HomeSponsoredCIRCULAR x PTG ตั้งจุดแยกขยะพลาสติก-เสื้อผ้าในปั๊มพีที นำไปรีไซเคิลเป็น “เสื้อรักษ์โลก”

CIRCULAR x PTG ตั้งจุดแยกขยะพลาสติก-เสื้อผ้าในปั๊มพีที นำไปรีไซเคิลเป็น “เสื้อรักษ์โลก”

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แม้ทุกวันนี้คนจะหันมาใช้ถุงผ้ากันมากขึ้น และซื้อเสื้อผ้าใหม่น้อยลง แต่ “ขยะพลาสติก” และ “ขยะสิ่งทอ” ยังคงเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งเกิดจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังทิ้งขยะเหล่านี้ลงถังขยะทั่วไป ประกอบกับพลาสติกและสิ่งทอเหล่านี้ใช้เวลาย่อยสลายนาน จึงก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมตามมา ดังนั้น หากเราคัดแยกขยะเหล่านี้ก่อนทิ้งอย่างถูกวิธี และสามารถนำขยะเหล่านั้นกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ก็จะเป็นอีกเป็นทางที่ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกและสิ่งทอให้กับโลกใบนี้ได้มากขึ้น

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่ใช่ทุกสถานที่จะมีถังแยกประเภทขยะเสมอไป จึงทำให้ “บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)” หรือ “PTG” ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมัน PT และแบรนด์เสื้อผ้ารีไซเคิลอย่าง “CIRCULAR” ติดตั้งจุดบริการรับขยะพลาสติกและสิ่งทอในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดูแลดูแลสิ่งแวดล้อมจากจุดเล็กๆ ใกล้ตัวไปพร้อมกัน ตามมาดูเบื้องหลังวิธีคิดและความร่วมมือกันในครั้งนี้จาก “คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการและ “คุณวัธ” ผู้บริหารแบรนด์ SC GRAND และเสื้อผ้าแฟชั่น CIRCULAR กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด กันอย่างเจาะลึก

จากขยะไร้ค่า รีไซเคิลสู่เสื้อรักษ์โลก

การขับเคลื่อนธุรกิจแบบยั่งยืน (Sustainability) กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของทุกองค์กรธุรกิจ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจยุคนี้ หากเติบโตแค่คนเดียว แต่คนตัวเล็กๆ ในชุมชน สังคม รวมถึงโลกใบนี้ไม่รอด ธุรกิจคงไม่สามารถเติบโตไปได้ไกลและยั่งยืน ทำให้ตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเมื่อ 35 ปีที่แล้ว นอกจาก PTG จะเร่งเครื่องขยายธุรกิจไม่หยุดทั้งสถานีบริการน้ำมันและธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

เพราะคุณพิทักษ์เชื่อว่า สิ่งนี้คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้ PTG เติบโตอย่างยั่งยืน การสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมจึงเกิดขึ้นและทำมาต่อเนื่อง ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่หนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์คือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ที่เริ่มจากการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงภายในสถานีบริการน้ำมัน PT รวมถึงทำจุดแยกขยะจากพลาสติกเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปคัดแยกต่อไป จนผู้คนนำเอาขวดพลาสติกมาฝากทิ้งเป็นจำนวนมาก ทั้งยังนำเสื้อผ้าเก่ามาฝากทิ้งเพิ่มด้วย

คุณพิทักษ์จึงกลับมาคิดว่าจะจัดการกับขยะพลาสติกและสิ่งทอที่มีจำนวนมากนี้อย่างไร จนเกิดไอเดียที่จะนำขยะเหล่านี้มารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพราะมองว่าวิธีนี้ไม่เพียงจะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับขยะไร้ประโยชน์ได้ด้วย จนได้มาเจอกับ CIRCULAR ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรีไซเคิลมากกว่า 55 ปี โดยนำเสื้อผ้าเก่าและขยะพลาสติกมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลจนกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ จึงตัดสินใจพัฒนาโปรเจ็ค “Closed-Loop” ร่วมกัน

“Fast Fashion เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญของการเกิดขยะสิ่งทอ เพราะกว่าที่เสื้อผ้า 1 ตัวจะผลิตมาได้ต้องสูญเสียทรัพยากรไปมากมายในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นน้ำ หรือสารเคมี ส่วนพลาสติก ก็มีส่วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน เพราะผลิตจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน แทนที่ขยะเหล่านี้จะถูกทิ้งอย่างไร้ค่า และสร้างผลกระทบให้ธรรมชาติมากมาย เรานำมารีไซเคิลเป็นสินค้าใหม่ดีกว่า เพราะเป็นการหมุนเวียนนำทรัพยากรมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยลดของเสียสู่สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น”

หวังคนรุ่นใหม่แยกขยะให้ถูกวิธี จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ทุกคนลงมือทำได้

