HomeDigitalFacebook เปิดผลสำรวจ ไทยใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซลดลง – VDO ดึงดูดผู้ซื้อได้มากที่สุด

Facebook เปิดผลสำรวจ ไทยใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซลดลง – VDO ดึงดูดผู้ซื้อได้มากที่สุด

แชร์ :

digital consumer

Meta จับมือ Bain & Company เปิดผลสำรวจ SYNC Southeast Asia  ใน 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พบเป็นภูมิภาคที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และมีโอกาสที่ Digital Consumers จะเติบโตจนมีตัวเลขมากกว่า 402 ล้านคนภายในปี 2027 เชื่อเป็นโอกาสของธุรกิจ ส่วนไทยพบการใช้จ่ายบนอีคอมเมิร์ซลดลง เหตุเปิดเมือง – คนคิดถึงบรรยากาศการช้อปจากหน้าร้าน พร้อมขึ้นแท่นใช้แพลตฟอร์มด้านการช้อปมากที่สุดในภูมิภาคโดยปี 2022 มีการใช้งานมากถึง 16.4 แพลตฟอร์ม ขณะที่ค่าเฉลี่ยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 15.3 แพลตฟอร์มเท่านั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับการสำรวจของ Meta และ Bain & Company ครั้งนี้เป็นการสำรวจในกลุ่มตัวอย่าง 16,000 รายใน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยพบว่าในระยะยาวแล้ว แม้จะมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ปัญหาสงครามยูเครน – รัสเซีย แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผลตอบรับในแง่บวกมากกว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ (เช่น สหรัฐอเมริกา – สหภาพยุโรป) โดยภายในสิ้นปีหน้า การเติบโตของ GDP ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะอยู่ที่ 5.1% ขณะที่ตลาดอื่น ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาถูกคาดการณ์ไว้ที่ 1.3% สหภาพยุโรป 2.1% และจีน 4.7%

ส่วนหนึ่งที่ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงน่าสนใจมาจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน “จีน” ที่ Meta และ Bain & Company พบว่า ปัจจุบันมีการปรับขึ้นค่าแรง สวนทางกับคุณภาพแรงงานจีนที่ลดลง อีกทั้งยังมีเงื่อนไขด้านการประกอบธุรกิจที่เข้มงวดมากขึ้น และความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่แย่ลง ทำให้ธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในจีนมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งก็คือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง

Digital Consumers เติบโตทะลุ 402 ล้านคนในปี 2570

fb meta SYNC Southeast Asia

อีกหนึ่งคาดการณ์ที่ SYNC Southeast Asia มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือตัวเลข Digital Consumers ที่มีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2022 ภูมิภาคนี้มี Digital Consumers มากถึง 370 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึง 28 ล้านคน) หรือคิดเป็น 82% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยพบว่า ไทยมีคนกลุ่มนี้อยู่ราว 72% และคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 ประชากรกลุ่มนี้ในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นเป็น 402 ล้านคน และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญนั่นเอง

ปี 2022 ยอดใช้จ่ายออนไลน์ไทยลดลง เหตุ “เมืองเปิด”

สิ่งที่น่าสนใจในการสำรวจชิ้นนี้คือ การใช้จ่ายบนโลกออนไลน์ของคนไทยลดลง จากเดิมในปี 2021 เคยใช้จ่ายอยู่ที่ 44 เหรียญสหรัฐต่อคน ลดลงมาเหลือ 43 เหรียญสหรัฐ โดยคุณดิเรก เกศวการุณย์ พาร์ทเนอร์และผู้อำนวยการฝ่ายการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีก เบน แอนด์ คอมพานี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เหตุผลว่า ส่วนหนึ่งมาจากการเปิดเมือง และคนคิดถึงบรรยากาศการซื้อสินค้าจากโลก Physical กันมานานมาก ยอดใช้จ่ายออนไลน์จึงลดลง

meta fb sync

ทั้งนี้ สินค้าที่มีการใช้จ่ายลดลงในโลกออนไลน์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ สินค้าโฮมออฟฟิศ เสื้อผ้า สินค้าความงาม สินค้าอุปโภค สินค้าสำหรับเด็ก เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการเติบโตต่อไปในโลกออนไลน์ ได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหารสด เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แอลกอฮอล์และเครื่องดื่ม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจนี้ชี้ว่า พฤติกรรมดังกล่าวจะไม่ส่งผลในแง่ลบต่อโลกอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากผู้บริโภคมีการผนวกการใช้จ่ายออนไลน์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว และปัจจุบันการซื้อสินค้าหลาย ๆ หมวดก็เป็นการไปดูสินค้าที่หน้าร้าน และมากดสั่งซื้อจากออนไลน์เพิ่มขึ้นเช่นกัน

โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการค้นหาสินค้า

fb meta SYNC Southeast Asia

ในกระบวนการค้นหาสินค้าของผู้บริโภค สิ่งที่รายงาน SYNC Southeast Asia พบก็คือ ช่องทางโซเชียลมีเดียคือช่องทางหลักในการค้นพบสินค้าหรือบริการ โดย VDO เป็นสื่อที่ได้รับความสนใจมากที่สุด รองลงมาคือภาพ และข้อความ

นอกจากนั้น ก็มีในส่วนของ Alternative eCommerce ที่ผู้บริหาร Meta บอกว่าเป็นเทรนด์การเติบโตที่น่าสนใจเช่นกัน พร้อมยกตัวอย่าง Alternative eCommerce เช่น Group Buy หรือการรวมตัวกันเพื่อซื้อสินค้าในจำนวนมาก ๆ ในราคาที่ถูกลง การซื้อสินค้าผ่านไลฟ์ การซื้อสินค้าผ่าน Messaging

fb meta SYNC Southeast Asia

คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta กล่าวเพิ่มเติมว่า “63% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยใช้การส่งข้อความเชิงธุรกิจในปีที่ผ่านมา”

“นอกจากนั้น เรายังพบการเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยครีเอเตอร์ โดยจะเห็นว่ามีครีเอเตอร์ที่เติบโตในฐานะแบรนด์และช่องทางค้าปลีกมากขึ้น” พร้อมกันนี้ ผู้บริหาร Facebook ประเทศไทยกล่าวด้วยว่า แบรนด์จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคผ่านเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ เพราะเนื้อหาในรูปแบบดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมช่องทางต่าง ๆ ในการซื้อสินค้าออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง

สำหรับจุดเด่นของผู้บริโภคไทยที่พบจากการสำรวจนี้ก็คือ

  •  7 ใน 10 ของ Digital Consumers ไทยเคยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Metaverse มาแล้วในปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นคริปโตเคอเรนซี, AR, VR และ NFT
  •  45% ของ Digital Consumers ไทยเคยใช้โซลูชันทางการเงิน (Fintech) เช่น e-Wallet, Mobile Banking, Neo Banking มาแล้วในรอบปีที่ผ่านมา
  • ผู้บริโภคชาวไทยใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ในการช้อปเพิ่มขึ้น 1.8 เท่าตัว จาก 9 แพลตฟอร์มในปี 2021 เป็น 16.4 แพลตฟอร์มในปี 2022 สูงสุดในภูมิภาค (ในขณะที่ตัวเลขเฉลี่ยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 15.3 แพลตฟอร์ม)

Source


แชร์ :

You may also like