HomeDigital5 ทักษะเพื่อรอดในยุค AI Takes All และเตรียมความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองของโลกอนาคต

5 ทักษะเพื่อรอดในยุค AI Takes All และเตรียมความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองของโลกอนาคต

แชร์ :

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี​ นำมาซึ่งการเกิดบรรทัดฐานใหม่ๆ ในสังคม หรือเกิดเป็น New Normal ในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้า​มามีบทบาทในชีวิตผู้คนได้เพิ่มมากขึ้น จนสามารถสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในชีวิตประจำวัน รวมทั้งในการทำงาน​ ไม่ว่าจะเป็นในมิติที่ทำให้ได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น​ รวมทั้งความเสี่ยงจากการถูกทดแทนด้วยขีดความสามารถและความฉลาดที่มากขึ้นของเทคโนโลยีเหล่านี้​ โดยเฉพาะในฐานะฟันเฟืองสำคัญในตลาดแรงงานที่อาจจะถูกเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาทดแทน ทำให้ขณะนี้มีหลายๆ องค์กรเพิ่มอัตราเร่งเพื่อให้สามารถก้าวข้ามการถูก Disruption จากบรรดาเทคโนโลยีทั้งหลาย​เหล่านี้ให้ได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ขณะที่ในมุมของพนักงาน​  ซึ่งเป็นหนึ่งในทรัพยากรสำคัญขององค์กร​ก็ต้องขวนขวายและพัฒนาทักษะเพื่อต่อสู้กับวิกฤติ และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ท่ามกลางการเติบโตของเทคโนโลยีโดยเฉพาะ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นเหมือนคลื่นสึนามิลูกยักษ์ที่พร้อมซัดทุกตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง จนมีผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกคาดว่า จะมีอาชีพในปัจจุบันกว่า 73 ล้านอาชีพกำลังจะหายไปภายในปี ค.ศ. 2030

ตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจนี้ เป็นเครื่องกระตุ้นที่ดีให้ผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานเริ่มตระหนักถึงหายนะที่กำลังเตรียมเลื่อยขาเก้าอี้แบบฉับเดียวขาด หากยังนิ่งเฉยไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองอย่างเต็มกำลัง​ โดยเฉพาะหนึ่งในประเด็นต่อความกังวลว่า การพัฒนาที่ล้ำหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ของ AI จนเข้ามาแย่งงานมนุษย์ ​ซึ่งเป็นที่พูดถึงให้ได้ยินบ่อยๆ จนสร้างความหวาดวิตกให้กับหลายๆ คนในช่วงเวลานี้

ขณะที่นักวิชาการบางกลุ่มให้ข้อมูลสถิติย้อนหลังไปในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุคที่นำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคนในปี ค.ศ. 1900 พบว่า 40% ของแรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาคเกษตรกรรม แม้ทุกวันนี้เหลือคนในภาคเกษตรกรรมเพียง 2% แต่ประเด็นสำคัญคือแรงงานหรือบุคลากรในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ตกงาน แต่ได้ทำงานที่มีคุณค่าสูงขึ้น เช่น การควบคุมเครื่องจักร รวมถึงมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรมครั้งนั้น

สอดคล้องกับผลการศึกษาล่าสุดว่า “การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีได้สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่มากกว่าตำแหน่งงานที่ถูกทำลายหายไป เมื่อเทียบจากจำนวนตำแหน่งงานในช่วง 144 ปีที่ผ่านมา” ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลใจไปมากเกินกว่าเหตุ เพราะในโลกดิจิตัลและเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คงไม่ได้จะมีแต่มุมด้านลบที่เกิดขึ้นเท่านั้น

แต่คำถามสำคัญคือ เราจะพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะเป็นพลเมืองแห่งโลกอนาคตได้อย่างไร? และมีทักษะอะไรบ้างที่เราต้องรีบเรียนรู้เพื่อต่อกรกับวิกฤติในครั้งนี้ ​โดยได้ฉายภาพให้เห็นเป็นแนวทางมา 5 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)

คำกล่าวที่มักได้ยินบ่อยๆ ว่า AI กำลังจะครองโลก แต่ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เราควรเป็นผู้ควบคุมและกอบโกยจากการนำ AI มาใช้ประโยชน์ให้ได้ ​เพราะเมื่อวิเคราะห์ถึงการเติบโตและการเข้าที่ทุกภาคส่วนธุรกิจนำ AI ไปใช้ประโยชน์ในทุกวันนี้แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เริ่มพัฒนาทักษะนี้เลย

โดย AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้​ เป็นเทคโนโลยีการสร้างความฉลาดเทียมให้กับเครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ โดยเป็นสาขาหนึ่งทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ผนวกรวมกับศาสตร์ด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา ชีววิทยา ฯลฯ ซึ่งแตกแขนงเป็นหลากหลายสาขาที่เตรียมแย่งงานมนุษย์ได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ที่เป็นการสร้างมันสมองของระบบ AI ด้วยการใส่​ Algorithm หรือโปรแกรมสอนให้เครื่องจักรเรียนรู้พร้อมใส่​ Data ต่างๆ เข้าไป เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ ประมวลผล วิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ และทำนายอนาคตได้ด้วยตัวเอง