คุณวัธ บอกว่า หลังจากได้รับการติดต่อจาก PTG รู้สึกดีใจและยินดีมาก เพราะโปรเจค Closed-Loop ที่ผ่านมา องค์กรส่วนใหญ่จะนำยูนิฟอร์มเก่าที่ไม่ใช้งานแล้วมารีไซเคิลเป็นสินค้าใหม่ เช่น เสื้อยืด เสื้อโปโล และหมวก แต่สิ่งที่ทำให้โปรเจคนี้แตกต่างออกไปคือ การนำ “ขวดพลาสติกเหลือใช้” มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตสินค้าใหม่ และไม่ได้เป็นการนำยูนิฟอร์มเก่ามารีไซเคิลเหมือนที่ผ่านมา แต่จะมาจากเสื้อผ้าเก่าๆ ที่อยู่ในตู้ของแต่ละบ้าน

โดย PTG จะติดตั้งจุดดรอปขยะพลาสติกและเสื้อผ้าเก่าภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ซึ่งเบื้องต้นนำร่อง คือ สาขา PT Max park ศาลายา เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่มาใช้บริการสถานีบริการน้ำมันสามารถนำขวดพลาสติกและเสื้อผ้าเก่าในตู้ที่ไม่ใช้แล้วมาดรอปที่สถานีบริการน้ำมัน PT จากนั้น PTG จะรวบรวมขยะเหล่านี้ ส่งต่อให้ CIRCULAR เพื่อนำไปรีไซเคิลให้เห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ นั่นคือ ผลิตเป็นเสื้อใหม่ที่ใส่ได้จริง และมอบให้กับเด็กๆ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย

“เสื้อรักษ์โลกจากขยะพลาสติกและสิ่งทอ นอกจากจะสวยงามและทนทานแล้ว สีและเท็กเจอร์บนเสื้อยังมีคาแรคเตอร์ของเสื้อผ้าเก่าอยู่ด้วย ทำให้เสื้อแต่ละตัวมีเฉดสีไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสน่ห์ของผ้ารีไซเคิลที่ไม่ผ่านการใช้สารเคมี หรือกระบวนการฟอกย้อม”

แม้ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะเป็นก้าวเล็กๆ ในการดูแลสิ่งแวดล้อม แต่คุณพิทักษ์ หวังว่า โปรโจคนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปลูกฝังให้เด็กๆ มีความรู้เรื่องการจัดการกับขยะจากพลาสติกและสิ่งทออย่างถูกวิธีก่อนทิ้ง ทั้งยังสร้าง Awareness ให้เห็นว่า เสื้อผ้าที่เราใส่กันทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องผลิตจากวัตถุดิบใหม่เสมอไป เหมือนกับเสื้อผ้าที่น้องๆ ได้รับ และเมื่อเด็กๆ เหล่านี้เติบโตขึ้น พวกเขาสามารถจะเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือก หรือนำขยะจากพลาสติกและสิ่งทอที่ไม่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นเสื้อใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้โลกมีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับคนรุ่นต่อไป

โดยในอนาคต PTG มีแผนจะผลักดันให้ทุกสถานีบริการน้ำมัน PT กว่า 1,700 สาขาทั่วประเทศ มีจุดดรอปขวดพลาสติกและเสื้อผ้าเก่า รวมถึงต่อยอดนำเอาระบบเก็บคะแนนในการคัดแยกขยะของพนักงานหรือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในสถานี เมื่อถึงเกณฑ์คะแนนที่กำหนด อาจจะมีรางวัล หรือส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทในเครือ เพื่อกระตุ้นให้คนตื่นตัวและจัดการขยะจากพลาสติกและสิ่งทออย่างถูกวิธีมากขึ้น

เช่นเดียวกับคุณวัธที่อยากเห็นคนรุ่นใหม่และองค์กรต่างๆ หันมาตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ด้วยการนำแนวคิด Reduce, Reuse และ Recycle มาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเซฟโลกใบนี้ให้กลับมาน่าอยู่อีกครั้ง

ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและตอกย้ำให้ทุกคนเห็นว่า การช่วยโลกสามารถเริ่มต้นจากก้าวๆ เล็กใกล้ตัวเราได้ เพียงทุกคนจัดการกับขวดพลาสติกเหลือทิ้ง หรือเสื้อผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี และหากทุกคนช่วยกันคนละไม้ละมือ และทำอย่างจริงจังจนกลายเป็นนิสัย ก้าวเล็กๆ ที่ว่านี้อาจจะต่อยอดกลายเป็นอิมแพ็กที่ใหญ่ขึ้นให้กับโลกใบนี้ได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่อยากเห็นการแปลงร่างของขยะพลาสติกและเสื้อผ้าเก่าสู่เสื้อรักษ์โลก สามารถชมคลิปวิดีโอแบบเต็มๆ กันได้ที่


แชร์ :

You may also like