HomeDigitalครบรอบ 10 ปีกับ 10 สถิติสำคัญจาก “YouTube ประเทศไทย”

ครบรอบ 10 ปีกับ 10 สถิติสำคัญจาก “YouTube ประเทศไทย”

แชร์ :

YouTube ประเทศไทยฉลองครบรอบ 10 ปีพร้อมเปิดเบื้องหลังการเดินทางที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันที่มีช่องระดับ Gold (มีผู้ติดตามเกิน 1 ล้านคน) มากกว่า 1,000 ช่อง (ปี 2557 มีเพียง 4 ช่องเท่านั้น)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณมุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ YouTube ประเทศไทย และเวียดนาม กล่าวว่า แพลตฟอร์ม YouTube เป็นช่องทางให้ครีเอเตอร์ได้เชื่อมต่อกับผู้คนทั่วโลก โดยที่ผ่านมามีทั้งศิลปินหน้าใหม่ ไปจนถึงผู้ที่มีชื่อเสียงที่ต่างใช้ YouTube ในการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ และมีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

10 ปี x 10 ฟีเจอร์

ขณะที่เหตุการณ์สำคัญในประเทศไทยนั้น พบว่ามีการเปิดตัวหลายฟีเจอร์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น

  • ปี 2561 เปิดตัวฟีเจอร์ YouTube Kids
  • ปี 2562 เปิดตัวบริการ YouTube Music และ YouTube Premium
  • ปี 2563 เปิดตัวบริการ Channel Membership
  • ปี 2564 เปิดตัว YouTube Shorts
  • ปี 2565: เปิดตัวฟีเจอร์ Super Chat, Super Stickers และ Super Thanks ในไทย
  • ปี 2566: ขยายโปรแกรมพาร์ตเนอร์ YouTube ในไทย ให้ครีเอเตอร์มีสิทธิ์เข้าร่วมโปรแกรมได้เร็วขึ้น เพื่อเข้าถึงฟีเจอร์การให้เงินสนับสนุนของแฟนๆ เช่น การเป็นสมาชิกของช่อง (Channel Membership) Super Chat และ Super Thanks ตลอดจนเปิดตัวฟีเจอร์เสียงหลายภาษา (Multi-language Audio)

ต่อยอด AI ในชุมชนครีเอเตอร์

นอกจากในแวดวงการทำงานจะได้ใช้ Gen AI กันแล้ว ในฝั่งของ YouTube ก็ได้ประกาศเปิดให้บริการฟีเจอร์ AI ในเวอร์ชันทดลองกับครีเอเตอร์บางรายก่อนที่จะเปิดให้บริการในวงกว้างภายในปีนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ“Drea m Screen” ที่ให้ผู้ใช้เพิ่มวิดีโอหรือภาพพื้นหลังลงใน Shorts ได้ง่าย ๆ ด้วยการพิมพ์ไอเดียลงในพรอมต์

เปิดผลสำรวจ คนไทยมอง YouTube อย่างไรในปี 2567

คุณศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย, Group Marketing Manager – YouTube, South East Asia และคุณมุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ YouTube ประเทศไทย และเวียดนาม

ทั้งนี้ นอกจากฟีเจอร์การใช้งานต่าง ๆ ที่มีให้บริการกับครีเอเตอร์แล้ว ยังมีผลสำรวจจากบริษัทวิจัยเกี่ยวกับการให้บริการของ YouTube ประเทศไทยด้วย ดังนี้

1. ผลสำรวจจาก Material พบว่า 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยรับชมวิดีโอทั้งแบบสั้นและแบบยาวบน YouTube

2. 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยระบุว่า YouTube Shorts ช่วยให้พวกเขาเจาะลึกในเนื้อหาและหัวข้อเฉพาะที่สนใจ

3. เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทหนังสือเสียงบน YouTube ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 90% เมื่อเทียบกับปี 2565

4. เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทศิลปะการต่อสู้แบบผสม (Mixed Martial Arts) ในไตรมาส 2 ของปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 140% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

5. Gen Z ในประเทศไทยนิยมฟังเพลงและดูคอนเทนต์เกมบน YouTube ส่วน Gen Y ชอบชมวิดีโอแบบยาวบน YouTube

6. ผลสำรวจของ Nielsen ระบุว่า Gen Z นิยมดู YouTube ในช่วงหลังเลิกเรียนหรือหลังเลิกงานเป็นเวลาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง

7. เทคโนโลยีที่ YouTube จะให้ความสำคัญและมีส่วนในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มในปีนี้คือ การนำเสนอแบบ Multi-Format และ AI Recommendation หรือการใช้ AI ในการแนะนำเนื้อหา และโฆษณา

8. ยอดการรับชม YouTube Shorts ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นมากกว่า 130% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

9. เวลาในการรับชมคอนเทนต์ประเภทเกมสวมบทบาทสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Rold-Playing Game : JRPG) ในไตรมาส 2 ของปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 600% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

10. เวลาในการับชมคอนเทนต์ของช่อง YouTube ในไทยกว่า 25% มาจากผู้ชมในต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่า 10 ปีของ YouTube ประเทศไทยมีการเติบโตและการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งภายใต้การเติบโตนี้ คนไทยในแต่ละเจเนอเรชันก็มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่พอสมควรเลยทีเดียว


แชร์ :

You may also like