HomeMedia‘อสมท’ โชว์รายได้ปี 64 พลิกกำไรในรอบ 5 ปี

‘อสมท’ โชว์รายได้ปี 64 พลิกกำไรในรอบ 5 ปี

แชร์ :

MCOT MD 2

นับจากยุคทีวีดิจิทัล ที่มีจำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้น เข้ามาเป็นคู่แข่งแย่งเรตติ้งผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาจาก ฟรีทีวีรายเดิม “อสมท” ที่มีรายได้หลักจากสื่อทีวี ช่อง 9 MCOT ต้องเจอกับภาวะ “ขาดทุน” มาตั้งแต่ปี 2558 หลังจากปรับแผนหารายได้ใหม่และลดต้นทุนบริหาร ปี 2564 เริ่มกลับมามี “กำไร” อีกครั้ง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อสมท รายงานงบการเงินปี 2564 มีรายได้รวม 1,584 ล้านบาท ลดลง 11% (รวมรายได้ที่ไม่ใช่ตัวเงิน โดยเป็นกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 72 ล้านบาท) โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 1,384 ล้านบาท ลดลง 61% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 109% จากปีก่อนขาดทุน 1,080 ล้านบาท ถือเป็นการกลับมาทำกำไรในรอบ 5 ปี และกำไรต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

รายได้ อสมท ในปี 2564 มาจาก โทรทัศน์ 475 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน, วิทยุ 402 ล้านบาท ลดลง 16%, โครงข่ายดิจิทัลและ C-Band 466 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% ดิจิทัลและธุรกิจใหม่ 84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% อื่นๆ 85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 98% และกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของอสังหาฯ เพื่อการลงทุน 72 ล้านบาท

รศ.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าธุรกิจทีวี มีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้โฆษณา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพัฒนาผังรายการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด The Year of Trusted News ด้วยการเพิ่มจำนวนชั่วโมงข่าวและสาระ ทางช่อง 9 MCOT HD

ส่วนธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจใหม่ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่วนแบ่งรายได้โฆษณาผ่าน Social Platform รวมถึงรายได้จากการเป็นผู้จัดจำหน่ายคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ (Content Business) และส่วนแบ่งรายได้จากการขายสินค้าในธุรกิจ TV Home Shopping ในชื่อ “Shop Mania”

สำหรับธุรกิจการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มีผู้ใช้บริการช่องสาธารณะรายใหม่เพิ่มขึ้น 1 ราย คือ ช่อง T Sports 7 (หมายเลข 7) ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นผู้ดำเนินการออกอากาศ ผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลของ บมจ. อสมท แบบความคมชัดปกติ (SD) เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564

radio mcot 47 network

ขณะที่ธุรกิจวิทยุ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 1 ใน 4 ของ อสมท ปี 2564 ได้รับผลกระทบจากโควิดต่อเนื่อง ไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งสริมการขายได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ส่วนกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล ทำให้รายได้ลดลง 16% ซึ่งรายได้คลื่นวิทยุมาจากส่วนกลาง 72% คลื่นฯ ที่สร้างรายได้สูงสุด ได้แก่ ลูกทุ่งมหานคร FM 95 MHz ตามด้วย คลื่นข่าว FM 100.5 MHz คลื่นความคิด FM 96.5 MHz และคลื่น MET107 FM 107 MHz

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 อสมท เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่วิทยุ 47 คลื่นฯ แบ่งเป็น พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 6 คลื่นฯ และพื้นที่ภูมิภาค 41 คลื่นฯ ได้แก่ ภาคกลางและตะวันออก จำนวน 6 จังหวัด, ภาคเหนือ จำนวน 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 จังหวัด และภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด โดยได้สิทธิใช้ใบอนุญาตวิทยุ 7 ปี ใช้งบประมาณในการประมูลรวม 500 ล้านบาท มาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ และสินเชื่อสถาบันการเงิน โดยคาดว่าจะจ่ายคืนภายใน 5 ปี

อสมท ถือเป็นผู้ประมูลคลื่นวิทยุ ประเภทธุรกิจระดับชาติ ที่มีจำนวนคลื่นฯมากที่สุด แนวทางการบริหารวิทยุ จะตอกย้ำจุดแข็งเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนมีความพร้อมด้านบุคลากร และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สตูดิโอ สถานีออกอากาศ เครื่องส่ง ที่จะช่วยสนับสนุนการให้บริการกับพันธมิตรทางธุรกิจ

การจัดผังรายการวิทยุจะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย รวมทั้งจัดสรรช่วงเวลาออกอากาศ (Broadcasting Time Allocation) ระหว่างสถานีวิทยุแต่ละแห่งกับการออกอากาศของเครือข่ายส่วนกลาง และการออกอากาศคู่ขนานในรูปแบบเดิมกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยจะเริ่มต้นใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุในวันที่ 4 เมษายน 2565

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like