HomeBrand Move !!กลุ่มเซ็นทรัลยก Love the Earth จากโปรเจ็กต์ลดถุงพลาสติกสู่นโยบายภาพใหญ่​ ​​วางโรดแม็พ 2030 สู่ความยั่งยืน

กลุ่มเซ็นทรัลยก Love the Earth จากโปรเจ็กต์ลดถุงพลาสติกสู่นโยบายภาพใหญ่​ ​​วางโรดแม็พ 2030 สู่ความยั่งยืน

แชร์ :

ปี 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกกว่า 2 ล้านตัน ขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ เป็นอันดับ 23 ของโลก และยังเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดในประเทศไทยที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม มีปริมาณขยะมูลฝอยในระดับสูง โดยตัวเลขเมื่อปี​ 2558 กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะมูลฝอยสูงถึง 27 ล้านตัน และมีเพียง 31% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวและเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในปัญหาระดับชาติ อย่างเช่นปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ที่นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อเรื่องของสุขภาพแล้ว ยังกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ จากความกังวลจากหลายๆ ประเทศ​ ที่มีต่อสภาพอากาศในกรุงเทพฯ ทำให้กระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวม และกระทบต่อเนื่องไปยังภาคธุรกิจต่างๆ ได้เช่นกั​น​

จะยั่งยืนได้ ต้องลบเส้นแบ่งระหว่างธุรกิจและสังคม  

สิ่งเหล่านี้ยังเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่า ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ ทำให้รัฐบาลกำหนดให้เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะที่ภาคธุรกิจเองจำเป็นต้องวางนโยบายในการทำธุรกิจให้กลายเป็นเนื้อเดียวไปกับการดูแลสังคมให้ได้ และ​จำเป็นต้องมีการวางเรื่องของ Brand Purpose เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะใช้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน

ภาพเหล่านี้ยังนับเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในระดับสากล เพราะการที่แต่ละธุรกิจจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับ License to Operated จากภาคสังคมด้วย เพราะหากสังคมมองเห็นว่าการดำเนินธุรกิจใดๆ ที่จะส่งผลกระทบหรือเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดการต่อต้านหรือไม่อนุญาตให้ธุรกิจนั้นๆ มีโอกาสได้ทำธุรกิจต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มี Stakeholder เกี่ยวข้องจำนวนมาก การสร้างความตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้ง Supply Chain จะเป็นหนึ่งพลังที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และที่ปรึกษา Central Group Sustainability กล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนต้องมาจากพื้นฐานภายใต้ 3 กรอบวิธีคิด ไม่ว่าจะเป็น การมองในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น การมองถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และการให้ความสำคัญกับการเติบโตในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ ขณะที่การทำธุรกิจเพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องวางกลยุทธ์เพื่อผลักดัน​การเติบโตของธุรกิจให้สอดคล้องและเป็นเนื้อเดียวกันไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้

“การประกอบกิจการธุรกิจในปัจจุบันต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแกนหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้ครอบคลุม 4 ด้านหลัก คือ PEOPLE หรือเรื่องของการพัฒนาคน, PLANET การดูแลสิ่งแวดล้อม, PROSPERITY การพัฒนาความมั่งคั่ง โมเดิร์น เทคโนโลยี ออนไลน์ ออฟไลน์ และ PEACE & PARTNERSHIPS ในเรื่องของสันติภาพและความร่วมมือ ซึ่งในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ที่ต้องตระหนักและร่วมผลักดันให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลง เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการเติบโตเชิงเศรษฐกิจเช่นกัน”​

สำหรับเซ็นทรัลกรุ๊ป​ ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีกและบริการ นับเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้คนหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน มี Stakeholder ในหลายมิติ รวมทั้งโลกที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่จะได้รับผลกระทบจากการขับเคลื่อนการเติบโตของภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน ทำให้เซ็นทรัลวางนโยบายไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหลัก

และเพื่อให้กลุ่มเซ็นทรัลบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้วางกรอบการดำเนินงาน 4 ประการ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), 2.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Efficiency), 3.การบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Waste Management) และ 4. การบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Management) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนแก่คนรุ่นหลังต่อไป

ซึ่งการขับเคลื่อนนโยบายของเซ็นทรัลกรุ๊ปนั้น ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติในการวางเป้าหมายการขับเคลื่อนไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (SDG Goals) ​ทำให้การเดิน​ตาม 4 แนวทางด้านสิ่งแวดล้อมของเซ็นทรัลกรุ๊ปนั้น เป็นการสนับสนุนให้สามารถพิชิต SDG Goals ใน 4 ข้อ ได้แก่ ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG13),  การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (SDG12), การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน (SDG11), การมีน้ำสะอาดและการมีสุขอนามัยที่ดี (SDG6)

