HomeDigital“สิงคโปร์-อินโดนีเซีย” สองประเทศยุทธศาสตร์ “เคเบิลใต้น้ำ” เชื่อมเอเชีย-อเมริกา

“สิงคโปร์-อินโดนีเซีย” สองประเทศยุทธศาสตร์ “เคเบิลใต้น้ำ” เชื่อมเอเชีย-อเมริกา

แชร์ :

จากเหตุการณ์เมื่อปี 2020 ที่ Google และ Facebook ต้องล้มเลิกดีลวางท่อเคเบิลใต้น้ำจากฮ่องกงพุ่งตรงไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เกรงว่าจะทำให้ทางการจีนเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้นั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตอนนี้สถานการณ์ดังกล่าวดูจะสดใสมากขึ้นแล้ว กับแผนการวางเคเบิลใต้น้ำเส้นทางใหม่ของทั้ง Google และ Facebook ที่สามารถสร้างได้แล้วอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการวางท่อจากสิงคโปร์อ้อมไปทางอินโดนีเซีย ผ่านเกาะกวม จากนั้นจะพุ่งตรงผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องจีนจะเข้ามาข้องเกี่ยวกับเคเบิลเส้นนี้ได้อย่างหมดจด

สำหรับชื่อของเคเบิลใต้น้ำทั้งสองเส้นนี้ก็คือ Echo และ Bifrost ซึ่ง Facebook บอกว่า ทั้ง Echo และ Bifrost จะทำให้ประเทศอย่าง “สิงคโปร์” เติบโตไปอีกขั้นในฐานะ Connectivity Hub ของภูมิภาคดังกล่าว เนื่องจากเคเบิลใต้น้ำเส้นทางใหม่นี้จะช่วยเพิ่ม Capacity ในการส่งผ่านข้อมูลได้ถึง 70%

ไม่เพียงเท่านั้น Facebook ยังได้มีการลงทุนสร้างดาต้าเซนเตอร์ในสิงคโปร์เป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียที่ใหญ่ที่สุดของ Facebook เลยทีเดียว

echo bifrost facebook google

โครงการนี้สำคัญอย่างไร?

เมื่อถามว่าทำไมเราต้องให้ความสนใจโครงการนี้กันด้วย ส่วนหนึ่งต้องบอกว่า มันคือการบอกว่า ทั้งสองบริษัทให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้อย่างไร และประเทศใดที่พวกเขาไว้วางใจในฐานะจุดยุทธศาสตร์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ “สิงคโปร์” 

ส่วนการลากข้ามผ่านไปทางอินโดนีเซีย แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเพื่อลดความเสี่ยงปัญหาการล้วงข้อมูล แต่ในอีกด้าน มันคือการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรถึง 273 ล้านคนไปในตัว ซึ่งทั้ง Facebook และ Google ต่างมีการลงทุนในสตาร์ทอัพของอินโดนีเซียอยู่ไม่น้อยด้วยเช่นกัน

สำหรับกำหนดการแล้วเสร็จของเคเบิลใต้น้ำนั้น เส้น Echo คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในปี 2023 ส่วน Bifrost จะเปิดใช้งานในปี 2024 ที่สำคัญไม่ได้มีแค่เคเบิลใต้น้ำ แต่ที่ผ่านมา Facebook ได้มีการลงทุนด้านอินเทอร์เน็ตในอินโดนีเซียไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น การวางเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกให้กับอินโดนีเซียเป็นระยะทาง 3,000 กิโลเมตรให้กับเมืองต่าง ๆ ถึง 20 เมือง รวมถึงมีการพัฒนาจุดกระจาย Wi-Fi Hotspot ให้ด้วย

เหตุที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะชาวอินโดนีเซียจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ส่วนมากยังคงใช้งานอินเทอร์เน็ตจากโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก (ข้อมูลจาก The Indonesian Internet Providers Association ระบุว่าในปี 2020 มีชาวอินโดนีเซียไม่ถึง 10% ที่มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ใช้งาน)

น่าจับตาว่าหลังจากนี้ ด้วยการสนับสนุนที่พุ่งตรงไปยังประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ยักษ์อย่างอินโดนีเซียให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้มากขึ้นนั้น จะทำให้อินโดนีเซียเติบโตไปในทิศทางใด แต่ที่แน่ ๆ การเติบโตของอินโดนีเซียนี้จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย และหากรัฐบาลไม่มีการแก้เกมที่ฉลาดมากพอ ก็เป็นไปได้ว่า ประเทศไทยอาจเสียโอกาสในการเติบโตไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียว

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like