HomeSponsoredผ่าแนวคิดโปรเจ็กต์ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” มุ่งเน้นจัดการ “ลุ่มน้ำ” คืนความสมดุลทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

ผ่าแนวคิดโปรเจ็กต์ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” มุ่งเน้นจัดการ “ลุ่มน้ำ” คืนความสมดุลทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

แชร์ :

ปัจจุบันผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงพถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นในทุกมิติ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กลุ่มธุรกิจ TCP หนึ่งในองค์กรธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว(Snack)ที่ผู้บริโภครู้จักเป็นอย่างดี เช่น แบรนด์กระทิงแดง(เรดบูล) เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม เพียวริคุ และซันสแนค เป็นต้น ที่มุ่งมั่นผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน และเป็นองค์กรธุรกิจที่มุ่งทำโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอยางต่อเนื่อง

หนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ของปี 2562 คงต้องยกให้การเปิดตัวโครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย”โครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ที่กลุ่มธุรกิจ TCP มุ่งเน้นการบริหารจัดการแหล่งน้ำกระจายไปยังลุ่มน้ำต่างๆในประเทศไทย

 

โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย กลุ่มธุรกิจ TCP ไม่ได้ทำคนเดียว แต่ผนึกกำลังกับหลายภาคส่วน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับน้ำ ได้แก่ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)หรือ(สสน.) สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดินมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมกันผลักดันให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม ทั้งด้านความมั่นคงให้กับชุมชนได้มีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี และการศึกษาวิจัยการจัดการเติมน้ำใต้ดินเพื่อช่วยปรับสมดุลน้ำ

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCPเปิดเผยว่า บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของ “ลุ่มน้ำ”เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ไม่เพียงแค่ใช้เพื่อการ“บริโภค”หรือดื่มกินเท่านั้น แต่ยังใช้ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมด้วย

ขณะที่แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมีปริมาณมากขึ้นทุกปี แต่เพราะน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติใช้แล้วหมดไป และปริมาณน้ำแต่ละปียังต้องขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ฟ้า ฝน การควบคุมปริมาณน้ำแต่ละปีเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทำให้บางปีเกิดปัญหาฝนแล้ง บางปีน้ำท่วม และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบให้ประชาชนในวงกว้างต้องเผชิญความเดือดร้อนแตกต่างกันไป ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP หนึ่งในองค์กรที่ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการดำเนินธุรกิจ จึงต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ทำให้บรรจุโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย มาอยู่ภายใต้กรอบการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร และใช้งบประมาณสนับสนุนโครงการประมาณ 100 ล้านบาท ขณะที่การบริการจัดการน้ำดำเนินการทุกมิติ

ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เรื้องรัง ในจังหวัด ปราจีนบุรี

มิติแรก “น้ำบนดิน หรือน้ำผิวดิน” กลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสสน. บริหารจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดแพร่ และปราจีนบุรี ปัจจุบันขยายความร่วมมือต่อยอดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีน เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งสร้างสมดุลน้ำให้แก่ชุมชนในทั้งสองพื้นที่ได้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ส่วนในอนาคตจะขยายการพัฒนาออกไปจนครบทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

มิติที่สอง “น้ำใต้ดิน” หรือน้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนที่อยู่นอกระบบชลประทาน การประปา แต่หากใช้น้ำใต้ดินโดยปราศจากการบริหารจัดการรักษาสมดุลที่ดี จะทำให้หลายพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินต่ำลง กระทบปริมาณและคุณภาพน้ำ

“เรามุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกมิติ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำต่างๆของเมืองไทย โดยเป้าหมายภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567) ต้องการพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชุมชนได้มีน้ำใช้เพิ่มขึ้นกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือ 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ และคาดว่าจะช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำปราจีน กว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย พิจิตร สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก ให้สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคด้วย”

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนและถ่ายทอดความสำเร็จเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่ชุมชนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้ทำงานร่วมกับ โครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” ภายใต้หลักการทำงานที่ “เข้าใจเข้าถึง พัฒนา” ขยายผลจากคน และชุมชนไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ระดับตำบล และระดับลุ่มน้ำต่อไปตามลำดับ

ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) (สสน.) กล่าวว่า สสน. และโครงการ TCPโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย สานต่อการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความรู้ในการบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำโดยนำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในทุกพื้นที่ที่เราเข้าไปเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างน้ำและการจัดการน้ำแบบพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน

ดร.โพยม สราภิรมย์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดินมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้น้ำใต้ดินมากเกินสมดุล ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำบาดาลที่ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันยังทำให้ชุมชนมีต้นทุนสูงขึ้นกว่าเดิม 2-3 เท่าตัว เพราะต้องเจาะน้ำใต้ดินลึกขึ้น ดังนั้น การได้ทำงานร่วมกับโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย เพื่อศึกษาแนวทางจัดการการเติมน้ำใต้ดินจะช่วยคืนความสมดุลให้กับแหล่งน้ำใต้ดิน และสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์น้ำใต้ดินให้แก่ชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกตลอดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 754,730 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่กักเก็บน้ำฝนได้ราว 43,000 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นเพียง5.7 % ของน้ำฝน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้เพียง 17 % ของพื้นที่ประเทศไทย ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมีมากกว่า 100,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี นอกจากยังมีหมู่บ้านมากกว่า 36,000 หมู่บ้านที่อยู่นอกพี้นที่เขตชลประทานและยังไม่ได้จัดการน้ำชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ทั้งนี้ โครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” ถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองเล็กๆที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรน้ำของเมืองไทย ซึ่งจุดเริ่มต้นเล็กๆ และเจตนารมย์การดำเนินโครงการในระยะยาว จึงเป็นเสมือน “จิ๊กซอว์” ที่ช่วยทำแผนที่รักษ์น้ำขยายวงกว้างทั่วประเทศได้

อ่างเก็บน้ำห้วยยาง บ้านแม่ขมิง ตำบลสรอย อำเภอสอง จ.แพร่ ที่ทางกลุ่มธุรกิจ TCP เข้าไปส่งเสริมและบริหารจัดการน้ำ

นอกจากนี้ เพื่อจุดประกายสร้างการรับรู้ในวงกว้าง กลุ่มธุรกิจ TCP ยังมีแผนจัดกิจกรรมอาสาสมัครผ่านโครงการ“TCP Spirit” เพื่อชักชวนคนหนุ่มสาวที่มีจิตอาสามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพยาบาลลุ่มน้ำซึ่งเน้นการทำกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครรุ่นใหม่เพื่อให้ความรู้และสร้างประสบการณ์ตรงอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนโดยโครงการนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ปีนี้จะจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 ครั้ง ภายใต้แนวคิด พยาบาลลุ่มน้ำเพื่อพาอาสาสมัครรุ่นใหม่เกือบ 200 คน ไปเปิดประสบการณ์ เข้าใจปัญหาลุ่มน้ำ และสร้างความตระหนักรู้ รวมทั้งร่วมลงมือทำงานแก้ปัญหา โดยเริ่มครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ที่จังหวัดน่าน และปิดท้ายโครงการในเดือนตุลาคม


แชร์ :

You may also like