HomeSponsoredGC ปลุกพลังทุกเจนเปลี่ยนโลก เพราะ “ความยั่งยืนไม่ยาก” ในงาน GC Sustainable Living Symposium GEN S GATHERING

GC ปลุกพลังทุกเจนเปลี่ยนโลก เพราะ “ความยั่งยืนไม่ยาก” ในงาน GC Sustainable Living Symposium GEN S GATHERING

แชร์ :

เพราะทุกวันนี้โลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ทันตั้งตัวจากภาวะโลกรวน (Climate Change) หนักขึ้นทุกวัน ทำให้ “ความยั่งยืน” หรือ “Sustainability” กลายเป็นเทรนด์มาแรง และถูกพูดถึงกันแทบจะทุกวงการ ส่งผลให้หลายปีมานี้ นอกจากจะได้เห็นองค์กรต่างๆ หันมาดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืนกันมากขึ้น หลายหน่วยงานยังจัดมหกรรมด้านความยั่งยืนมากมาย เพื่อผลักดันให้ธุรกิจและคนรุ่นใหม่หันมาตระหนัก พร้อมกับสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ลดผลกระทบให้กับโลกกันอย่างจริงจัง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยหนึ่งในมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ Brand Buffet มีโอกาสไปชมเมื่อเดือนที่ผ่านมาคือ GC Sustainable Living Symposium 2024 : GEN S GATHERING ที่ปีนี้จัดครั้งปีที่ 5 แล้ว โดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ทันทีคือ พลังคนเจนใหม่หัวใจยั่งยืน หรือ GEN S (Generation Sustainability) เพราะในงานเต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ รวมถึง Influencer และผู้บริโภคสายกรีนจำนวนมากที่มาอัปเดตเทรนด์ และนวัตกรรมสีเขียวเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจของตนเอง ถ้าอยากรู้ว่า GC Sustainable Living Symposium 2024 : GEN S GATHERING น่าสนใจอย่างไร? ถึงดึงดูดคน GEN S มารวมตัวกัน เราจะพามาเปิดประสบการณ์ยั่งยืน พร้อมรวบรวมไฮไลท์เด็ดในงานมาเล่าให้ฟังกันแบบจุกๆ

ความยั่งยืนอยู่รอบตัวเรา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก

ถ้าพูดถึงมหกรรมความยั่งยืน เชื่อว่าภาพแรกที่หลายคนเห็นจนชินตาคือ งานที่มีผู้เชี่ยวชาญในวงการยั่งยืนมาให้ความรู้ถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงนำผู้ประกอบการที่ลงมือทำธุรกิจบนความยั่งยืนมาเล่าประสบการณ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลให้คนที่สนใจได้นำไปปรับใช้ในธุรกิจ แต่ GC Sustainable Living Symposium 2024 ไม่ใช่แค่มหกรรมวิชาการที่อัดแน่นความรู้เรื่องเทรนด์ความยั่งยืนเท่านั้น ทว่ายังสร้างสิ่งที่แตกต่างออกไป โดยต้องการให้คนเห็นว่า “ความยั่งยืนไม่ยาก”

เพราะ GC มองว่า ความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน และหากคนได้เห็นว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวเรา และเชื่อว่าทำได้ จะช่วยจุดประกายให้คนมีส่วนร่วมในการเซฟโลกใบนี้ให้ดีขึ้น ดังนั้น คุณณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC บอกว่า หัวใจสำคัญของงานในครั้งนี้จึงพยายามหยิบเรื่องใกล้ตัวคนทุกเจนมาโชว์ให้เห็นว่าความยั่งยืนไม่ยากอย่างไร โดยเริ่มตั้งแต่สถานที่จัดงานที่เลือกใจกลางเมือง ติดรถไฟฟ้า เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างโลกที่ดีขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยการเดินทางโดยรถไฟฟ้า เพราะแค่การเดินทางของคน 1 คน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 66.71% แล้ว โดยทุกคนจะได้เห็นตัวเลขผ่านจอแสดงผลการลดคาร์บอนแบบ Realtime ตั้งแต่ทางเข้างานเลย

