HomeBrand Move !!ดีแทคชวน Gen Z แก้ Cyberbullying เปิดแพลตฟอร์ม JAM Ideation ระดมความเห็น

ดีแทคชวน Gen Z แก้ Cyberbullying เปิดแพลตฟอร์ม JAM Ideation ระดมความเห็น

แชร์ :

dtac cyberbullying

ย้อนหลังกลับไปใน พ.ศ. 2559 สังคมไทยในขณะนั้นอยู่ในจุดที่ดีแทค (dtac) ซึ่งริเริ่มโครงการ dtac Safe Internet บอกว่า มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกลังออนไลน์ หรือ CyberBullying น้อยมาก โดยในการทำแบบสอบถาม ตัวเลขของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอยู่ที่ 10% เท่านั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ไม่ใช่สำหรับ พ.ศ. 2564 ที่คุณอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคออกมาบอกว่า พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ CyberBullying ในประเทศไทย โดยเฉพาะประชากรกลุ่ม Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะขับเคลื่อนโลกใบนี้ต่อไปมองว่า ปัญหา CyberBullying นั้นควรจะจบลงที่รุ่นของพวกเขา 

Gen Z  vs CyberBullying

นอกเหนือจากงานวิจัยที่พบว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยที่เคยเผยแพร่ไปเมื่อปีก่อนแล้ว ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาของทีมวิจัย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือกับ dtac, Punch Up และ GLOW เกี่ยวกับการ CyberBullying ใน Gen Z (เฉพาะปี 2021) พบว่า 6 ประเด็นด้านการ Cyberbullying ที่ Gen Z รู้สึกว่ารุนแรงมากที่สุด ได้แก่

1. การ Body Shaming เช่น สีผิว รูปร่าง หน้าตา
2. การเหยียดเพศ และรสนิยมทางเพศ เช่น เพศที่สาม
3. การเหยียดปมด้อยต่าง ๆ ของคนอื่น เช่น ฐานะ การศึกษา ความคิดเห็น รสนิยม ความชื่นชอบส่วนบุคคล
4. การพิมพ์ข้อความที่คุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) เช่น มาอยู่กับพี่ไหมเดี๋ยวพี่เลี้ยงเอง
5. การสร้างบัญชีปลอมเป็นคนอื่น หรือ Account อวตารเพื่อมาด่าโดยเฉพาะ เช่น เพจแอนตี้ แอคหลุม
6. การถูก Cyberbullying โดยคนในครอบครัว

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การ CyberBullying มีความรุนแรงมาจาก 6 สาเหตุหลัก ๆ นั่นคือ

  1. การโดนกระทําโดยคนที่ตนไม่รู้จัก ไม่รู้ว่าเป็นใครและทําไปด้วยสาเหตุอะไร
  2. ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้สามารถตามสืบ หรือ ขุดต่อได้เรื่อย ๆ
  3. ถูกทําให้เป็นสาธารณะ ทําให้ขอบเขตของความรุนแรงเป็นวงกว้าง และได้รับผลกระทบหนักขึ้น เช่น ทําให้คนอื่นที่ไม่รู้จัก เข้าใจตัวตนเราผิด โดยที่ไม่สามารถไปแก้ต่างได้
  4. ไม่จําเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ทําให้ผู้กระทําทําได้อย่างเต็มที่ ส่วนผู้ที่ถูกกระทําก็ต้องแบกรับความรู้สึกของการโดน Bully โดยที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ
  5. เกิดการผสมโรงง่ายขึ้น จากเรื่องเล็ก ๆ ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่เช่น การขุด
  6. การแชร์ข้อมูลสะดวกมากขึ้น เช่น การ Retweet ใน Twitter การกดแชร์ใน Facebook จนเกิดการส่งต่อกันไปเรื่อย ไม่มีที่สิ้นสุด

สำหรับแพลตฟอร์มที่ Gen Z พบว่าเกิดการ CyberBullying หนีไม่พ้น Instagram, Facebook, Twitter, Youtube และ TikTok ส่วนรูปแบบของการบูลลี่มีตั้งแต่การคอมเม้นท์เรื่อง Body Shaming เช่น ดํา ไม่สวย อ้วน เตี้ย บ้างก็ถูกโพสต์แซะ คอมเมนต์ด่าใต้โพสต์ แคปรูปภาพไปด่า หรือส่งข้อความมาด่าโดยตรง

ส่วนในเด็กประถมเจอการ Cyberbullying ผ่านการเล่นเกมออนไลน์ เช่น ถูกด่าว่า “ไก่” อ่อน” “ไอ้กาก” “ไม่มีเงินเติมเกม” หรือโดนรุมด่าขณะเล่นเกม ที่สำคัญ กลุ่มเป้าหมายเกินครึ่งนึงยอมรับว่า เคยตั้งกลุ่มออนไลน์ไว้วิจารณ์คนอื่น