โดยปัจจุบัน AI ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย อาทิ ระบบประมวลผลตรวจจับใบหน้าบนโทรศัพท์มือถือ ระบบการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing : NLP) และการจดจำคำพูด (Speech Recognition) ที่ถูกใช้ในเทคโนโลยีของ Siri Apple ระบบการแนะนำวิดีโอหรือหนังใน Netflix และ Youtube ฯลฯ โดยปัจจุบันสาขานี้ถูกพัฒนาจนมีขั้นตอนประเมินชุดข้อมูล (Hidden layer) ที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับเครือข่ายประสาทของสมองมนุษย์เลยทีเดียว

นอกจากเทคโนโลยีอย่าง AI แล้ว ยังมีเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ (Software Development) อย่างระบบการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Process Automatic หรือ RPA) ซึ่งเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเพื่อควบคุมกิจกรรมทางธุรกิจหลากหลายรูปแบบด้วยคอมพิวเตอร์อย่างอัตโนมัติ ผ่านการวิเคราะห์จากชุดข้อมูลต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์ในงานที่ต้องใช้เวลามากและทำซ้ำไปซ้ำมา อย่างการตอบอีเมลลูกค้า การจัดการกับเอกสาร ตัวเลข และข้อมูลปริมาณมาก ราวกับเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานได้ 24 ชม. โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลย พูดง่ายๆ ก็คือเมื่อ AI สามารถทำงานได้เร็วกว่าสมองคน  จึงจำเป็นที่คนทำงานทุกคนต้องเร่งปรับตัวและเรียนรู้อย่างรวดเร็วกับเทคโนโลยีที่ว่านี้

2. การวิเคราะห์เซ็ตข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และการแสดงผลข้อมูลให้เห็นภาพ (Data Visualization)

Big Data Analytics  หรือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ที่ใหญ่มากๆ จนมนุษย์ ไม่สามารถวิเคราะห์ทั้งหมดได้) ซึ่งทำหน้าที่ค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ รวมทั้งหาสิ่งที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการหาเทรนด์ทางการตลาด การหาความต้องการของลูกค้า ซึ่งถูกนำมาประกอบการพัฒนาแผนงาน การดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจ ให้มีความถูกต้อง ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนทำให้การตัดสินใจยากๆ ในวันวาน ก็ง่ายขึ้น (และเร็วมากขึ้นมากๆ) เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก

แม้ว่าเทรนด์นี้จะเข้ามาในสังคมโลกรวมถึงประเทศไทยมาได้สักระยะใหญ่ๆ และหลายองค์กรก็เริ่มนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานทางธุรกิจแล้ว แต่มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าคนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่สามารถอ่านมันออก หรือแม้ว่าจะมีคนอ่านข้อมูลออกก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างไร

ปัญหาส่วนนี้เองที่ทักษะด้าน Data Visualization หรือทักษะในการนำข้อมูลต่างๆ มาทำให้เห็นภาพ เข้ามามีบทบาทอย่างขาดไม่ได้เลย โดยทักษะนี้จะช่วยแปลงข้อมูลเชิงเทคนิคมาอยู่ในรูปแบบของภาพ (Visual) เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดูน่าสนใจมากขึ้น และเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ข้อมูลยากๆ สามารถเข้าถึงคนในหมู่มากได้แล้ว ยังเพิ่มโอกาสในการมองเห็นข้อมูลที่น่าสนใจชุดใหม่ๆ ที่อาจมองข้ามไป นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกต่อนึงอีกด้วย จนอาจกล่าวได้ว่า Data Visualization ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะของพนักงานในฝันที่ทุกองค์กรใฝ่หาในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย

3. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)

แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาให้มาทำงานหลายๆ อย่างแทนมนุษย์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เครื่องจักรไม่สามารถทำแทนเราได้ และแม้ทำได้ เราก็ไม่ไว้ใจให้ทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้หมดทั้ง 100% คือหน้าที่ในการตัดสินใจ

เพราะแม้ว่า AI จะสามารถคำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่อำนาจในการตัดสินก็ยังคงเป็นมนุษย์นี่เอง

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทักษะที่เกี่ยวกับการคิดเชิงวิพากษ์​ หรือ Critical Thinking​ และ ทักษะในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน หรือ Complex Problem Solving​ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการเลือกคำตอบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ซึ่งจัดเป็นทักษะในกลุ่ม Soft Skill ที่หลายองค์กรเฟ้นหาในผู้สมัครงานยุคใหม่ และเร่งพัฒนาพนักงานของตนเองให้มีทักษะนี้มากขึ้น

โดยทักษะดังกล่าวจะช่วยให้มนุษย์สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ และตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามหลักตรรกะและเหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีความซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจโดยเฉพาะในยุคสมัยที่เทคโนโลยีและมนุษย์ทำงานคาบเกี่ยวกันในหลายระดับ จนไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ได้ในทุกปัญหา

