HomeSponsoredเจาะอินไซต์ Food Delivery ในเอเชียแปซิฟิก สู่โอกาสและการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจในไทย

เจาะอินไซต์ Food Delivery ในเอเชียแปซิฟิก สู่โอกาสและการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจในไทย

แชร์ :

foodpanda เปิดอินไซต์ธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรีและรีเทล ประจำปี 2566 พบการเติบโตของ Quick Commerce ต่อเนื่อง โดยเมนูยอดฮิตของผู้บริโภคใน APAC คือ “เบอร์เกอร์” ส่วนไอเท็มยอดฮิตของบริการฟู้ดดิลิเวอรีไทยคือ “ข้าวผัด” และมีการสั่งสินค้ามากขึ้นเท่าตัวในช่วงสุดสัปดาห์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อินไซต์ดังกล่าวมาจากการรวบรวมข้อมูลใน 11 ตลาดที่ foodpanda ให้บริการ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ลาว กัมพูชา และเมียนม่า จากบริการทั้งหมดของ foodpanda ได้แก่ ฟู้ดดิลิเวอรี, pandamart, foodpanda shops, pandago, pick-up, pandapro และ panda ads ซึ่งในภาพรวมของ foodpanda ในช่วงปี 2564-2566 พบว่า

  • จากอินไซต์ทั่ว APAC ยอดสั่งเฉลี่ยต่อบิลของบริการฟู้ดดิลิเวอรีจาก foodpanda เพิ่มมากขึ้น 30% และในขณะเดียวกัน ยอดสั่งเฉลี่ยต่อบิลของบริการ Quick Commerce อย่าง pandamart และ foodpanda shops ก็เพิ่มขึ้น 50%
  • ในวันศุกร์และวันหยุดสุดสัปดาห์ จะมีการสั่งอาหารและของกินของใช้จาก foodpanda มากกว่าวันอื่น ๆ ในสัปดาห์ 10% โดยช่วงพีคคือวันอาทิตย์ มื้อกลางวัน (11.00-12.00 น.) และมื้อค่ำ (18.00-19.00 น.)
  • การมีบริการที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ จัดส่งอาหาร, จัดส่งของกินของใช้โดย pandamart และ foodpanda shops, จัดส่งของแบบ On-demand โดย pandago รวมถึงบริการแบบ Non-delivery อย่าง รับเองที่ร้าน (pick-up) และ pandapro แพ็กเกจสมาชิกรายเดือน ทำให้จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการ foodpanda มากกว่า 2 บริการขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปี 2563 ถึง 2566
  • foodpanda ทั่ว APAC ส่ง “มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ” ให้ลูกค้านาทีละ 30 ถุง
  • ในประเทศไทย จำนวนลูกค้าใช้บริการ foodpanda สูงสุดในวันอาทิตย์ รองลงมาคือวันจันทร์

เมื่อ “เบอร์เกอร์และข้าวผัด” เป็นเมนูยอดฮิต

เมื่อหันมาดูเมนูอาหารและไอเท็มที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคใน APAC พบว่า ในภาพรวม “เบอร์เกอร์” คืออาหารยอดฮิตประจำภูมิภาค ขณะที่เมืองไทย อาหารยอดฮิตคือข้าวผัด และหากเจาะลึกลงไปในหมวดต่าง ๆ จะพบว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

5 เมนูอาหารและไอเท็มยอดฮิตทั่ว APAC ปี 2566

  • 5 อันดับ “อาหารยอดฮิต” (Food Delivery) คือ เบอร์เกอร์ ไก่ทอด พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว และพิซซ่า
  • 5 อันดับ “ของกินของใช้ยอดฮิต” (Grocery) คือ ผักผลไม้ ชาและกาแฟ ไข่ไก่ น้ำแร่ และขนมขบเคี้ยว
  • 5 อันดับ “ของที่ส่งผ่านบริการ pandago” คือ กุญแจ ดอกไม้ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว คอนแทคเลนส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • 5 อันดับ “อาหารที่ลูกค้าเสิร์ชมากที่สุด” คือ พิซซ่า (ถูกเสิร์ช 17 ล้านครั้ง) เบอร์เกอร์ เค้ก เครื่องดื่ม และซูชิ
  • 5 อันดับ “ของกินของใช้ที่ลูกค้าเสิร์ชมากที่สุด” คือ นม (ถูกเสิร์ช 1.8 ล้านครั้ง) ขนมปัง ไข่ไก่ ไอศกรีม และเส้นก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่

