HomeBrand Move !!e-Waste ไทยพุ่ง “ทรู คอร์ปอเรชั่น” เปิดโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ตั้งเป้ามุ่งสู่ Zero e-Waste to Landfill

e-Waste ไทยพุ่ง “ทรู คอร์ปอเรชั่น” เปิดโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ตั้งเป้ามุ่งสู่ Zero e-Waste to Landfill

แชร์ :

e-waste true dtac

คุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ทรู คอร์ปอเรชั่น โชว์ผลงานด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนเสาสัญญาณ ลดการใช้ไฟฟ้าองค์กร ล่าสุดเปิดตัวโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ จับมือพันธมิตรไทย – เทศ ตั้งเป้าเป็นองค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2573

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการเปิดตัวโครงการดังกล่าวว่า ทรูและดีแทคต่างเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายมือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่าล้านเครื่องต่อปี จึงมีความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ครบวงจร และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

นอกจากนั้น คุณมนัสส์ ยังได้เผยถึงสถิติที่นำไปสู่การเปิดตัวโครงการดังกล่าวด้วย เช่น

  • ปัจจุบัน โลกสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว 53.6 ล้านตัน และคาดว่าจะมีปริมาณแตะ 75 ล้านตันในปี 2030
  • โทรศัพท์มือถือมากกว่า 5,300 ล้านเครื่องจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • สำหรับประเทศไทย ปี 2022 มีการขายสมาร์ทโฟนมากถึง 16.7 ล้านเครื่อง
  • ในจำนวนนี้เป็นสมาร์ทโฟน 5G มากถึง 5.7 ล้านเครื่อง
  • สมาร์ทโฟนที่ขายในไทยได้กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วถึง 25,050 ตัน และมีเพียง 17 ตันเท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง
  • การรีไซเคิลมือถือหนึ่งเครื่องช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 12.6 กิโลกรัม และถ้าหากรีไซเคิลมือถือ 1 ล้านเครื่องจะเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถ 1,368 คันเป็นเวลา 1 ปี
  • วัสดุอย่างเช่น พลาสติกใช้เวลา 450 ปีในการสลายตัว แต่วัสดุอย่างเช่น แก้ว, ลิเธียม, นิกเกิล, ตะกั่ว, โคบอลต์ จะอยู่ในธรรมชาติตลอดไป ซึ่ง แก้ว คือวัสดุที่ใช้ผลิตหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ส่วนลิเธียม นิกเกิล, ตะกั่ว, โคบอลต์ ฯลฯ คือส่วนประกอบในแบตเตอรี่โทรศัพท์

จากข้อมูลที่กล่าวมา โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” จึงเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน มาทิ้งเพื่อให้ทางบริษัทนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี โดยจะมีการตั้งกล่องรับขยะ e-Waste ที่ ทรูช้อป, ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขาทั่วประเทศ

ในส่วนของพันธมิตรด้านการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์พบว่ามี TES ผู้นำด้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ที่ให้การสนับสนุนการขนส่ง e-Waste จากจุดรับทั่วประเทศร่วมจับมือด้วย

สำหรับผู้ที่นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง ณ จุดที่กำหนดไว้ ก็จะมีสิทธิพิเศษมอบให้ด้วย เช่น รับเครื่องดื่มฟรีที่ตู้เต่าบิน, อัปไซส์เครื่องดื่มฟรีที่ทรูคอฟฟี่ เป็นต้น (พาร์ทเนอร์ในโครงการนี้ประกอบด้วย ทรูคอฟฟี่, PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์)

ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ได้เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลก สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2573 รวมถึงเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้แล้วทุกชิ้น จะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแน่นอน”

Source


แชร์ :

You may also like