HomeCOVID-19แบงค์ชาติหั่น GDP ไทยเหลือ 0.7% โตต่ำสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แบงค์ชาติหั่น GDP ไทยเหลือ 0.7% โตต่ำสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แชร์ :

เศรษฐกิจไทยน่าห่วง หลังมีการเปิดตัวเลขคาดการณ์ GDP ปี 2021 พบประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตของ GDP ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสิงคโปร์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ข้อมูลการเติบโตของเศรษฐกิจไทย อ้างอิงจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ และยังมีความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน คือ การเร่งควบคุมการระบาดและกระจายวัคซีน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนและเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้กลับมาขยายตัว

คาด GDP โต 0.7%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า มีแนวโน้มขยายตัว 0.7% และ 3.7% ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โดยปรับลดลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมาก และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า

นอกจากนั้นยังมีกรณีของตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินล่าสุด และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดี แม้ภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากการระบาดในโรงงาน และการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราวก็ตาม

ไทยโตน้อยสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน

สำหรับข้อมูลตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย

  • อินโดนีเซียคาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ปีนี้จะอยู่ที่ 3.8% (ข้อมูลจากรอยเตอร์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม)
  • มาเลเซียคาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ปีนี้จะอยู่ที่ 4% (ข้อมูลจาก Bloomberg วันที่ 12 กรกฎาคม)
  • สิงคโปร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ปีนี้จะอยู่ที่ 6.7% (ข้อมูลจาก Bloomberg วันที่ 4 สิงหาคม)
  • ฟิลิปปินส์คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ปีนี้จะอยู่ที่ 5.2% (ข้อมูลจาก Bloomberg วันที่ 4 สิงหาคม)
  • เวียดนามคาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ปีนี้จะอยู่ที่ 6.2% (ข้อมูลจาก Bloomberg วันที่ 4 สิงหาคม)

ด้านคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยด้วยว่า มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมาก โดยมาตรการสาธารณสุขควรเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดยืดเยื้อ

มาตรการการคลังควรเร่งเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ โดยดูแลตลาดแรงงานและภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในจุดที่เปราะบางอย่างเพียงพอและทันการณ์ นโยบายการเงินต้องสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง สำหรับมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อควรเร่งปรับปรุงให้มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและลดภาระหนี้ อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เห็นผลในวงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like