สำหรับประเทศไทย พบว่ามีเมนูอาหารและไอเท็มเด็ด ปี 2566 ได้แก่

  • 5 อันดับ “อาหารยอดฮิต” (Food Delivery) คือ ข้าวผัด ข้าวกะเพรา ข้าวมันไก่ ส้มตำปูปลาร้า และผัดซีอิ๊ว
  • 5 อันดับ “เครื่องดื่ม” ยอดฮิต คือ กาแฟ ชาเขียว ชาไทย โกโก้ และชาไข่มุก
  • 5 อันดับ “ของกินของใช้ยอดฮิต” (Grocery) คือ กาแฟกระป๋องพร้อมดื่ม โซดาขวด น้ำดื่ม น้ำปลา และผงปรุงรส

วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นก็ทำให้รูปแบบการสั่งอาหารแตกต่างกันได้เช่นกัน โดยลูกค้า foodpanda ในฮ่องกง สั่งก๋วยเตี๋ยววันละมากกว่า 10,000 ชาม ขณะที่ลูกค้า foodpanda ในสิงคโปร์ และมาเลเซียนิยมสั่งไก่ทอดมากกว่าประเทศอื่นใน APAC ถึง 30% ส่วนผลไม้ที่ลูกค้า foodpanda ในสิงคโปร์นิยมสั่งมากที่สุดยังเป็นทุเรียนอีกด้วย

Ads Platform เพิ่มการเติบโตร้านค้า

นอกจากมีบริการด้านการจัดส่งอาหารและของกินของใช้แล้ว การมีโซลูชันโฆษณาในแพลตฟอร์มอย่าง restaurant ads, q-commerce ads และ panda ads ก็ช่วยผู้ประกอบการร้านค้าด้วยเช่นกัน โดยพบว่าสามารถสร้างผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS – Return on Advertising Spend) ให้ร้านค้า รวมถึงแบรนด์และแคมเปญของพาร์ทเนอร์ได้ 14.22 เท่า และยังสามารถช่วยเพิ่ม Click Through Rate (CTR) ได้ 24% และเพิ่ม Impressions ได้ถึง 32%

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายฟีเจอร์ ที่ช่วยธุรกิจของร้านค้าพาร์ทเนอร์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่

  • rating & review – บริการดูเรทติ้งของร้านและตอบรีวิวจากลูกค้า
  • pandaclicks – พื้นที่ด้านบนสำหรับให้ร้านอาหารไปปรากฎตัว เพื่อเพิ่มโอกาสการมองเห็น
  • pandabox – ฟีเจอร์ pop up โปรโมชันภายในแอป
  • dynamic search bar – ขึ้นชื่อร้านในช่องค้นหา พร้อมโปรโมชันช่วยเพิ่มยอดขาย

ข้อมูลอินไซต์ข้างต้นยังชี้ด้วยว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ foodpanda มาจากการนำเสนอบริการหลากหลายแบบที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคใหม่ ทั้งการจัดส่งอาหารและของกินของใช้, การบริการแบบ on-demand, ไปจนถึงบริการรับอาหารเองที่ร้าน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่า ท่ามกลางวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากแพลตฟอร์มยังสามารถตอบโจทย์ และส่งมอบบริการที่เหนือกว่าความคาดหวังได้ แพลตฟอร์มนั้นก็ยังครองใจผู้บริโภคได้ และความสามารถดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับธุรกิจของพาร์ทเนอร์ ให้เติบโตในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

อินไซต์ชุดนี้นับเป็นข้อมูลที่มี Value มากสำหรับเจ้าของธุรกิจและนักการตลาดในไทยที่นำไปปรับใช้กับแบรนด์หรือธุรกิจของตนเอง เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างมีนัยสำคัญต่อการประสบความสำเร็จ


แชร์ :

You may also like