ยกระดับ Love the Earth​ สู่นโยบายทั้งกลุ่ม

ทั้งนี้ กลุ่มเซ็นทรัลซึ่งเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ดำเนินธุรกิจมากว่า 72 ปี และมุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ จากภายในสู่ภายนอกองค์กร ทำให้ในปีนี้ทางกลุ่มเซ็นทรัลได้ประกาศนโยบายในการทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะเรื่องของการดูลแลสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการสร้างโลกสีเขียว ภายใต้แคมเปญ เซ็นทรัล กรุ๊ป เลิฟ ดิ เอิร์ธ” (CENTRAL Group Love the Earth)

ก่อนหน้านี้ Love the Earth เป็นโปรเจ็กต์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งเป็นหนึ่ง BU ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทำมายาวนานกว่าสิบปีแล้ว แต่นับจากนี้ Love the Earth จ dะยกระดับขึ้นเป็นนโยบายภาพใหญ่ของทั้งกรุ๊ป เพื่อเป็นแกนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัท​ รวมทั้งเพื่อสร้างแนวร่วมจาก Stakeholder ทุกฝ่าย ​ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า พนักงาน หรือพันธมิตรต่างๆ

คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการของประเทศไทย และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมาตลอดกว่า 72 ปีที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้กลุ่มเซ็นทรัลเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยในปี 2562 กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ผ่านแคมเปญเซ็นทรัล กรุ๊ป เลิฟ ดิ เอิร์ธ (Central Group Love the Earth)  เพื่อสร้างประโยชน์ทั้งในระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับมหภาค

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแคมเปญ Central Group Love the Earth จะทำควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ พร้อมวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของทั้งกลุ่มเป็นกลยุทธ์ระยะยาวไปจนถึงปี 2030 เพื่อเป็นกรอบการทำงานของแต่ละธุรกิจในเครือให้เหมาะสมกับรูปแบบและแนวทางในการทำธุกิจของแต่ละบริษัทต่อไป  

ขับเคลื่นผ่าน 3 แกนหลัก ​

Central Group Love the Earth มีแนวทางในการขับเคลื่อนผ่าน 3 โครงการหลัก เพื่อแก้ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดปริมาณขยะและมลภาวะทางอากาศ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และฟื้นฟูป่า ผ่านแนวทางดังต่อไปนี้

1. Journey to Zeroการตั้งเป้าหมายลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการดำเนินธุรกิจภายในเครือ ให้เป็นศูนย์ โดยแบ่งการขับเคลื่อนออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ Zero Waste to Landfill หรือการลดปริมาณขยะมูลฝอยจากการทำธุรกิจ และ Zero Carbon เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของทั้งกลุ่มจะปราศจากการสร้างคาร์บอน ผ่านการขับเคลื่อนต่างๆ ต่อไปนี้

Zero Waste to Landfil รณรงค์ลดและคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อไม่ก่อให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

ลดการใช้พลาสติก (Plastic Reduction) เช่น การรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกผ่านแคมเปญ Say No To Plastic อาทิ ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ โดยในปี 2561 สามารถลดใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 45 ล้านใบ,           การลดปริมาณการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว, โครงการงดให้ถุงพลาสติกทุกวันที่ 4 ของทุกเดือน, การลดการใช้หลอดพลาสติกในร้านอาหารของเครือซีอาร์จี โดยในปี 2561 สามารถลดได้ถึง 13.6 ล้านหลอด, การใช้หลอดข้าวโพดแทนหลอดพลาสติก ในท็อปส์ และเซ็นทรัล ฟู๊ด ฮอลล์, และการใช้ภาชนะทดแทน เป็นต้น

ทั้งนี้ ในรอบ 2 เดือน ที่ผ่านมา​ (ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2562) มีลูกค้าปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกถึงจากทั้งเครือ​รวม  4.8 ล้านครั้ง สะท้อนถึงความสำเร็จที่ได้จากความร่วมมือของลูกค้า 

จัดการคัดแยกขยะ (Waste Segregation) แยกขยะเป็น 4 ประเภทตามหลักสากล ทั้งขยะอินทรีย์ (ถังสีเขียว), ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง), ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ,ขยะอันตราย (ถังสีแดง) โดยติดตั้งถังขยะที่มีสัญลักษณ์และสีเป็นเอกลักษณ์ให้ครอบคลุมทุกศูนย์การค้าในเครือ เพื่อสร้างการรับรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะแก่ลูกค้าและพนักงานในองค์กร​ พร้อมเดินหน้าหารือพันธมิตรในการนำขยะที่ได้ไปแปรรูปหรือสร้างประโยชน์ต่อ​ เช่น GEPP Sa-Ard ltd, Indorama Ventures (IVL), TPBI Public Company ltd. เป็นต้น , การให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะให้แก่โรงเรียน ชุมชน เด็กเล็ก เช่น บ้านนาทรายน้ำรอด จังหวัดอุดรธานี, บ้านโป่งแมลงวัน จังหวัดนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ลดการสร้างขยะอาหาร (Food Waste) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาอาหารเหลือค้าง โดยอาหารที่เหลือจากการขาย, การบริโภคของพนักงาน จะนำมาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารที่ยังรับประทานได้ และอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้

