HomeBrand Move !!“ทรูคอฟฟี่” Rethink โมเดลธุรกิจจาก “ร้านกาแฟ” สู่ “FMCG” ผนึกค้าปลีกเครือซีพี – เล็ง IPO 3 ปีข้างหน้า

“ทรูคอฟฟี่” Rethink โมเดลธุรกิจจาก “ร้านกาแฟ” สู่ “FMCG” ผนึกค้าปลีกเครือซีพี – เล็ง IPO 3 ปีข้างหน้า

แชร์ :

เมื่อ 15 ปีที่แล้ว “กลุ่มทรู” (True Corporation) ได้ขยายจากธุรกิจโทรคมนาคม ไปสู่ธุรกิจร้านกาแฟ ในชื่อ “TrueCoffee” (ทรูคอฟฟี่)​ ภายใต้การดำเนินงานของ “บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด” เพื่อซัพพอร์ตผลิตภัณฑ์ และบริการของกลุ่มทรู รวมทั้งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าใช้บริการที่ทรูช้อป

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กระทั่งทุกวันนี้ “TrueCoffee” กลายเป็นเชนร้านกาแฟที่มี 100 สาขา และจากยุคแรกเริ่มของการปลุกปั้นธุรกิจนี้ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าทรูโดยเฉพาะ ขณะที่ปัจจุบันฐานลูกค้า “TrueCoffee” กว้างขึ้น โดยมีทั้งลูกค้าทรู ซึ่งปัจจุบันทรูมีฐานลูกค้า 30 ล้านราย และลูกค้าที่ไม่ใช่กลุ่มทรู

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ COVID-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สร้างผลกระทบกับธุรกิจร้านอาหาร และคาเฟ่อย่างหนักที่อยู่ในสภาวะปิด-เปิด ปิด-เปิด ซึ่ง “TrueCoffee” ก็เป็นหนึ่งในเชนร้านกาแฟที่ถูก Disrupt จากการแพร่ระบาดเช่นกัน

ทำให้ต้อง “Rethink” โมเดลธุรกิจใหม่ ที่ไม่ยึดติดกับการเป็นแค่ “ร้านกาแฟ” เท่านั้น พร้อมไปกับการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 15 ปี

ด้วยการต่อยอดจาก Asset ที่ตัวเอง และจุดแข็งที่นับว่าเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขัน นั่นคือ การอยู่ในเครือซีพี ซึ่งมี Retail Network ทั่วประเทศ มาพัฒนาเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่คือ Delivery Business และ FMCG Business

TrueCoffee Shop

“เดิมทีเราทำร้านกาแฟอย่างเดียว แต่ในช่วง 2 ปีนี้ ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เราต้อง Rethink ค่อนข้างเยอะ เราจะทำอย่างไรกับร้านกาแฟ เพราะที่ผ่านมาหน้าร้านต้องปิดให้บริการหลายเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างบังคับให้เราต้อง Relocate เรื่องของ Distribution โดยเห็นโอกาสใน 2 เรื่องคือ

1. บริการ Delivery และโมเดล O2O จากเดิมไม่ได้ให้บริการ Delivery แต่ในช่วง 2 ปีนี้ TrueCoffee ได้เริ่มให้บริการ Delivery ขณะเดียวกันได้พัฒนาโมเดลการขาย O2O ผ่านแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน TrueCoffee เช่น ฟีเจอร์ Order & Pay, ฟีเจอร์ Subscription

2. ขยายสู่ธุรกิจ FMCG ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม พร้อมทั้งใช้จุดแข็ง Logistic Ecosystem ทั้งของ TrueCoffee และช่องทางการขายในเครือซีพี เพื่อกระจายสินค้าครอบคลุมตั้งแต่ตู้ Vending Machine, ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงสาขาร้าน TrueCoffee” ดร.ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอาหารและคอฟฟี่ เฮาส์ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด เล่าถึงการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่

TrueCoffee Application

 

ลุยตลาด “FMCG” ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น นำแบรนด์ทรูเข้าไปอยู่ทุกโอกาสการรับประทาน-ดื่มของผู้บริโภค

