HomeDigitalขยับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย Mitsubishi Electric จับมือ AIS 5G-TKK แจ้งเกิด Factory Automation

ขยับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย Mitsubishi Electric จับมือ AIS 5G-TKK แจ้งเกิด Factory Automation

แชร์ :

smart factory ais mitsu

ต้องยอมรับว่าในช่วงนี้ มีการจับมือและเปิดตัวพาร์ทเนอร์เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเป็นการร่วมมือของ Mitsubishi Electric, AIS 5G และ TKK ในการพัฒนา Factory Automation Remote Solution ด้วย 5G Smart Manufacturing ออกมาให้ภาคอุตสาหกรรมบ้านเราได้ปรับตัวกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สิ่งที่น่าสนใจอาจเป็นการให้สัมภาษณ์ของคุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ที่มองว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องยกระดับสายการผลิตในวงการอุตสาหกรรม และสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้าน Factory Automation อย่างแท้จริงได้แล้ว เพราะสองสิ่งนี้จะผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทข้ามชาติได้ และช่วยดึงไม่ให้พวกเขาย้ายฐานการผลิตยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า

คุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ประเทศไทย จำกัด (1)

คุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ประเทศไทย จำกัด

แต่การเดินหน้าสร้าง Factory Automation ต้องมีพาร์ทเนอร์ ล่าสุดทางค่าย Mitsubishi Electric จึงจับมือกับ AIS ผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ของไทย และบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม มาร่วมพัฒนาโซลูชั่น e-F@ctory ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต

ยกระดับอุตสาหกรรมไทยด้วย e-F@ctory บน 5G

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถให้กับภาคอุตสาหกรรมบนโครงข่าย 5G ของ AIS ให้เข้าใช้งานระบบ Factory Automation ของ Mitsubishi Electric ภายใต้ความเชี่ยวชาญของบริษัท TKK ในการพัฒนาระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งนอกจากโรงงานจะได้ใช้โซลูชั่น Factory Automation ที่เป็นพื้นฐานแล้ว ยังมีอีกหลายโซลูชันที่ตอบสนองการทำงานที่แตกต่าง และเหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 ที่การทำงานแบบระยะไกลมีความสำคัญมากขึ้น เช่น

· Remote Monitoring – จะช่วยให้ ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือ ผู้ดูแลเครื่องจักร สามารถตรวจสอบสถานะการผลิต สถานะเครื่องหรือ ประสิทธิภาพการผลิต ได้จากทุกที่ ทำให้สามารถบริหารจัดการการผลิตในภาพรวมได้ชัดเจน และยังมองเห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อแก้ไขต่อไป

· Remote Maintenance – สามารถลดระยะเวลาการเข้าหน้างานไปซ่อมบำรุงรักษา หรือตรวจสอบการทำงานเครื่องจักร และสามารถทำงานจากที่บ้านได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาส ที่สายการผลิตจะต้องหยุดลง

· Remote Development – จะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในโรงงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และจากที่ไหนก็ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างแผนก

· Remote Service – บริการให้คำปรึกษาแบบทางไกลได้ทันทีผ่าน Mobile Network จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ Mitsubishi และ Partners เมื่อเครื่องจักรมีปัญหาสามารถเข้าแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้จากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว

efactory mitsubishi

คุณกัลยาณี คงสมจิตร ประธานบริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้มีการยกตัวอย่างประสบการณ์การพัฒนา Factory Automation ที่ผ่านมาของบริษัทว่า มีการดูแลและพัฒนาโซลูชัน Factory Automation ให้กับ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นคือ เกรทวอลล์มอเตอร์ ฮอนด้า และนิสสัน พาวเวอร์เทรน มาแล้ว

สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย คุณกัลยาณีให้ทัศนะว่า ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งยังไม่อาจก้าวขึ้นมาเหนือ Industry 3.0 ได้ และมองว่าถึงเวลาต้องปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์ IoT เพื่อทำให้เครื่องจักรสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรด้วยกันเองได้ ซึ่งในท้ายที่สุดจะทำให้เครื่องจักรสามารถวิเคราะห์ปัญหาเองได้โดยปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์

คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส

คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส

ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย 5G อีกหนึ่งหัวใจหลักของ Factory Automation คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวถึงสถานการณ์ของภาคอุตสาหกรรมไทยว่า “Factory Automation Remote Solution ถือเป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่มีความสำคัญ สามารถตอบสนองการทำงานที่แตกต่าง และเหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ต้องทำงานแบบระยะไกล โดยเฉพาะการทำงานผ่านเครือข่าย 5G ที่มีศักยภาพและมีความเสถียร”

“ความตั้งใจของเราและพันธมิตรในครั้งนี้ คือการสร้างความร่วมมือแบบ End-to-End เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรม และตอกย้ำเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกต่อไป ที่สำคัญ นี่ไม่ใช่เพียงแค่ต้นแบบของการพัฒนา แต่วันนี้เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถทัดเทียมกับโรงงานภาคการผลิตชั้นนำด้วยโซลูชั่น สินค้า และบริการที่ใช้งานได้จริง” คุณธนพงษ์กล่าวปิดท้าย

 


แชร์ :

You may also like