สำหรับอาหารที่ยังรับประทานได้ จะส่งต่อให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้ขาดแคลนโอกาส โดยปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลร่วมมือกับมูลนิธิเอสโอเอส  Scholar of Sustenance (SOS) ในการส่งต่ออาหารจากเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว, เซ็นทารา วอเตอร์เกท พาวิลเลี่ยน และเซ็นทรัล ฟู๊ด ฮอลล์ สาขาเซ็นทรัล ชิดลม ให้ถึงมือน้องๆ ในมูลนิธิบ้านพระพรและบ้านราชาวดี โดยสามารถสร้างมื้ออาหารได้มากกว่า 100,000 มื้อ คิดเป็นการลดปริมาณขยะอาหารได้ถึง 34 ตัน ส่วนอาหารที่ไม่สามารถทานได้ขณะนี้กลุ่มเซ็นทรัลกำลังเจรจากับพาร์ทเนอร์เพื่อหาแนวทางในการแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพ

Zero Carbon ภายใต้การดำเนินธุรกิจของทั้งกลุ่มจะปราศจากการสร้างคาร์บอน เพื่อลดปัญหามลพิษด้วยพลังงานสะอาด (Clean Energy) ภายใต้แนวทางต่อไปนี้ 

การติดตั้งแผงพลังงานโซล่าร์เซล บนหลังคาศูนย์การค้าในเครือ (Solar Rooftop) นอกจากสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ยังไม่มีการปล่อยของเสีย หรือสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลใช้พลังงานไฟฟ้าจาก โซล่าร์เซล ทั้งหมด 11 สาขา สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5,800 เมกะวัตต์ ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,300 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ ต่อปี เช่น เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัล พลาซา อุบลราชธานี, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี

สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger)ห้างเซ็นทรัลถือเป็นห้างแรกที่ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงเมื่อมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลง ก็สามารถช่วยลดมลพิษบนท้องถนนให้น้อยลงไปด้วย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลติดตั้ง EV Charger ทั้งหมด 12 สาขา 20 จุด เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ , เซ็นทรัล ชิดลม, เซ็นทรัลพลาซาศาลายาและมีแผนที่จะติดตั้งเพิ่มให้ครบทุกศูนย์การค้า

2. Central Green ​เน้นการปรับภูมิทัศน์โดยรอบศูนย์การค้า ด้วยการจัดทำสวนสาธารณะ การบูรณาการพื้นที่ริมคลอง การจัดทำเครื่องดักไขมัน และการปรับสภาพน้ำในคลองข้างศูนย์การค้า เพื่อให้พื้นที่ 4 ตร.กม. โดยรอบศูนย์การค้า เกิดความสะอาด สวยงาม และน่าอยู่อาศัย โดยเริ่มโครงการจากการบำบัดน้ำเสียและการปรับภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ถนนวิภาวดีรังสิตลาดพร้าวเป็นที่แรก ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลจัดทำโครงการแล้วทั้งหมด 31 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 70,000 ไร่ และมีแผนที่จะดำเนินงานอีก 24 สาขา , การปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบร้าน      แฟมิลี่มาร์ท

3. Forest Restoration​ ให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูผืนป่า ได้แก่ โครงการปลูกป่าบางขุนเทียน บนพื้นที่ 36 ไร่, โครงการคุ้งบางกะเจ้า 23 ไร่, โครงการ “สร้างอาหารยั่งยืนฟื้นคืนป่าน่านรณรงค์ปลูกป่าจำนวน 200 ไร่ร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ณ จังหวัดน่าน และโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟอินทรีย์รักษาป่าภูชี้เดือน ณ จังหวัดเชียงราย พื้นที่กว่า 500 ไร่  เป็นต้น

“ในปีนี้ทางเซ็นทรัลกรุ๊ปจะสร้างความเข้มข้นในการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านแคมเปญ CENTRAL Group Love the Earth รวมทั้งสร้างการรับรู้ในวงกว้างทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และให้พนักงานสื่อสารกับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่ายและเห็นผลผลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการปรับแนวทางให้เหมาะกับการดำเนินงานของแต่ละ BU ในองค์กร เพื่อให้สามารถทำได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกันกับธุรกิจ เพื่อสร้างเป็นความยั่งยืนในระยะยาว”​


แชร์ :

You may also like