สำหรับประชากรกลุ่ม Gen Z ก็คือ คนที่เกิดหลังจากปี พ.ศ.2539 (ค.ศ. 1996) เป็นต้นมา ปัจจุบันคิดเป็น 32% ของประชากรโลก ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดี และ 95% ของ Gen Z สามารถเข้าถึงการใช้งานสมาร์ทโฟน ทำให้พวกเขาถูกขนานนามว่าเป็น Digital Natives อีกตำแหน่งหนึ่ง สิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญคือปัญหาสังคม เพราะพวกเขาต้องใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ต่อไป และ Gen Z ส่วนใหญ่เชื่อว่าตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้

Gen Z รับมือ CyberBullying อย่างไร

shutterstock_cyberbully

สิ่งที่ทีมวิจัยพบก็คือ Gen Z ส่วนใหญ่ยอมรับว่า การถูก Cyberbullying ส่งผลกระทบต่อจิตใจค่อนข้างรุนแรง (ขึ้นอยู่กับประเด็นและความสนิทสนมกับผู้กระทำ) และทำให้ผู้ถูกกระทำไม่กล้าโพสต์รูป หรือโพสต์สเตตัสใน Social Media เพราะกลัวถูกนํามาด่า เหยียด ล้อเลียน

นอกจากนั้น การถูก Cyberbullying ยังทำให้ Gen Z รู้สึกเสียใจและผิดหวังกับชีวิตของตนเอง มีความมั่นใจในตัวเองลดน้อยลง เกิดการเปรียบเทียบคนอื่นโดยไม่รู้ตัว รู้สึกหดหู่และมีความกังวลใจ ไม่ค่อยรับเพื่อนใน Facebook เพราะกลัวโดนเพื่อนเข้ามาคอมเมนต์ด่า เกิดความหวาดระแวงว่าจะมีคนมาดูถูก ด่าหรือแชร์โพสต์ไปด่า ไม่เชื่อใจในเพื่อนของตนเอง เว้นระยะห่างจากเพื่อนและสังคม ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทําร้ายร่างกายตัวเอง หรือหนักที่สุดก็คือมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ก้าวข้ามผ่านความรู้สึกหดหู่วิตกกังวลมาได้ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นม.ปลายที่ผ่านเรื่องการถูกกระทํามาแล้ว แต่สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ Gen Z นิยมสร้าง Account หลุม เพื่อปกปิดตัวตนและป้องกันการถูก Bully

สร้าง JAM Ideation แพลตฟอร์มกลางที่ไม่ต้องระบุตัวตน

จากสิ่งที่ Gen Z พบเจอ ปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ที่ตัว Gen Z เพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องมีความร่วมมือแก้ปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร และนั่นทำให้สิ่งที่ดีแทคจะทำในปีนี้จากโครงการ Safe Internet จึงเป็นการสร้างแพลตฟอร์มกลางชื่อ JAM Ideation ที่จะเปิดให้เยาวชนเข้าไปร่วมระดมสมอง – ออกแบบข้อปฏิบัติร่วมกันเพื่อหยุด CyberBullying ได้แบบ “ไม่ต้องระบุตัวตน” ใน 3 ประเด็นที่ Gen Z พบว่ามีความรุนแรงที่สุด นั่นคือ Body Shaming การเหยียดเพศ และการเหยียดปมด้อยต่าง ๆ ของคนอื่น เช่น ฐานะ การศึกษา ความคิดเห็น รสนิยม ความชื่นชอบส่วนบุคคล

ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา_Campaign phase (003)

คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง พั้นช์อัพ สตูดิโอ เล่าถึงการออกแบบแพลตฟอร์ม JAM ideation ว่า เป็นการคิดแบบ Design Thinking ที่ต้องการสร้างการระดมความเห็นขนาดใหญ่ที่เปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และเชื่อว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม

ทั้งนี แคมเปญดังกล่าวจะเริ่มเปิดให้เข้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 . (72 ชั่วโมงต่อเนื่อง) โดยสามารถเข้าไปได้ที่ www.safeinternetlab.com/brave จากนั้นข้อเสนอแนะจากเยาวชนจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนพูดคุยบนโซเชียลในระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม และทางดีแทค และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะร่วมสรุปประเด็นและแนวทางยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในสังคม และกฎหมายเทียบเท่านานาชาติ รับวันต่อต้านการกลั่นแกล้งออนไลน์สากล 2564 (Stop-Cyberbullying Day) ต่อไป

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ CyberBullying ที่ผ่านมาได้ที่ โรงเรียนไม่ปลอดภัย-ไม่ยอมรับเรื่องเพศ “ดีแทค” เปิดหลักสูตรออนไลน์เน้นความหลากหลายทางเพศ ลด Cyberbullying | Brand Buffet)


แชร์ :

You may also like