การขยายสู่ตลาด “FMCG” ของ TrueCoffee จะลุยกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งรูปแบบ Chilled Food – Frozen Food และกลุ่มเครื่องดื่ม โดยสินค้าที่ออกมานั้น มุ่งเจาะผู้บริโภค 5 เซ็กเมนต์ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าใหญ่ของกลุ่มทรูอยู่แล้ว ประกอบด้วย

1. กลุ่มเล่นกีฬา หรือกลุ่มแอคทีฟ เป็นกลุ่มใหญ่สุด

2. กลุ่มความงาม

3. กลุ่มท่องเที่ยว

4. กลุ่มเกมเมอร์

5. ธุรกิจสตาร์ทอัพ 

– สินค้าในกลุ่ม FMCG แรกขยายออกนอกร้านทรูคอฟฟี่คือ “TrueCoffee Cup” กาแฟเย็นพร้อมดื่ม จำหน่ายในราคา 39 บาท เริ่มวางจำหน่ายเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทั้งในร้าน TrueCoffee และเซเว่น อีเลฟเว่น และเชนร้านสะดวกซื้อ – ซูเปอรมาร์เก็ตต่างๆ

เหตุผลของการทำ TrueCoffee Cup กาแฟเย็นพร้อมดื่ม มาจาก 2 จุดประสงค์คือ

1. ต่อยอดจาก Asset ของร้าน TrueCoffee ที่มีอยู่แล้ว นั่นคือ เครื่องดื่มกาแฟที่เป็น Signature มา Repackaging ใหม่ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่ม และใช้จุดแข็งด้าน Channel Distribution กระจายสินค้าให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ทั้งในร้าน TrueCoffee เอง ไปจนถึงตู้จำหน่ายอัตโนมัติ และเครือข่ายช่องทางการขายเครือซีพี โดยเฉพาะเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ เพราะ 95% ของกาแฟพร้อมดื่มตัวนี้ ขายผ่านเซเว่นฯ

2. ใช้เป็น Product Placement ของการรีแบรนด์ดิ้ง TrueCoffee ที่มีการเปลี่ยนโลโก้ใหม่ เพราะฉะนั้นการผลักดันสินค้าเข้าสู่เชลฟ์ช่องทางการขายที่มีทั่วประเทศ จะเป็น Touch Point ในการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการรีแบรนด์ พร้อมไปกับการสร้างประสบการณ์กาแฟทรูที่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ

ดร.ปพนธ์ เล่าว่าปัจจุบันกาแฟ TrueCoffee Cup มียอดขาย 3 ล้านแก้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดในเซ็กเมนต์กาแฟพร้อมดื่ม ราคา 30 บาทที่จำหน่ายในช่องทางเซเว่น อีเลฟเว่นอยู่ที่ 25% โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2564 จะมียอดขาย 4 ล้านแก้ว

TrueCoffee_FMCG

– ล่าสุดเปิดตัว “True Vitamin Water” (ทรู วิตามิน วอเตอร์)​ โดยเป็นเครื่องดื่มผสานระหว่าง Health Benefit กับ Energy Drink

แม้ทุกวันนี้ตลาด Functional Drink จะแข่งขันกันดุเดือด หนึ่งในนั้นคือ เซ็กเมนต์วิตามิน วอเตอร์ แต่เหตุผลที่ทรูคอฟฟี่ เลือกลงเครื่องดื่มเซ็กเมนต์นี้ เนื่องจาก

1. เป็นเครื่องดื่มที่ Match กับความต้องการของลูกค้ากลุ่มทรูใน 5 เซ็กเมนต์

2. เป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในแผนเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ทรูเคยคิดจะทำตลาด แต่เวลานั้นเมื่อศึกษาพิจารณาแล้ว เลือกทำตลาดกาแฟ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มอันดับ 2 ที่คนดื่มมากที่สุดในโลก และสามารถสร้าง Engagement ให้กับทรูได้มากกว่า

มาวันนี้ เมื่อขยายโมเดลธุรกิจให้บริษัท “ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล” (True Lifestyle Retail) เป็นมากกว่าการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ TrueCoffee จึงตัดสินใจส่งผลิตภัณฑ์ True Vitamin Water” (ทรู วิตามิน วอเตอร์)​ สินค้า FMCG ตัวที่สองเข้ามาแข่งขันในตลาด

