HomeBrand Move !!“Productivity Disaster” มุมมืดอีกด้านของการ Work From Home

“Productivity Disaster” มุมมืดอีกด้านของการ Work From Home

แชร์ :

ในช่วง Covid-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายบริษัทตัดสินใจให้พนักงาน Work From Home เพื่อความปลอดภัย และหลายบริษัทก็ติดใจ ถึงขนาดที่ว่าอาจจะปรับเปลี่ยนนโยบายให้พนักงาน Work From Home กันตลอดไปเลยทีเดียว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ดี การ Work From Home ไม่ได้มีแต่ด้านบวกอย่างที่หลายคนกล่าวถึง เพราะมีการทำสำรวจโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford อย่างศาสตราจารย์ Nicholas Bloom ในกลุ่มซีอีโอบริษัทต่าง ๆ ผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย พบว่า การประชุมแบบได้พบเจอตัวกันนั้น มีผลอย่างมากต่อการจุดประกายไอเดีย รวมถึงทำให้ทีมงานมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างที่การประชุมทางไกลที่เกิดขึ้นในช่วง Work From Home ไม่สามารถทดแทนได้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เขากังวลก็คือ การอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ อาจส่งผลให้บริษัทมีไอเดียใหม่ ๆ น้อยลงเรื่อย ๆ

“การ Work From Home อาจทำให้พนักงาน 13% มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่พนักงานอีก 50% อาจพร้อมที่จะลาออกได้เลยทีเดียว”

นอกจากนั้น เขายังได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของบริษัทด้านท่องเที่ยวของจีนอย่าง Ctrip พบว่า การ Work From Home นั้นอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยถอยลงอย่างมากก็เป็นได้

โดยบริษัทได้ถามพนักงานที่ทำงานจากบ้านเป็นเวลา 9 เดือนว่า พวกเขาอยากจะทำงานที่บ้านต่อไป หรือกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่ง 50% บอกว่าอยากกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแล้ว แม้ว่าจะเสียเวลาเดินทางมาทำงาน 40 นาทีก็ตาม

เหตุผลของพนักงานก็คือ ที่บ้านของคนเหล่านั้นไม่เหมาะกับการทำงาน หลายคนต้องนั่งทำงานบนเตียงนอน ไม่ก็ต้องทนฟังเสียงดังจากคนในบ้าน เพื่อนร่วมห้อง หรือคนข้างบ้านตลอดเวลา

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือความเหงา การทำงานที่บ้านทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีคนสนับสนุนเหมือนเวลาอยู่ในออฟฟิศนั่นเอง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ ศาสตราจารย์ Bloom บอกว่าไม่ต่างจากคนเกษียณอายุ ที่มักรู้สึกไม่มีคุณค่าเมื่อต้องออกจากงาน

อย่างไรก็ดี คนที่ได้ประโยชน์จากการ Work From Home ก็มีอยู่ โดยศาสตราจารย์ Bloom พบว่า คนที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีก็จะไม่หนักใจมากนักหากต้องทำงานจากที่บ้าน

ยกตัวอย่างคนกลุ่มดังกล่าวเช่น นักการเงิน ผู้บริหารระดับกลาง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่สามารถจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และทำงานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ โดยนักวิจัยพบว่า คนกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการทำงานแบบ Work From Home ถึง 80%

ขณะที่คนที่ไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อแลกกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ ก็จะประสบปัญหาในการทำงานไปในที่สุด ซึ่งในมุมของนักวิจัยมองว่า สถานการณ์นี้ได้สร้างปัญหาลูกใหม่ซ่อนไว้ใต้พรม นั่นคือเรื่องของความเหลื่อมล้ำ เพราะคนที่มีการศึกษาสูง ได้รับผลตอบแทนสูง และสามารถทำงานแบบ Work From Home ได้นั้น ก็จะยังได้รับการจ่ายค่าตอบแทนต่อไป อีกทั้งยังมีเวลาพัฒนาทักษะในด้านอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้ชีวิตก้าวหน้ามากขึ้นอย่างที่คนอีกกลุ่มไม่สามารถทำได้นั่นเอง

Source

Source


แชร์ :

You may also like