HomeSponsoredผ่าเทรนด์ “ท่องเที่ยวยั่งยืน” สู่ กลยุทธ์ STGs ดันธุรกิจท่องเที่ยวไทยก้าวสู่มาตรฐานความยั่งยืนโลก

ผ่าเทรนด์ “ท่องเที่ยวยั่งยืน” สู่ กลยุทธ์ STGs ดันธุรกิจท่องเที่ยวไทยก้าวสู่มาตรฐานความยั่งยืนโลก

แชร์ :

ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวทั่วโลกได้เปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวไม่ได้มองหาเพียงแค่ความสวยงามของทิวทัศน์ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ จากการเดินทางเท่านั้น แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ขยับมาเป็นประเด็นสำคัญที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องปรับตัว โดยเฉพาะเมื่อการท่องเที่ยวมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวแบบ ‘ยั่งยืน’ มากขึ้น โดยข้อมูลจาก Google Trend พบว่านักท่องเที่ยวกว่า 69% ต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้นภายในปี 2023 ทำให้เราสามารถเห็นเทรนด์การท่องเที่ยวในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้น ธุรกิจในระดับสากลได้มีการปรับตัวเพื่อสอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสายการบินที่แจ้งรายละเอียดเรื่องการปล่อยคาร์บอนในเที่ยวบินต่างๆ หรือที่พักอาศัยไปจนถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้นำเสนอข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable tourism) ในสายตานักท่องเที่ยวระดับโลกยังไม่มีประเทศไทยติดอันดับ ดังนั้นเพื่อผลักดันในประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนในระดับโลก ล่าสุด ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ได้เปิดตัวโครงการ ‘STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา’ ช่วยผู้ประกอบการไทยผลักดันการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน

STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา คืออะไร?

STGs (Sustainable tourism Goals) คือแนวทางที่ ททท. ได้ตั้งขึ้นเพื่อผลักดันระบบนิเวศการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนไปทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อตอบรับนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลกได้อย่างยั่งยืน โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ทั้งหมด 17 ประการ ที่ต่อยอดจากเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ คือวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สังคม-เศรษฐกิจ และการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้จากการท่องเที่ยว

2. ส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรม

3. สร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ

4. สร้างความเข้าใจและการศึกษาด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน

5. ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ

6. สร้างหลักประกันในการเข้าถึงน้ำสะอาดและการจัดการน้ำ

7. เพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาด

8. สร้างงานและอาชีพให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น

9. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินค้าและโครงสร้างยั่งยืน

10. ลดความเหลื่อมล้ำในการจ้างงานผู้พิการและสร้างความเท่าเทียม

11. สร้างความยั่งยืนและน่าอยู่ให้กับชุมชน

12. ส่งเสริมความยั่งยืนในทุกภาคส่วนของการท่องเที่ยว

13. มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการท่องเที่ยว

14. ดูแลระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง

15. ดูแลระบบนิเวศบนบกและน้ำจืด

16. คำนึงถึงความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว

17. ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อความยั่งยืนตามเป้าหมายของ STGs

โดยจุดหมายแรกเริ่มคือการกระตุ้นเหล่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้าโครงการ STAR (Sustainable Tourism Acceleration Rating) หรือโครงการจัดระดับที่มอบให้กับผู้ประกอบการที่ทำตามเกณฑ์ของความยั่งยืนได้อย่างครบถ้วน

ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไรในเทรนด์ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน?

หลังการมาถึงของโควิด-19 ที่ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้กับพฤติกรรมและเทรนด์การท่องเที่ยว รวมไปถึงอุตสาหกรรมในระดับสากลที่เปลี่ยนไป ในขณะที่การท่องเที่ยวเพื่อความสวยงามหรือการพักผ่อนเพียงอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวยุคใหม่ ทั้งโรงแรมและที่พักต่างๆ ก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการ

ด้วยเทรนด์ความยั่งยืนที่ทำให้เหล่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นโอกาสสำคัญที่กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต้องคว้าและรีบปรับตัว เช่นเดียวกับในธุรกิจอื่นๆ ที่ใครเริ่มก่อนมักได้เปรียบกว่าในเทรนด์ระยะยาว อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการหลายคนต้องการมุ่งหน้าสู่ความยั่งยืนแต่ยังไม่รู้ว่าต้องปรับตัวอย่างไร ภายใต้โครงการ STGs สนับสนุนให้เหล่าผู้ประกอบการในสายท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการ STAR เพื่อเข้าสู่มาตรฐานความยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับ

โดยธุรกิจท่องเที่ยวที่เข้าร่วมจะได้รับการประเมินจากเกณฑ์ของ STGs จัดลำดับ 3-5 ดาว โดยมอบให้กับผู้ประกอบการที่ทำได้ตามเป้าหมาย STGs ได้โดยจะมีอายุ 2 ปีหลังได้รับการประเมิน

