HomeBrand Move !!ปากกาก่อขยะพลาสติก! “Mitsubishi Pencil” ญี่ปุ่น ผลิตปากกาลดพลาสติก-ไส้ทำจากกระดาษ-เพิ่มปริมาณหมึก

ปากกาก่อขยะพลาสติก! “Mitsubishi Pencil” ญี่ปุ่น ผลิตปากกาลดพลาสติก-ไส้ทำจากกระดาษ-เพิ่มปริมาณหมึก

แชร์ :


แม้ทุกวันนี้อยู่ในยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรม รวมถึงการจดบันทึก หรือเขียนข้อความต่างๆ ทำผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงอย่างไร “ปากกา” ก็ยังเป็นหนึ่งในเครื่องเขียนที่จำเป็น และต้องพกติดตัว-ติดกระเป๋าไปด้วยเสมอ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้ผลิตยังคงผลิตปากกาออกมา รองรับกับความต้องการของตลาด และทุกครั้งที่ผู้บริโภคไปร้านเครื่องเขียน จะเห็นปากกามากมาย หลากหลายสีสัน และหลากหลายผู้ผลิต เป็นตัวเลือกมากมายในการซื้อไปใช้

แต่ในอีกมุมหนึ่ง “ปากกา” ก็สร้างขยะพลาสติกเช่นกัน เพราะปากกาที่ผลิตออกมา และวางขายในทุกวันนี้ ทั้งตัวด้าม และไส้ปากกาส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก

จากความตระหนักในปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากอุปกรณ์เครื่องเขียนนี่เอง ทำให้ล่าสุดผู้ผลิตปากกาและดินสอรายใหญ่ของญี่ปุ่น Mitsubishi Pencil Company ซึ่งดำเนินธุรกิจมายาวนาน 135 ปี ได้ผลิตปากการีฟิลลดการใช้พลาสติกน้อย พร้อมกับโปรเจคพัฒนาไส้ปากกาทำมาจากกระดาษ เพื่อลดการใช้พลาสติกทั้งในกระบวนการผลิต และลดขยะพลาสติกหลังการใช้งาน

Uni Mitsubishi

Photo Credit : Instagram uni_mitsubishi_pencil

 

ตามดูมูลค่าตลาดเครื่องเขียนในญี่ปุ่น ใหญ่แค่ไหน ? และปริมาณขยะพลาสติกจากปากกา

“ญี่ปุ่น” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดอุปกรณ์เครื่องเขียนมีทั้งนวัตกรรม คุณภาพ มีทั้งดีไซน์เก๋ๆ และน่ารักเพียบ ทำให้น่าใช้ น่าสะสม โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ระดับโลก เช่น Mitsubishi Pencil, Pentel, Pilot, Zebra ทั้งผลิตในญี่ปุ่น แล้วส่งออกต่างประเทศ และสร้างฐานการผลิตนอกประเทศ เพื่อขยายฐานตลาดให้ครอบคลุมทั่วโลก

บริษัทวิจัย Yano Research Institute ประเทศญี่ปุ่น เคยรายงานมูลค่าตลาดเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานในญี่ปุ่น อยู่ที่ 469,200 ล้านเยน หรือกว่า 135,000 ล้านบาท ถือเป็น Market Size ขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตามเห็นปากกาเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนขนาดเล็ก สามารถพกพาไปไหนมาไหนในชีวิตประจำวัน แต่ในเวลาเดียวกันกลับสร้างปัญหาขยะพลาสติกไม่น้อยเลยทีเดียว

สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเขียนแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Writing Instruments Manufacturers Association) เผยข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากปากกาใช้แล้วทิ้งในปี 2020 มากถึง 1,300 ล้านด้าม!

ขณะที่สถานการณ์ขยะพลาสติกในญี่ปุ่นทุกวันนี้ จากข้อมูลสถาบันการจัดการขยะพลาสติก (Plastic Waste Management Institute) ตั้งอยู่ในโตเกียว รายงานว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะพลาสติกในญี่ปุ่นประมาณ 8 ล้านตันต่อปี ซึ่งรายงานจาก United Nations Environment Program ฉายภาพว่าปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-use plastic) อยู่ที่ 32 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

โดยจำนวนขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันดังกล่าว มี 60% ถูกกำจัดด้วยกระบวนการเผา เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าและความร้อน และอีก 20% นำไปรีไซเคิล

Stationery Shop

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 

Mitsubishi Pencil” ลดใช้พลาสติกผลิตปากกา พัฒนาไส้ปากกาจากกระดาษ

ด้วยเหตุนี้เองบริษัท Mitsubishi Pencil ผู้ผลิตปากกา – ดินสอ และอุปกรณ์เครื่องเขียนรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจมายาวนาน 135 ปี ภายใต้แบรนด์​ Uni เล็งเห็นปัญหาขยะพลาสติกที่มาจากปากกา จึงได้พัฒนาปากการักษ์โลก ได้แก่

– ผลิตปากการีฟิล Uni Jetstream multicolor รุ่นใหม่ใช้พลาสติกน้อยลง 30% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อน แต่บรรจุปริมาณหมึกได้มากกว่ารุ่นก่อนๆ เนื่องจากออกแบบไส้ปากกาให้บางลงประมาณ 40% หรืออยู่ที่ 0.4 มม. เมื่อเทียบกับรุ่นที่ผลิตก่อนหน้านี้ 0.65 มม. ซึ่งการลดลงนี้ ช่วยเพิ่มปริมาณหมึกได้ถึง 70% ทำให้ปากการีฟิลรุ่นนี้ มีอายุการใช้งานนานขึ้น

Uni Mitsubishi

Photo Credit : Instagram uni_mitsubishi_pencil

ทาง Mitsubishi Pencil วางแผนการขายปากการีฟิล Uni Jetstream รุ่นใหม่ใช้ได้นานขึ้นนี้ นอกประเทศญี่ปุ่นภายในปีนี้ โดยช่วงแรกจะจำหน่ายปากกาหมึกดำก่อน เพราะเป็นสีที่คนนิยมมากที่สุด

– จับมือกับ Nippon Paper Industries กับ Showa Marutsutsu ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดกระดาษ ร่วมกันพัฒนา “ไส้ปากการีฟิลทำจากกระดาษที่ย่อยสลายได้” แทนการใช้พลาสติก โดยหัวปากกาทำจากโลหะ ขณะที่ตัวไส้ปากกา ทำจากกระดาษความหนา 4 ชั้น เพื่อความแข็งแรง ป้องกันการรั่วซึมของหมึก และไม่ให้หมึกแห้ง

การใช้กระดาษ ทำให้บรรจุหมึกเพิ่มขึ้น 60% และลดการใช้พลาสติก 88% เมื่อเทียบกับปากการีฟิลทั่วไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร แต่ตั้งเป้าหมายผลิตพร้อมวางจำหน่ายภายใน 1 – 2 ปีนี้

Uni Mitsubishi

Photo Credit : Instagram uni_mitsubishi_pencil

Source


แชร์ :

You may also like