HomeSponsored“บสย. F.A. Center” ฮีโร่กอบกู้ธุรกิจ SMEs ช่วยเหลือเงินทุนและความรู้ต่อยอดธุรกิจ

“บสย. F.A. Center” ฮีโร่กอบกู้ธุรกิจ SMEs ช่วยเหลือเงินทุนและความรู้ต่อยอดธุรกิจ

แชร์ :

ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง (SMEs) ที่มีกว่า 3.1 ล้านราย เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ สสว. พบว่า SMEs ครองสัดส่วนกว่า 90% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ ทั้งมีการจ้างงานสูงกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมด และสร้างรายได้เป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ของ GDP ทั้งประเทศ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ที่ผ่านมา SMEs ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งขาดเงินทุน นวัตกรรม และความรู้ด้านการบริหารการเงิน ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาด กระทั่งวิกฤตโควิด-19 เกิดขึ้น ยังมาซ้ำเติมปัญหาเดิมให้หนักขึ้นไปอีก จากเงินทุนในกระเป๋าที่มีน้อย ก็ลดน้อยลงไปกว่าเดิมจนธุรกิจขาดสภาพคล่อง แต่ก็ต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้

“การขอสินเชื่อเพื่อดำเนินธุรกิจ” จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการ ทว่าหลายคนที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อาจกังวลว่าจะโดนปฏิเสธจากธนาคาร ทั้งที่จริงแล้ว ธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ไม่ยาก เพราะปัจจุบันนอกจากธนาคารหลายแห่งจะมีบริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีหน่วยงานที่คอยช่วยผู้ประกอบการให้เข้าถึงสินเชื่อ แถมมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและเติมความรู้ทุกเรื่องธุรกิจ เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยเฉพาะในสถานการณ์ยากลำบากนี้ หนึ่งในนั้นคือ บสย. F.A. Center จาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ “บสย.” ตามมาทำความรู้จัก บสย. และ บสย. F.A. Center ว่าคืออะไรให้มากขึ้น

จากนายประกัน สู่การเป็น “Financial Advisor”

บสย. เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมากว่า 30 ปี เนื่องจากตอนนั้นมีผู้ประกอบการจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้หลายกิจการที่มีศักยภาพ ไม่มีโอกาสแจ้งเกิด บสย. จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่าง “ผู้ประกอบการ” กับ “สถาบันการเงิน” ด้วยการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือหลักประกันไม่พอให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินได้ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา บสย. ค้ำประกันสินเชื่อไปกว่า 1.5 แสนล้านบาท ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ค้ำประกันสินเชื่อไปกว่า 1.7 แสนล้านบาท

แต่ในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน และปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้ ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคยังเปลี่ยน แปลงไป ทำให้ คุณวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บอกว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันย่อมไม่ง่ายเหมือนเดิม และปัญหาของ SMEs อาจจะไม่ได้ขาดสภาพคล่องและต้องการแค่สินเชื่ออย่างเดียว แต่บางคนติดเรื่องระบบบัญชี ขาดความรู้เรื่องตลาด การบริหารต้นทุนทางการเงิน และการนำนวัตกรรมมาต่อยอดธุรกิจเดิมให้มีรายได้ จึงทำให้ผู้ประกอบการแทบทุกกลุ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา

“ธุรกิจ SMEs เป็นเสมือนน็อตตัวเล็กๆ ที่ช่วยผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เติบโต แต่โควิด-19 ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก คนที่ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ จะกระทบค่อนข้างหนัก เพราะส่งผลให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจนต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก”

คุณวสุกานต์ ฉายภาพผลกระทบที่เกิดขึ้น และเป็นที่มาให้ บสย. ขยายบทบาทการทำงานให้สอดรับความต้องการของ SMEs  รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนอกจากบทบาทเรื่องการค้ำประกันสินเชื่อแล้ว ยังเปิด “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs” หรือ “บสย. F.A. Center” เพื่อเป็นเพื่อนคู่คิด SMEs ทั้งให้คำปรึกษาทางการเงินและเติมความรู้ทุกด้านให้แก่ผู้ประกอบการและทุกประเภทธุรกิจ