เกณฑ์การประเมินพื้นฐานจะต้องผ่าน STGs ข้อ 13 มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 16 ด้านความปลอดภัย และ 17 ด้านความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน จะได้รับ 3 ดาว หากบรรลุข้อ 13 16 17 และ STGs ข้ออื่นๆ รวมเป็น 9 ข้อจะได้รับ 4 ดาว และหากบรรลุข้ออื่นๆ รวมเป็น 12 ข้อจะได้รับ 5 ดาว

สำหรับเหล่าผู้ประกอบการในสายท่องเที่ยว การเข้าร่วมโครงการไม่เพียงเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนมากขึ้น แต่ยังเป็นการดึงจุดเด่นและกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้ดึงดูดในสายตานักท่องเที่ยวระดับโลกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ที่สำคัญโครงการ STAR ยังสามารถเข้าร่วมได้ไม่ยาก ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมได้ในทุกขนาดธุรกิจ ทั้งเล็ก-กลาง-ใหญ่ โดยการเข้าร่วมโครงการก็สามารถทำได้ผ่านเว็บไซต์ www.TATstar.org และกรอกข้อมูลของธุรกิจพร้อมแนบหลักฐานได้ทันที ไม่ต้องเดินทางหรือยื่นเอกสารฉบับจริงให้ยุ่งยาก

เจมส์จิ ตัวแทนนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ชวนคนไทยเที่ยวแบบ 4 ดี

หัวใจของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการ แต่ยังรวมถึง ‘นักท่องเที่ยวไทย’ ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันด้วย ในโครงการ STGs ได้ดึง เจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข นักแสดงขวัญใจชาวไทยมาเป็นตัวแทนนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่อยากให้การเที่ยวไทยยั่งยืน ชวนให้คนไทยลุกออกมาเที่ยวไทยแบบ 4 ดี คือ

สิ่งแวดล้อมดี :D ท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบบ Low Carbon ลดการสร้างขยะและลดการทำกิจกรรมที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม และเลือกใช้บริการของผู้ประกอบการชุมชนที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายเพื่อให้เกิด zero waste

วัฒนธรรมดี :D เคารพวิถีชุมชนร่วมงานประเพณีท้องถิ่น ให้ความสำคัญและนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป โดยผู้ประกอบการสามารถนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นต่างๆ มาเพิ่มมูลค่าให้มีความน่าสนใจ

เศรษฐกิจดี :D สนับสนุนสินค้าและบริการในท้องถิ่น เที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้ไปยังชุมชนต่าง ๆ อย่างทั่วถึงผู้ประกอบการชุมชนนำของดีท้องถิ่นเป็นจุดขาย และเกิดการกระจายรายได้ในวงกว้าง

ชีวิตดี :D การท่องเที่ยวด้วยความเข้าใจชุมชนและใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ช่วยเติมเต็มความสุขให้กับชีวิตและช่วยดูแลโลกไปพร้อมกันได้ด้วย

การสื่อสารโครงการ STGs ยังถูกโฆษณาผ่านมีเดียที่หลากหลายเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ตั้งแต่การดึง เจมส์ จิรายุ มาเป็นตัวแทนนักท่องเที่ยว และการสื่อสารผ่านโฆษณาในสื่อวิทยุ ทีวี สื่อนอกบ้าน (Out of home) ที่ปรากฏบนจอมากกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในทำเลทองตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งนำเสนอการเดินทางสร้างประสบการณ์ Meaningful Experience แบบ STGs ผ่าน Influencer, KOL, Youtuber ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับคนมากถึง 60 ล้านคน

ททท.ได้เริ่มต้นผลักดันให้ไทยเป็นเป้าหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอย่างจริงจัง และสนับสนุนในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และการสื่อสาร เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยเป็นไปตามเป้าหมายของ STGs และสร้างแรงกระเพื่อมในสายตาชาวโลก

นอกจากนี้ STGs ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก และสนับสนุนให้ใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวในโครงการ ผ่านกิจกรรม “CATCH THE STGs BUTTERFLIES” ผ่านการสแกน QR Code ผีเสื้อ STGs ลุ้นรับ VOUCHER จากผู้ประกอบการ STAR และของที่ระลึกมากกว่า 1,000 รางวัล มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ในวันที่ 11-19 พ.ย. นี้

รวมถึงกิจกรรมของให้สายครีเอเตอร์ให้มาสร้างสรรค์คลิปวิดีโอในหัวข้อ “เที่ยวแบบ STGs ดีต่อเรา ดีต่อโลก” ทาง TikTok/Reels พร้อมติด hashtag#นักท่องเที่ยว STGs คลิปที่โดนใจ เพื่อลุ้นรับรางวัลแบบจัดเต็มจากเหล่าผู้ประกอบการได้เลย

สำหรับใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือเข้าร่วมโครงการ STGs สามารถติดตามรายละเอียดได้บนเฟซบุ๊ก “Amazing Thailand” หรือร่วมอุดหนุนผู้ประกอบการ STAR ได้ที่ www.tatstar.org

 


แชร์ :

You may also like