4. ทักษะเรื่องคน (People Skills)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานเกือบทุกประเภทบนโลกล้วนต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะเรื่องคน (People Skills) จึงเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกับคนได้อย่างราบรื่น ซึ่งเมื่อจำแนกลงไปแล้ว ทักษะนี้ประกอบด้วยหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น 1) ทักษะเกี่ยวกับประสิทธิภาพส่วนตัว (Personal Effectiveness) ที่เน้นการพัฒนาตนเอง 2) ทักษะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น (Interpersonal Skills) อย่างการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Interpersonal Skills)

3) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ซึ่งรวมตัวกันเกิดเป็นความสามารถและทักษะย่อยต่างๆ มากมาย อาทิ ทักษะด้านการจัดการคน (People Management Skills) ที่ใช้ในการจัดการ (Deal with) พูดคุย และควบคุมทั้งประสิทธิภาพและความรู้สึกของผู้คนรอบข้าง และ 4) ทักษะเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในการเข้าใจผู้อื่น (Cognitive Flexibility) ที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น รู้จักถึงวิธีการเข้าหา (Approach) และพูดคุยกับผู้คนในแต่ละลักษณะ ตลอดจนรู้วิธีปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างสมบูรณ์แบบ

5) ทักษะด้านการโน้มน้าวใจ (Negotiation Skills) ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปิดข้อตกลงทางธุรกิจในทุกๆ ครั้ง ฯลฯ โดยทักษะซอฟท์สกิลเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับมนุษย์อย่างมาก เพราะตราบใดที่เรายังต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้เพียงแค่ 1 คน เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ไม่มากก็น้อย

5. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

สำหรับทักษะสุดท้าย เป็นทักษะชั้นเลิศที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน ซึ่งการันตีได้ถึงความยอดเยี่ยมที่แม้หุ่นยนต์ตัวที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้ ทักษะนั้นคือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพราะสมองของมนุษย์มีความซับซ้อนและมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายรูปแบบ จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเทคโนโลยีและ AI บนโลกใบนี้ต่างเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง

สิ่งที่ดีไปกว่านั้นคือแม้ว่าคนเราอาจไม่ได้เกิดมาแล้วมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดหาทางออก/หาคำตอบได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเราทุกคนไม่ได้เกิดมาแล้วคิดแบบ Steve Jobs ได้ แต่เราก็ยังมีรูปแบบขั้นตอนการคิดที่ฝึกให้เราทำเช่นนั้นได้ เช่น การฝึกคิดแบบ Design Thinking หรือเทคนิคการคิดหาคำตอบแบบนักออกแบบเช่นนี้เป็นต้น

โดยทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคที่เครื่องจักรเข้ามาแย่งงานกินเวลาแสนน่าเบื่อไปเสียหมด จนคนมีเวลาเหลือเฟือที่จะใช้ไปกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ในอนาคต และเพิ่มความท้าทายให้กับนักคิดด้วยความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ​โดยเฉพาะการริเริ่มความคิดนอกกรอบ ที่เรียกได้ว่า ออกนอกกรอบเดิมๆ แบบที่ไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อน อันเป็นผลมาจากการค้นพบ Unmet Needs หรือการตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน​ จากลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไปเร็วไวในทุกขณะ ซึ่งหากมีไอเดียที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ก็เลิกกังวลไปได้เลยว่าจะโดนหุ่นยนต์มาแย่งงาน

นอกจากทักษะต่างๆ เหล่านี้แล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ประชากรยุคใหม่ต้องมี “ทัศนคติที่อยากจะเรียนรู้” และ “วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม” ซึ่งล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่รู้จบ ทำให้ SEAC (Southeast Asia Center) หรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน เชื่อมั่นว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาชีวิต และสามารถเกิดการเรียนรู้ (Learning) ได้ตลอดทุกช่วงชีวิต ผ่านวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม นำมาซึ่งความสามารถในการพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดของโลกขึ้นมาได้สำเร็จ ภายใต้ชื่อ4Line Learning” ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบผ่านโมเดลแรกของ SEAC ที่เปิดตัวในชื่อ “YourNextU”  ซึ่งเปรียบเสมือนระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ถูกสร้างสรรค์และออกแบบมาให้ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลก รูปแบบการใช้ชีวิต และสไตล์การเรียนรู้ของคนทุกเพศทุกวัย

ซึ่งนอกจากจะสามารถรองรับรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้คนเกิดความอยากที่จะเรียนรู้ และพร้อมนำเอาสิ่งใหม่ๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างทันท่วงที ท่ามกลางโลกแห่ง Disruption ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ผ่านโปรแกรม YourNextU โดย SEAC กับการพัฒนาโมเดลแห่งการเรียนรู้แบบ Blended Learning ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้ได้โดย Unlimited และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.yournextu.com

เครดิตภาพเปิด  : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like