ไม่ใช่แค่ศูนย์อบรม แต่เติมทุน เสิร์ฟความรู้เพื่อคนตัวเล็ก

ศูนย์แห่งนี้จะเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านการเงินที่คอยให้คำแนะนำเรื่องการขอสินเชื่อกับธนาคาร รวมถึงดูแลทุกด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่มีประสบการณ์จากธนาคารชั้นนำมากว่า 30 ปี และไม่ใช่แค่ให้ผู้ประกอบการมาอบรมเท่านั้น แต่จะลงไปศึกษาธุรกิจลูกค้าแบบเจาะลึก เพื่อให้เห็นปัญหาและแก้โจทย์ธุรกิจได้ตรงจุด ขณะเดียวกันยังฝึกอาชีพและอัปเดตเทรนด์ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้

3 ธุรกิจที่มาแรงในช่วง 1-2 ปี คือ 1.ธุรกิจ Food Delivery ซึ่งมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้คนออกจากบ้านน้อยลง ประกอบกับมาตรการห้ามนั่งกินอาหารในร้าน ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบมาให้บริการแบบ Take Away หรือสั่งกลับบ้าน 2.ธุรกิจ E-commerce เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น และ 3.ธุรกิจอาหารแบบ Meal Kit หรือการขายชุดวัตถุดิบอาหารให้ลูกค้าไปทำกินเองที่บ้าน เป็นธุรกิจที่ช่วยให้ผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปเจอผู้คน หรือคนที่อาจไม่มีทักษะในการประกอบอาหารให้สามารถทำอาหารที่มีอร่อยคล้ายกับที่ร้านทำได้

ปัจจุบัน บสย. F.A. Center เปิดให้บริการมากว่า 1 ปีแล้ว ให้คำปรึกษาและช่วยให้ผู้ประกอบการไปต่อได้กว่า 1,200 ราย ซึ่งจากสถิติการเข้ารับคำปรึกษา พบว่า 3 ปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการเข้ารับคำปรึกษามากที่สุดคือ  1.ปัญหาการเงิน โดยขาดเงินทุนหมุนเวียน 2. ค้าง ชำระหนี้ ต้องการแก้หนี้ปรับโครงสร้างหนี้ และ 3.ต้องการพัฒนาธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ต้องการสินเชื่อเพิ่ม ทั้งสินเชื่อใหม่และขอสินเชื่อเพื่อชำระสินเชื่อเดิม รวมถึงขอสินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และขยายกิจการ

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่กำลังเผชิญปัญหาทางธุรกิจ และไม่รู้จะเริ่มแก้อย่างไร บสย. F.A. Center ถือเป็นทางออกหนึ่ง โดยผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการ เพียงโทร. เข้ามาที่ บสย. จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดหมายเข้ามาพูดคุยกับที่ปรึกษา ซึ่งไม่เพียงจะช่วยผู้ประกอบการในเรื่องค้ำประกันให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยเติมความรู้ทางการเงินและธุรกิจให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจจนเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

ดังเช่นกรณีผู้ประกอบการธุรกิจรถตู้นำเที่ยว เดิมทีมีรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยว เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด–19 ทำให้ขาดรายได้ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว บสย. F.A. Center จึงแนะนำให้ปรับธุรกิจมารับงานส่งของอื่นๆ เพิ่มเติมเป็นอาชีพเสริม  หรือธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ญี่ปุ่น ที่ต้องเผชิญกับนโยบายห้ามนั่งกินในร้าน  ร้านจึงปรับรูปแบบการขายเป็นเดลิเวอรี และบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เหมาะสม ทำให้วันนี้ร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งนี้สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องกู้สินเชื่อ

นี่เป็นเพียงหนึ่งในกรณีศึกษาของผู้ประกอบการที่เข้ามารับคำปรึกษากับ บสย. F.A. Center ซึ่ง คุณวสุกานต์ เชื่อว่า การเติม “ทุน” และ “ความรู้” จะสามารถช่วยให้ SMEs เข้มแข็ง และลุกขึ้นมาเป็นน็อตตัวเล็กๆ ที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต่อไป ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาตัวช่วยจัดการทางการเงินเพื่อช่วยให้ธุรกิจมีแรงสู้และเดินหน้าต่อท่ามกลางภาวะยากลำบากนี้ สามารถติดต่อ บสย. F.A. Center ได้ที่ 02–890-9999 ทุกวันจันทร์-ศุกร์เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

และติดตามข้อมูลข่าวสาร บสย. ได้ทางเว็บไซต์ www.tcg.or.th , Line@หมอหนี้: @doctor.tcg และ facebook บสย.


แชร์ :

You may also like