HomeSponsored“Outward Mindset” vs “Inward Mindset” ปรับมายด์เซ็ตแบบไหน ให้ชีวิตมีความสุข

“Outward Mindset” vs “Inward Mindset” ปรับมายด์เซ็ตแบบไหน ให้ชีวิตมีความสุข

แชร์ :

อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)” เพราะมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้เพียงลำพัง แต่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแต่ละชีวิตต่างก็ต้องการที่จะเสริมสร้างความสุขให้กับตนเองอยู่เสมอ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทั้งนี้ หลายๆ คนจึงมักจะเลือกสร้างความสุขให้กับตัวเองด้วย “เงิน” แต่เมื่อมองลึกลงไปถึงความต้องการของมนุษย์ การใช้เงินซื้อความสุขเป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืนถาวร เพราะเงินมีวันหมดไป แล้วอะไรคือ ตัวสร้างความสุขที่แท้จริงให้กับตัวเอง หลายคนวิ่งตามหาความสุขจนหลงลืมไปว่า ความสุขหาง่ายๆ จากคนรอบข้างและสภาพแวดล้อมรอบตัว

สอดคล้องกับ ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ” ของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ที่ได้อธิบายถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ มิตรภาพ และความรักต่อคนรอบข้างไว้ว่าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจะขวนขวายหาความสุขนั้นจากความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ตลอดเวลา แล้วเราจะบริหารความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้างได้อย่างไร?

ปรับ “Mindset” เปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ในฐานะผู้นำหลักสูตร “Outward Mindset – เอาท์เวิร์ด มายด์เซ็ต” เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงผลลัพธ์ที่แตกต่างจากการมองโลกผ่านเลนส์ทั้งสองแบบนี้ว่า หลายคนมักเข้าใจผิดว่า การจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อกัน แท้จริงแล้ว สิ่งนี้เป็นเพียงปลายทางของการแสดงออก แต่ไม่ใช่คำตอบสู่การเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงลึกที่ยั่งยืน แต่การปรับ พื้นฐานที่เรียกว่า Mindset – มายด์เซ็ต” หรือ “วิธีการมองโลกและสภาพแวดล้อมรอบข้าง” ต่างหากที่เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนทุกพฤติกรรมของมนุษย์

ดร. เทอรี่ วอร์เนอร์ (Dr. Terry Warner) อาจารย์นักวิจัยด้านจิตวิทยา ผู้ก่อตั้งสถาบัน Arbinger Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่า มนุษย์เรามีการกำหนด Mindset ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Inward Mindset หรือ การมองที่เป้าหมายของตนเองเป็นใหญ่ และ เห็นคนอื่นแค่เป็นวัตถุสิ่งของ เป็นพาหนะสู่เป้าหมายของตนเอง เป็นอุปสรรคและสิ่งกีดกั้นการมีความสุขของตนเอง หรือแม้แต่เป็นแค่สิ่งไร้ค่า ไร้ตัวตน ไร้ซึ่งความสำคัญ ตรงกันข้ามกับ Outward Mindset ที่เป็นการมองคนรอบข้างเป็น “เห็นคนเป็นคน” และให้ความสำคัญกับผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าความสำคัญต่อตัวเราเอง

.

Inward Mindset พฤติกรรมเชิงลบ กระทบชีวิต

ผลลัพธ์จากการมองโลกผ่าน Outward Mindset และ Inward Mindset มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การมองโลกแบบ Inward Mindset จะก่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงลบ ที่ส่งผ่านคำพูดและภาษากายไปยังผู้คนรอบข้าง ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นจะสามารถรับรู้ได้ถึงพฤติกรรมดังกล่าว และเริ่มปฏิบัติต่อเราในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นวงจรแห่งการกล่าวโทษที่ทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงเรื่อยๆ โดยที่ตัวเราเองก็ไม่ฉุกคิดว่าปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่เราต้องเปลี่ยนแปลง เพราะเลนส์แบบ Inward Mindset ได้ผลักให้เราเข้าไปอยู่ในกล่องที่เห็นแต่ตัวเองและบิดเบือนจากความเป็นจริงเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ คนที่มี Inward Mindset ในการดำเนินชีวิต มักจะเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งอาจไม่ใช่แนวทางที่เวิร์คนัก เพราะอย่าลืมว่า ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความหลากหลายของสังคม คนรอบข้างจึงยังคงสำคัญ แต่ในทางกลับกัน คนที่มีความคิดแบบ Inward Mindset มักดำเนินชีวิตโดยไม่เปิดรับความคิดเห็นของผู้อื่น มักมองหาข้อผิดพลาดของผู้อื่นและกล่าวโทษเปรียบเสมือนการกดผู้อื่นให้ต่ำลง เพื่อยกตัวเองให้สูงขึ้ง สิ่งเหล่านี้ จึงกลายเป็นผลลบ เมื่อต้องเข้าสังคม และนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อผู้คนรอบข้าง

