HomeFinancialกรุงศรีเปิดแผนธุรกิจฉบับใหม่ ตั้งเป้า”ธนาคารยั่งยืนแห่งภูมิภาค” – ยกระดับ Core Banking

กรุงศรีเปิดแผนธุรกิจฉบับใหม่ ตั้งเป้า”ธนาคารยั่งยืนแห่งภูมิภาค” – ยกระดับ Core Banking

แชร์ :

กรุงศรี ในเครือ MUFG เผยความสำเร็จปี 2023 รายได้เติบโตสามเท่า แตะ 32,929 ล้านบาท พร้อมประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ 2567 – 2569 หรือ Medium-term Business Plan (MTBP) 2024 – 2026 โดยตั้งเป้าเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนภายในปี 2569 อีกทั้งยังมีแผนดันโปรเจ็ค Jupiter เพื่อยกระดับ Core Banking ของธนาคาร และกลยุทธ์ One Retail ใช้ Data ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจ คาดปี 2024  มียอดสินเชื่อเติบโต 3 – 5 เท่า ด้านผู้บริหารคาดหวังรายได้จากต่างประเทศเติบโตเป็น 25% ในอีก 3 ปีข้างหน้า (จากปัจจุบันอยู่ที่ 14%)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ของธนาคารกรุงศรี และบริษัทในเครือว่า ตั้งอยู่บนหลัก 3 ประการ ได้แก่

  • เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • เป้าหมายด้านการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกัน
  • การสร้างการเติบโตให้ธุรกิจหลักของธนาคาร

สำหรับเป้าหมายด้านความยั่งยืน คุณเคนอิจิเผยว่า ทางธนาคารได้มีการจัดโครงการต่าง ๆ เช่น Krungsri Race to net zero โดยโครงการที่ริเริ่มขึ้นนี้สามารถลดขยะฝังกลบได้มากถึง 1.48 ล้านกิโลกรัมในปี 2023 หรือคิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึง 4,394 ตัน

นอกจากนั้น ผู้บริหารกรุงศรีระบุด้วยว่า จะเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2030 และให้การสนับสนุนลูกค้าในการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนด้วย โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา กรุงศรีมียอดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น 71,000 ล้านบาทจากฐานปี 2021

ภารกิจเชื่อมโยงอาเซียน

แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ หรือ MTBP 2024 – 2026 ยังระบุด้วยว่า แก่นหลักของแผนฉบับนี้คือเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน” ผ่านเครือข่ายของกรุงศรี และ MUFG ในปัจจุบันที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน โดยกรุงศรีมีบริษัทในเครือ กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว ที่ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 17 ล้านราย

ซึ่งจากเครือข่ายของ MUFG กรุงศรีสามารถเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค ผ่านการนำเสนอโซลูชันการจับคู่ธุรกิจแบบครบวงจรด้วยแพลตฟอร์ม Krungsri Business Link และบริการ Krungsri ASEAN Link ที่จะช่วยเชื่อมโยงลูกค้าธุรกิจชาวไทยกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายของธนาคารที่มีอยู่ในอาเซียนและญี่ปุ่นได้นั่นเอง ซึ่งผู้บริหารของกรุงศรีอย่างคุณดวงดาว วงค์พนิตกฤต กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร เผยว่า ธนาคารคาดหวังรายได้จากต่างประเทศจะเติบโตเป็น 25% ในอีก 3 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 14%

ดันโปรเจ็ค Jupiter ยกระดับ Core Banking

ความสำคัญข้อสุดท้ายของ MTBP ก็คือการยกระดับ Core Banking ผ่านโปรเจ็ค Jupiter โดยคุณดวงดาวระบุว่า โปรเจ็คดังกล่าวเป็นหนึ่งในงบลงทุนของธนาคารมูลค่า 15,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหลังจากโปรเจ็คดังกล่าวแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้าจะทำให้สถาปัตยกรรมและโครงสร้างทางเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารมีความซับซ้อนลดลง และทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ของธนาคารทำได้รวดเร็วขึ้น

นอกจากนั้นกรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ One Retail โดยการใช้ดาต้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ กรุงศรีจะขยายขีดความสามารถด้านธุรกรรมการเงินทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Banking as a Service โดยพัฒนาร่วมกับพันธมิตรจากทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการกับลูกค้าในทุกกลุ่ม ผ่านทุก Touchpoint ทั้งสาขา ออนไลน์ โมบายแอป และ Call Center

ความท้าทายของไทยในมุมของกรุงศรี

สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นั้น คุณเคนอิจิ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น จากการใช้จ่ายสาธารณะ นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยว และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ความท้าทายของประเทศไทยก็คือ สถานการณ์ทางการเงินที่ตึงตัว และปัญหาภัยแล้งที่อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สดใสอย่างที่ควรจะเป็น

กรุงศรีคาดว่าในปี 2567 เงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% และตั้งเป้าหมายของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.8-4.1% ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ราว 2.50-2.75% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost-to-income ratio) จะอยู่ในระดับ mid-40%

Source


แชร์ :

You may also like