พอเดินเข้ามา เราจะได้เห็นไอเดีย การใช้ชีวิตแบบ Net Zero และนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ผ่านหลากหลายโครงการในโซนต่างๆ เริ่มจากโซน Technology and Innovation for Sustainability ซึ่งจะเล่าถึงการบริหารจัดการคาร์บอนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อให้กระบวนการผลิตทางเคมีใช้พลังงานและปล่อยคาร์บอนน้อยลง โดยได้พัฒนาเทคโนโลยีมาทำการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนไม่ให้รั่วไหลสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งยังศึกษาวิธีการนำคาร์บอนเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ให้เกิดประโยชน์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งคุณณะรงค์ศักดิ์ บอกว่า คอนเซปต์นี้ฟังดูเหมือนไกลตัว และอาจต้องใช้เวลาในการพัฒนา แต่ในอนาคตมันกำลังจะเกิดขึ้นจริงแล้ว

ภายในโซนนี้ ยังมีการสาธิตวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นการทำนาแบบใหม่โดยไม่ปล่อยให้น้ำขังในนาตลอดเวลา ซึ่งไม่เพียงจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ยังช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 50% ด้วย รวมถึงบอกเล่าความสำคัญของการปลูกและดูแลป่าที่ GC ทำมาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อลดคาร์บอนให้กับโลกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน GC ปลูกไปแล้ว 20,000 ไร่ มีทั้งป่าบก และป่าชายเลน โดยตั้งเป้าในปี 2030 ต้องการปลูกป่าให้ได้ 200,000 ไร่

เพิ่มมูลค่าให้อ้อย-น้ำมันใช้แล้ว สู่ “ไบโอพลาสติก-น้ำมันอากาศยาน” 

ถัดไปจะเจอกับโซน Product and Solutions for Sustainability ที่มีนวัตกรรมมูลค่าสูง (High Value) และคาร์บอนต่ำ (Low Corbon) มาโชว์ให้เห็น ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ไบโอเคมิคอล ไบโอพลาสติก จาก NatureWorks ซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอพลาสติกชั้นนำของโลก ที่นำอ้อยมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ ก่อนจะนำมาผลิตเป็นสินค้าต่างๆ เช่น จาน ช้อน แก้ว แคปซูลกาแฟ และปัจจุบันสามารถนำเส้นใยมาใช้ในการพิมพ์ 3 มิติได้อีกด้วย ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์มาแรงมากในตลาด

รวมถึง ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานอย่างยั่งยืน (SAF) ที่นำน้ำมันเหลือใช้จากครัวเรือนและภาคธุรกิจมาปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการกลั่นขั้นสูงจากโรงกลั่นที่มีอยู่แล้ว ซึ่งนอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันที่เหลือทิ้ง ยังส่งผลให้สายการบินในประเทศสามารถลดคาร์บอนลงด้วย อีกทั้งอนาคตยังสามารถต่อยอดเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบไอโพลิเมอร์ต่างๆ ได้อีกมากมาย โดย GC จะเริ่มทดลองเดินเครื่องการผลิตในเดือนธันวาคมนี้ และผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2568 ช่วงแรกเริ่มต้นผลิต 500,000 ลิตรต่อวัน จากนั้นจะเพิ่มกำลังผลิตเป็น 20,000 ตันต่อปี

ชูนวัตกรรม “เรซินรักษ์โลก” สร้างอุตสาหกรรมเติบโตคู่สิ่งแวดล้อม

ท่ามกลางนวัตกรรมคาร์บอนต่ำต่างๆ ในงาน มีหนึ่งนวัตกรรมที่เรารู้สึกสะดุดตา จนอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือ นวัตกรรมสารเคลือบผิว (Coating Resins) ของ allnex เพราะนวัตกรรมมีความแปลกใหม่ แถมยังลดมลพิษให้โลกได้อย่างมาก โดย allnex เป็นผู้ผลิต Coating Resins อันดับ 1 ของโลกที่ GC เข้าไปถือหุ้น 100% เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเรซินที่ allnex ผลิตขึ้นนั้น ไม่ใช่แค่สารเคลือบเรซินแบบที่เราเห็นทั่วไป แต่เป็นเรซินที่ออกแบบใหม่ให้สอดรับกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม และที่สำคัญกระบวนการผลิตยังใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทำให้นวัตกรรมสารเคลือบผิวของ allnex แตกต่างไม่เหมือนใคร

