HomeCreativityปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน คำแนะนำดีๆ จาก Ed Catmull ซีอีโอ Pixar

ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน คำแนะนำดีๆ จาก Ed Catmull ซีอีโอ Pixar

แชร์ :

finding-nemo

เราสามารถจัดการกับความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร? เป็นประโยคที่ฟังดูเหมือนแค่แท็กไลน์คมๆ ตามหนังสือพัฒนาตัวเองทั่วไป แต่วันนี้เราจะมาฟังการจัดการความคิดสร้างสรรค์จาก Ed Catmull หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Pixar และเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีในการสร้างอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรก วันนี้เขาเป็นหนึ่งใน CEO ของ Pixar และ Disney Animated Studio เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งออกมา ชื่อว่า Creativity, Inc.: Overcoming the Unseen Forces That Stand in the Way of True Inspiration เขียนร่วมกับ Amy Wallcace เป็นหนังสือเกี่ยวกับคำแนะนำในเรื่องของการบริหารจัดการ เล่าเรื่องในแบบที่ให้ดูน่าสนุกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เริ่มเรื่องด้วยการเล่าถึงออฟฟิศอันแสนน่าอยู่ของ Pixar และดึงเราย้อนกลับยังวันที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวของ Pixar วันที่ Ed ยังเป็นแค่นักศึกษาจบใหม่ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้เปี่ยมด้วยความฝัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เนื้อหาในหนังสือเล่าต่อไปเรื่อยๆ คล้ายเรากำลังอ่านเรื่องราวการผจญภัยของ Pixar ที่มี Ed เป็นพระเอกเดินเรื่อง เขาเล่าถึงบุคคลเบื้องหลังมากมายไม่ว่าจะเป็น George Lucas หรือ Steve Jobs

Ed เล่าเรื่องของ Pixar ตั้งแต่ยังเป็นแค่ไอเดียที่อยู่ในหัวของเขา จนมาถึงปัจจุบันนั่นทำให้ข้อคิดดีๆ ในการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ถูกร้อยเรียงออกมาให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไหนก็ตาม ซึ่งบทสรุปจากหนังสือเล่มนี้ มี 2 ข้อ ที่น่าจะช่วยปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของคุณ ดังนี้

เชื่อว่าเราจะชนะ

incredibles

ความไม่มั่นคง ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ชอบนัก แต่เราต้องยอมรับว่ามันเป็นธรรมชาติของบริษัท Ed ยกตัวอย่างให้เราเห็นข้อดีของความไม่มั่นคงนี้ด้วยเรื่องเล่าของภาพวาดเด็กประถม เขาเล่าว่า เขาพบว่าภาพวาดของเด็กป.5 แม้จะดูดีกว่า แต่กลับขาดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เมื่อเทียบกับภาพวาดของเด็กป.1 หรือ ป.2 เขาตั้งข้อสังเกตว่านั่นเป็นเพราะ เมื่อเราเติบโตขึ้น เรามีความรู้คิดในตัวเองเพิ่มขึ้น เรามั่นคงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้ว ศิลปะไม่ใช่เรื่องของการกระทำ แต่เป็นเรื่องของการมองเห็น คำแนะนำนี้มาจากบริษัทที่เต็มไปด้วยศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์เต็มไปหมด พวกเขาเชื่อในเรื่องของการมองเห็น ว่าเป็นสิ่งสำคัญของบริษัท เพราะเรื่องของการจัดการนั้นมักมาพร้อมกับจุดบอดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ และหลายครั้ง เราเอาชนะจุดบอดเหล่านั้นได้ด้วยความร่วมมือของพนักงานคนอื่น เราจึงควรไว้ใจในทีม พร้อมจะเสี่ยงด้วยความคิดที่ว่าเราจะต้องชนะความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นทุกๆ วันเหล่านี้ไปด้วยกัน

ในการเดินหน้าต่อและค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ บริษัทจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์เป็นวัฒนธรรมของทุกแผนก “เราเริ่มจากความเชื่อที่ว่าทุกคนมีความสามารถและต้องการมีส่วนร่วม เราระบุปัญหาเหล่านั้นและแก้ไขมันไปด้วยกัน”

เขาเสนอวิธีแก้ไขปัญหาของ Pixar ให้เราฟัง มันถูกเรียกว่า Braintrust เป็นการประชุมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างแผนกแบบไม่ปิดกั้น ซึ่งจะทำให้พนักงานพบกับความไม่มั่นคงในมุมที่ตนเองมองไม่เห็น และหากรับฟังกันและกันและเปิดเผยข้อคิดเห็นโดยไม่มีอคติและจริงใจ พนักงานจะพบปัญหาที่บางครั้งฝ่ายบริหารไม่สามารถหาเจอ

รักษาสมดุล

up

บางทีสิ่งที่ง่ายที่สุดในหนังสือคือสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด นั่นคือความสมดุลในพื้นที่ทำงาน สิ่งที่ Ed ทำคือแสดงให้เห็นด้วยเหตุการณ์สมมติว่าจะเป็นอย่างไรหากที่ทำงานไม่มีความสมดุล เพราะไม่มีใครจัดการปัญหาได้หากไม่เคยลองผิดลองถูกมาก่อน Ed เล่าเรื่องของพนักงานคนหนึ่งที่ลืมลูกชายที่เป็นทารกของเขาไว้หลังรถ ขณะที่เขากำลังรีบขับรถมาทำงานด้วยความเหนื่อยล้าในวันหนึ่ง แม้ว่าสุดท้ายเด็กน้อยจะปลอดภัย แต่เรื่องนี้ยังคงติดอยู่ในใจ Ed เขาเชื่อว่าความสมดุลในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ

บางครั้งหากทีมบริหารไม่สามารถหาให้เจอได้ว่าอะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานของคุณ จงโยนมันให้กับพนักงาน ถามพวกเขาให้ช่วยกันหาปัญหาและหาทางออกร่วมกัน ทุกๆ ไอเดียเกิดมาอย่างน่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือต้องให้ความผิดพลาดปรากฎตัวให้เร็วที่สุด และให้ร่วมมือกับคนรอบตัวคุณช่วยกันทำให้มันดีขึ้นไม่ใช่หนักไปที่คนใดคนหนึ่ง

หนังสือของ Ed เล่าไปอย่างสุภาพและมีระเบียบ แต่ก็ให้ข้อคิดชัดเจนที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้กับการบริหารจัดการในองค์กรของพวกเขา บทสรุปจากการ Ed ที่จะช่วยให้เราพบความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานได้หลักๆ คือ การลองเสี่ยงบนความไม่มั่นคง และรักษาสมดุลในชีวิตการทำงานให้ดี อีกอย่างที่ Ed เน้นคือเรื่องของการร่วมงานกับผู้อื่น และรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน จะช่วยให้สร้างสรรค์งานดีๆ ที่เปี่ยมจิตนาการออกมาได้ไม่รู้จบ

Ed-Catmull

credit: NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

Source


แชร์ :

You may also like