ง ภายในปี 2023 พร้อมทั้งมีการจับมือกับพาร์ตเนอร์รายใหม่ ๆ เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในทุกด้าน โดย CRG มองว่าหากขยายได้ครอบคลุมตามเป้าหมายที่วางไว้ ต่อไป CRG จะ dominate ตลาด Cloud Kitchen

4. กลยุทธ์การรุกช่องทางออนไลน์และเจาะกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น (Go Digital & Omnichannel)

– โฟกัส O2O หรือ Online to Offline โดยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซ และระบบแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ชั้นนำต่างๆ เช่น JD Central Shopee และ LAZADA

Katsuya

5. กลยุทธ์รุกขยายแบรนด์ใหม่ ร้านอาหารแนวใหม่และธุรกิจใหม่ (New Brand & Business)

– ปี 2021 CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 – 3 แบรนด์ และเปิดกว้างความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์รายใหม่ โดยเน้นทำ M&A เนื่องจาก

  1. เป็นยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจ ที่สามารถฝ่าวิกฤตช่วง COVID-19 และประสบความสำเร็จ ทั้งการลงทุนต่อยอดได้ทันที และผลักดันยอดขายให้เติบโตแบบ Win-Win ทั้งสองฝ่าย
  2. เสริมความแข็งแกร่งให้กับ Brand Portfolio ธุรกิจร้านอาหาร CRG ให้มีความหลากหลาย และเข้าไปอยู่ใน Occasion การรับประทานอาหาร – เครื่องดื่มต่างๆ
  3. การพิจารณาธุรกิจร้านอาหารที่จะทำ M&A ด้วย ต้องมีศักยภาพในการขยายสาขาได้มาก

Salad Factory

CRG คาดหวังว่าการสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่ม New Economy ที่ประกอบด้วยแบรนด์ใหม่, O2O และบริการ Delivery จะสามารถสร้างสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น จากปี 2019 New Economy ของ CRG มีสัดส่วนอยู่ที่ 7% แต่ในปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 22% และตั้งเป้าปี 2021 ขยับขึ้นเป็น 30%

“ทิศทางการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารจะรุนแรงมากขึ้น และเน้นสมรภูมิ Delivery กับ Digital Online เนื่องจากการแข่งขันไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มเชนธุรกิจอาหารรายใหญ่อีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่นอกธุรกิจอาหารที่กระโดดเข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ กลุ่ม SME และกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่สนใจทำธุรกิจอาหาร ซึ่งทำให้ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารน่าจะยังมีแนวโน้มเติบโตได้” คุณณัฐ สรุปทิ้งท้าย

 

CRG Transform for the futureBrown-Cafe


แชร์ :

You may also like