ฟังดูอาจเหลือเชื่อใช่ไหมว่าสารเคลือบผิวเหล่านี้จะรักษ์โลกได้อย่างไร แต่นวัตกรรมนี้ทำได้จริง ซึ่งในงาน GC ได้หยิบเรื่องการพ่นสีรถยนต์ มาถ่ายทอดให้เห็นจริงถึงการใช้นวัตกรรมเรซินในการเคลือบแบบจับต้องได้ โดยปกติการพ่นสีรถยนต์จะใช้ปั้มลมอัดเพื่อฉีดพ่นสี ทำให้บางครั้งเกิดไอฟุ้ง บางทีสีที่พ่นก็ไม่ติดรถ สิ่งที่ตามมาคือ สีจึงออกมากองที่พื้นโดยเปล่าประโยชน์ และสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังใช้พลังสูงในการอบ allnex จึงออกแบบหัวพ่นใหม่เป็นแบบหมึกพิมพ์ พร้อมใส่สารบางอย่างเข้าไปเพื่อลดแรงหนืด ทำให้สีไม่ฟุ้งกระจาย ทั้งยังสวยงาม ลดพลังงาน และไม่มีการปล่อยของเสียในการพ่น

แม้กระทั่งเบาะ แบตเตอรี่ และล้อรถยนต์ก็ต้องใช้สารเคลือบผิวเช่นกัน แต่นวัตกรรมเคลือบผิวที่ใช้จะต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างแบตเตอรี่นิยมใช้สารเคลือบสูตรแห้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจุพลังงาน ส่วนล้อรถยนต์ จะใช้สาร Additives เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเสริมการยึดเกาะ ซึ่งในปัจจุบันนอกจากธุรกิจยานยนต์ สารเคลือบเรซินเหล่านี้ยังครอบคลุมการใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ทั้งเฟอร์นิเจอร์ ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหากธุรกิจนำสารเคลือบผิวรักษ์โลกเหล่านี้ไปใช้งาน ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดผลกระทบให้กับโลกไปพร้อมกัน

นอกจากนวัตกรรมคาร์บอนต่ำแล้ว ในงานนี้ยังมีโซน Gen S Lifestyle for Sustainability ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนที่ทำได้ไม่ยาก ผ่าน GC YOUเทิร์น ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดการพลาสติกใช้แล้ว ตั้งแต่การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันมีจุดรวบรวมพลาสติกใช้แล้วกว่า 290 จุด และนำพลาสติกใช้แล้วไปรีไซเคิลใหม่กว่า 1,200 ตัน ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า กางเกง เสื้อผ้า หมวก พร้อมทั้งโชว์สกิลของเหล่า Gen S ในการเก็บขยะในโครงการ Green University ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ AIS และ 42 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน ยังมีเกมส์ให้ร่วมสนุกและร่วมดูแลโลกไปพร้อมกัน กับ Plastic Funtastic ด้วยการนำฝาขวดพลาสติกใช้แล้วมาแปลงร่างเป็นพวงกุญแจน้องห่วงใยสุดคิวท์ ทั้งยังสามารถเลือกช้อปผลิตภัณฑ์รักษ์โลกจากผู้ประกอบการ SME ชั้นนำได้อย่างเพลินเพลิน รวมถึงความรู้ และประสบการณ์การทำธุรกิจที่ดีต่อโลกจากเหล่า GEN S Experts ตัวจริงแบบเต็มอิ่มตลอดงาน

แม้งาน GC Sustainable living Symposium 2024 ในครั้งนี้จะจัดแค่ 1 วัน แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวรักษ์โลกในมุมใหม่ ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างโลกที่ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร สามารถเริ่มต้นทำสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ GC คาดหวังจะเห็นมากที่สุด เพราะเชื่อว่า ทุกไอเดียและทุกการลงมือทำสำคัญหมด ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่หากไอเดียไหนใหญ่ ก็สามารถต่อยอดหาพันธมิตรมาร่วมกันทำได้ เช่นเดียวกับการพัฒนานวัตกรรมยั่งยืนของ GC หลายนวัตกรรมบริษัทอาจจะพัฒนาขึ้นเอง แต่หลายนวัตกรรมก็ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน


แชร์ :

You may also like