ในขณะเดียวกัน ภายในองค์กรการทำงาน หากหัวหน้ามี Inward Mindset จะมองลูกน้องเป็นเพียงวัตถุหรือพาหนะสู่ผลประโยชน์ของทีม หรือแม้แต่เป็นอุปสรรคที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อาทิ การหมดไฟในการทำงานและรู้สึกหดหู่จนอาจถึงขั้นต้องหางานใหม่ หรือในกรณีที่แย่กว่านั้นคือ ลูกน้องตั้งตนเป็นศัตรูกับเจ้านาย เกิดการหันหลังคุยกันและใช้มาตราการแรงมาแรงกลับ ซึ่งส่งผลต่อทีมองค์รวมและองค์กรแบบหยั่งรากลึก

พัฒนาความสุขด้วย Outward Mindset

ในขณะที่การมองโลกผ่านเลนส์ Outward Mindset จะทำให้เราเห็นโลกตามความเป็นจริง และเริ่มปฏิบัติต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าจะกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่กับคนแปลกหน้าในแบบที่เห็นเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ผู้มีความปรารถนา เป้าหมาย และความต้องการที่จะมีความสุขที่ไม่ยิ่งหย่อนไปมากกว่าตัวเรา ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการช่วยเหลือและมุ่งเน้นประโยชน์เพื่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งยินดีช่วยเหลือทุกคนอย่างสุดความสามารถ ผลลัพธ์คือความสุขที่เบ่งบานทั้งในใจของเราและคนรอบข้างร่วมกันแบบทวีคูณ

เพราะคนที่มี Outward Mindset มักจะมองเห็นความสุขอยู่รอบตัวเอง และมองเห็นคนอื่นอยู่เสมอ ด้วยความคิดที่ว่า คนอื่นก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บุคคลเหล่านี้ จึงพร้อมที่จะยื่นมือช่วยเหลือและพร้อมจะดึงคนรอบข้างไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การปรับเปลี่ยน Mindset จึงเปรียบเสมือนการปรับเปลี่ยนเลนส์ในการมองโลก มองตัวเรา และมองคนอื่น เป็นตัวสะท้อนทัศนคติที่ดี ซึ่งจะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี ที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ และการทำงานได้อย่างเป็นสุขในทุกสถานการณ์

ในขณะที่การทำงาน หากมีหัวหน้าแบบ Outward Mindset เขาจะมองลูกน้องทุกคนเป็นคนที่มีความต้องการและเป้าหมายชีวิตที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าของตัวเอง ส่งผลให้การแสดงออกที่เต็มไปด้วยความหวังดี ที่อยากให้เขาพัฒนายิ่งขึ้นหรือก้าวผ่านปัญหาต่างๆ ได้จริงๆ ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาศักยภาพหรือพร้อมทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเต็มใจและใช้ความสามารถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีความสุข

ทั้งนี้ การมองโลก Inward และ Outward Mindset สามารถเกิดกับเราทุกคนในทุกวินาทีของจังหวะชีวิต ดังนั้น เราจึงควรมีสติและฝึกใช้ Outward Mindset ทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อเปลี่ยนคุณให้เป็นคนใหม่ที่มีความสุขกับการใช้ชีวิตกับสิ่งรอบข้างมากขึ้นกว่าเดิม

 


แชร์ :

You may also like