HomeBig FeaturedGMM Music แจกสูตรโตบนโลก “ดิจิทัลสตรีมมิ่ง” ผ่าน 8 เคล็ดลับฉบับคนมี Data

GMM Music แจกสูตรโตบนโลก “ดิจิทัลสตรีมมิ่ง” ผ่าน 8 เคล็ดลับฉบับคนมี Data

แชร์ :


การเติบโตของอุตสาหกรรมดนตรีในยุคที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเฟื่องฟูมีเทคนิคหลายอย่างซ่อนอยู่ และหนึ่งในค่ายที่บอกว่าตนเองเติบโตอย่างมากในยุคดิจิทัลก็คือ GMM Music โดยคุณภาวิต จิตรกร ซีอีโอแห่ง GMM Music ได้เผยถึงการเติบโตเฉลี่ยที่มีสูงถึงปีละ 20% ว่า Data จากแพลตฟอร์มอย่าง YouTube มีส่วนช่วยอย่างมาก และสิ่งที่ GMM Music ได้จากการมี Data เหล่านั้น ก็คือ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. ความสามารถในการคาดการณ์อนาคต

คุณภาวิตได้กล่าวถึง ระบบหลังบ้านของ YouTube ที่ทำให้ GMM Music มองเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใครบ้าง ซึ่งทำให้ GMM เข้าใจภาพรวมได้มากขึ้น รวมถึงเรื่องของ Location ของฐานแฟนคลับ

สิ่งที่แพลตฟอร์มดิจิทัลทำได้อีกข้อคือ แบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีช่องเดียวแล้วให้คนกดติดตามเยอะ ๆ แต่แบรนด์สามารถแตกช่องออกไปได้ตามที่ต้องการ ซึ่งการทำเช่นนั้นทำให้ GMM Music ได้ Data ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

ปัจจุบัน GMM Music มีช่องระดับ Diamonds 3 ช่อง และช่องระดับ Gold อีก 12 ช่อง ส่วนจำนวน Subscribers ทั้งหมดมีมากกว่า 110 ล้านราย

2. Data จาก YouTube สู่การเคาะวัน “จัดคอนเสิร์ต”

“ทุกวันนี้ MV ที่ออกจาก GMM Music เราจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า MV นั้นจะมียอดการรับชมที่เท่าไร ภายในกี่วัน” – คุณภาวิต จิตรกร ซีอีโอ GMM Music

การคาดการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนำ Data ที่มีอยู่ มาประมวลผลด้วย AI มากไปกว่านั้น การเข้าใจในฐานแฟนคลับ ยังนำไปสู่การวางแผนจำหน่ายตั๋วคอนเสิร์ตของศิลปิน GMM ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถคาดการณ์ได้ว่า หากจัดคอนเสิร์ตของเป๊ก ผลิตโชค ในวันนี้ เวลานี้ จะมีแฟน ๆ เข้ามาจองตั๋วจำนวน 13,200 ใบ เป็นต้น

3. YouTube Shorts คือตัวช่วยในการเพิ่มยอดการรับชม

การใช้เครื่องมือที่หลากหลายก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเพิ่มโอกาสในการเติบโต ซึ่งน้องใหม่อย่าง YouTube Shorts คือเครื่องมือในการเพิ่มยอดการรับชมแบบออแกนิคที่คุณภาวิตกล่าวว่า สามารถเพิ่มได้ถึง 25% เลยทีเดียว

4. การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบรอบข้าง

นอกจากการใช้เครื่องมือที่มีให้ของแต่ละแพลตฟอร์มแล้ว การให้ความสำคัญกับส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น  หน้าโฮมเพจ การสร้าง Playlist, Search, การสร้าง Link จากเพลงฮิต ฯลฯ ลงในคอนเทนต์ยังช่วยเพิ่ม Organic View ได้ถึง 35% ด้วยเช่นกัน

คุณภาวิต จิตรกร ซีอีโอแห่ง GMM Music

5. ห้ามมองข้าม LongPlay

ความสำคัญของ LongPlay บนแพลตฟอร์ม Music Streaming ที่คุณภาวิตมองเห็นคือการเป็นแหล่งรายได้ที่ดีของแบรนด์ โดย GMM Music ได้ทำ LongPlay ไปมากถึง 7,500 ชิ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และสามารถสร้างรายได้จาก LongPlay ดังกล่าวคิดเป็น 8% ของรายได้รวมทั้งหมดที่ได้จาก YouTube

6. เพิ่มรายได้ผ่านคอนเทนต์ที่มีค่า CPM สูง

อีกหนึ่งเคล็ดลับของ GMM Music คือการให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่มีค่า CPM สูง ๆ (CPM คือต้นทุนที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายสำหรับการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง ระบบจะนับการแสดงโฆษณาทุกครั้งที่มีการแสดงโฆษณา) ซึ่งแบรนด์จะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากผู้ลงโฆษณาเมื่อโฆษณาปรากฏบนวิดีโอ ยิ่งผู้ลงโฆษณาจ่ายเพื่อแสดงโฆษณานั้นมากเท่าใด รายได้ของแบรนด์ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย CPM จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าผู้ลงโฆษณาคิดว่าวิดีโอและผู้ชมของแบรนด์นั้นมีคุณค่าเพียงใดต่อการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของตน

7. อย่าถอดใจ คอนเทนต์ที่อัปไปแล้วยังมีโอกาสเสมอ

ในจุดนี้ คุณภาวิตให้ทัศนะว่า คอนเทนต์ที่แบรนด์อัปโหลดขึ้นไปบน YouTube นั้นสามารถสร้างโอกาสให้กับทางค่ายได้เสมอ พร้อมยกตัวอย่างเพลงคนไม่เอาถ่าน ที่มีการผลักดันผ่าน Playlist ต่าง ๆ ผลก็คือภายในปีเดียว เพลงดังกล่าวมียอดวิวเพิ่มขึ้น 50 ล้านวิว หรือการจัดคอนเสิร์ตร่วมกันของแกรมมี่และอาร์เอสในปีที่ผ่านมา เพลงรักไม่ช่วยอะไรของคุณนัท มีเรีย มียอดการรับชมสูงขึ้นถึง 340% ในปีเดียวเช่นกัน

8. มัดรวมคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยม

สถิติหลังบ้านของ YouTube เช่น 100 คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือมียอด Engage สูงสุด ฯลฯ ช่วยให้แบรนด์มีความเข้าใจ และนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานต่อด้านการโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในกรณีของ GMM Music ที่พบว่า สามารถสร้าง Engagement เพิ่มขึ้น 40% หรือพบว่าทำยอดวิวได้มากขึ้น 163%

และทั้งหมดนี้ คือเคล็ดลับที่ GMM Music ยืนยันว่า สร้างการเติบโตได้จริง และช่วยให้อุตสาหกรรมดนตรียังคงเดินหน้าต่อไปได้ แม้จะไม่มีเทป หรือซีดีให้หาซื้อได้อย่างสะดวกเหมือนในอดีตก็ตาม


แชร์ :

You may also like