True Vitamin Water_FMCG

แม้จะมาทีหลัง แต่สิ่งที่ทำให้ ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล มั่นใจว่าจะผลักดันให้ True Vitamin Water แจ้งเกิดได้คือ ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง นั่นเพราะ

1. ใช้ความได้เปรียบของการมีฐานลูกค้าทรู 30 ล้านคน

2. ความพร้อมของการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางการขาย ตั้งแต่ตู้ Vending Machine ที่ของบริษัทพัฒนาขึ้นเอง ร้านสาขา TrueCoffee 100 สาขา ไปจนถึงช่องทางในเครือซีพีอย่างเซเว่น อีเลฟเว่น กว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศ

3. แพลตฟอร์ม Digital Payment ในเครือทรู “True Money Wallet” และระบบ True Point ที่สามารถนำมาทำโปรโมชั่นการซื้อ และสะสมพอยท์ร่วมกันได้

ถ้าเราเข้าไปเป็นวิตามิน วอเตอร์อย่างเดียว จะเป็น Me too Product ดังนั้นเราจะตอบโจทย์ตลาดของเราที่มีฐานลูกค้า 5 เซ็กเมนต์ โดยศึกษาพบว่าลูกค้าอยากได้เครื่องดื่มที่ทำให้เขาสดชื่น มีพลัง ขณะเดียวกันก็อยากได้เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพด้วย เราเลยผสมผสานระหว่าง Energy กับ Health Conscious

ประกอบกับเรามีฐานลูกค้าใหญ่ และมี Logistic Ecosystem แข็งแรง ทำให้ซัพพลายเชนสินค้า FMCG ของเรา แตกต่างจากแบรนด์อื่นที่ไปถึงแค่ร้านสะดวกซื้อ แต่ของเรากระจายสินค้าตั้งแต่เครื่อง Vending Machine  ร้านสาขา TrueCoffee 100 สาขา ไปจนถึงช่องทางในเครือซีพีอย่างเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ ทำให้เราสามารถกระจายสินค้าจากการผลิตล็อตแรก จำนวน 3 ล้านขวดได้ และยังมี True Ecosystem ที่มีทั้ง True Money Wallet รวมถึง True Point เป็นตัวที่จะดันสินค้าออกจากเชลฟ์ได้”  

True Lifestyle Retail_TrueCoffee

ดร.ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอาหารและคอฟฟี่ เฮาส์ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด

– เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งรูปแบบ Chilled Food และ Frozen Food โดยวางแผนจำหน่าย “Plant-based Food” สอดรับกับวิสัยทัศน์ด้าน Sustainability ขององค์กร

นอกจากนี้ในปี 2565 เตรียมออกกาแฟพร้อมดื่ม TrueCoffee Cup เพิ่มอีก 3 รสชาติ และเครื่องดื่มวิตามิน วอเตอร์รสชาติใหม่

TrueCoffee

 

ตั้งเป้า IPO อีก 3 ปีข้างหน้า  

สำหรับรายได้ปี 2564 ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ต้องล็อกดาวน์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปิดร้าน TrueCoffee ส่งผลให้ปีนี้ รายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้

โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 400 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 500 ล้านบาท แบ่งเป็น

– ยอดขายจากร้าน TrueCoffee 70%

– ยอดขายจาก Delivery 15%

– ยอดขาย FMCG 15%

TrueCoffee

หลังจากที่ขยายโมเดลธุรกิจ เป็นมากกว่าร้านกาแฟแล้ว เป้าหมายใหญ่ต่อไปของ “ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล” คือ การนำบริษัท IPO ในตลาดหลักทรัพย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือในช่วงปี 2568 เมื่อถึงวันนั้น TrueCoffee วางเป้าหมายมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้จะปรับเปลี่ยนเป็น

– ร้าน TrueCoffee 40%

– FMCG 40%

– Delivery 20%

“เป้าหมายของทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล ถ้ายังเป็นร้านกาแฟ ก็ต้องแข่งกับร้านกาแฟ แต่ Purpose ของเราคือ เรามีความฝันว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า เราอยากนำบริษัทฯ เข้าสู่ IPO ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้คนไทยรัก TrueCoffee และเป็นเจ้าของร่วมกันได้” ดร.ปพนธ์ สรุปทิ้งท้ายถึงเป้าหมายในอนาคต

True Vitamin Water_FMCG


แชร์ :

You may also like