HomeCSRกรณีศึกษา: องค์กรใหญ่มีบทบาทสร้างความยั่งยืนให้สังคมได้อย่างไร ในภาวะวิกฤติ

กรณีศึกษา: องค์กรใหญ่มีบทบาทสร้างความยั่งยืนให้สังคมได้อย่างไร ในภาวะวิกฤติ

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากวิกฤต Covid-19 ซึ่งปัญหาในครั้งนี้กระทบทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคม ในระดับโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำหรับประเทศไทย เราอยู่ในระหว่างการร่วมใจกันสู่รบกับศัตรูที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็มีการประเมินกันว่า ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศอาจจะติดลบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  ซึ่งนั่นเป็นโจทย์ใหญ่ที่ Covid-19 ทิ้งไว้ให้กับสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ยังคงมี “ภาคธุรกิจขนาดใหญ่” ที่ถึงแม้ว่าองค์กรของตัวเองจะเผชิญหน้ากับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงไม่แพ้กัน แต่ก็ยังยืนหยัด พร้อมให้ความช่วยเหลือสังคม เพราะรู้ดีว่า ประเทศชาติจะเดินหน้าไม่ได้เลย ถ้าคนในชาติไม่ก้าวไปด้วยกัน จนเป็นที่มาของกิจกรรมมากมาย จากองค์กรชั้นนำ โดยมีบทเรียนที่น่าสนใจ ดังนี้

Speed of Help ส่งอาวุธให้นักรบด่านหน้า

เมื่อเกิดปัญหาซึ่งเปรียบเสมือนกับประเทศกำลังเผชิญหน้าสงคราม ผู้นำต้องคิดถึง ความเร็ว ในการให้ความช่วยเหลือ อย่างถูกจุด มองย้อนกลับไปในช่วงต้นของ Covid-19 เมื่อเดือนเมษายน ในตอนนั้นเกิดวิกฤติขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ทั่วโลก การจัดหาอุปกรณ์ทั้งที่เป็นเครื่องป้องกันเบื้องต้น ไปจนถึงเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย เป็นอุปสรรคของวงการสาธารณสุขเมืองไทย ทาง บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้มอบให้กับโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งถูกนำไปใช้จัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้กับแพทย์ พยาบาล

และบุคคลากรทางการแพทย์ เช่น Mask, Face Shield, ชุด PPE ป้องกันร่างกาย ตลอดจนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญเพื่อใช้รักษาชีวิตผู้ป่วย รวมถึงนำศักยภาพกลุ่มธุรกิจ จากการเป็นผู้ผลิตอาหาร ส่งอาหาร ทั้งอาหารปรุงสุก, อาหารแช่แข็ง และข้าวรีทอร์ท ข้าวสำเร็จรูปที่ผลิตโดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งนี้ บริษัท บุญรอดฯ ได้เข้าไปดูแลเรื่องอาหารและน้ำดื่มให้กับโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ตั้งแต่ช่วงก่อนที่จะมีข่าวการระบาดอย่างหนักของ Covid-19 ในประเทศไทย ซึ่งอาหารและน้ำดื่มต่างๆได้ถูกแจกจ่ายไปสู่ผู้ป่วยคนอื่นๆ ด้วย โดยรวมแล้วมูลค่าความช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

สร้าง จิตอาสาดูแลท้องถิ่นตน

หลังจากความช่วยเหลือให้กับโรงพยาบาลซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือกับ Covid-19 ขั้นตอนต่อไปก็มาถึงการหาทางออกในระยะสั้น – ยาว ที่ บุญรอดฯ ใช้เครือข่ายที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาค ผ่านโครงการสิงห์อาสา มาต่อยอด โดยบริษัทฯ เร่งจ้างงาน สร้างรายได้ แก้ปัญหาปากท้องและบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน

โดยโครงการระยะสั้น บริษัทฯ ได้เริ่มทำทันทีตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อสร้างรายได้ผ่านการเป็นอาสาสมัครดูแลท้องถิ่นของตน โดยจะมีการจ้างงานผ่าน 3 โครงการเร่งด่วน ครอบคลุมกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศประกอบด้วย สิงห์อาสาสู้ไฟป่า, สิงห์อาสาสู้ภัยแล้ง และสิงห์อาสาป้องกันน้ำท่วม จุดเด่นของการช่วยเหลือในลักษณะนี้ก็คือ ไม่ใช่แค่ทำให้อาสาสมัครมีค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวในช่วงเวลาที่ยากลำบากเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของการทำงานด้วยตัวเอง และวิชาชีพที่ได้ฝึกอบรมไป ยังเป็นทักษะติดตัว ที่นำไปใช้ประกอบอาชีพต่อในอนาคตได้อีกด้วย เบื้องหลังแนวคิดอีกประการของโครงการนี้ก็คือ แต่ละปัญหาที่ถูกหยิบยกมาแก้ไขเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละภูมิภาค โดยโครงการสิงห์อาสาสู้ไฟป่าใน ครอบคลุมจังหวัด ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก สิงห์อาสาสู้ภัยแล้ง ในจังหวัดภาคอีสาน และโครงการสิงห์อาสาป้องกันน้ำท่วม ในจังหวัดภาคกลาง

สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่แก้ปัญหาช่วง Covid-19 เท่านั้น แต่ยังปลูกฝั่งเมล็ดพันธุ์ของความยั่งยืน ท้องถิ่นนิยม ให้คนเข้าใจปัญหาในถิ่นฐานของตัวเอง และนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เมื่อความเจริญทางเศรษฐกิจกระจุกตัวอยู่ในเมือง ความแอดอัดของการเดินทาง ที่อยู่อาศัย “โรคระบาด” กลับสอนบทเรียนให้ผู้คนละทิ้งความ Urbanize กลับสู่การกระจายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่รวมตัวกัน

“ให้เบ็ด ดีกว่าให้ปลา”

สิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอดก็คือ การสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคมไทย  ทั้งนี้บริษัทฯ จึงมีการจัดโครงการระยะยาว “สิงห์อาสาอมรมสร้างอาชีพ” โดยร่วมกับเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา ศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงบริษัทในเครือ ระดมนำองค์ความรู้มาส่งต่อเพื่อสร้างอาชีพให้กับประชาชน เพื่อนำไปต่อยอดสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวต่อไป ทั้งในกลุ่มทักษะวิชาชีพทางด้านอาหาร เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก โดยงานนี้มีเชฟใหญ่อย่าง เชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟรางวัลมิชลิน2ดาว จากร้าน R.HAAN และ “เชฟป้อม” ธนรักษ์ ชูโต เชฟกะทะเหล็กอาหารจีน มาร่วมวางหลักสูตร

รวมถึงทักษะวิชาชีพทางด้านงานช่าง Home service and office skills ผ่านวิชาชีพด้านการช่าง การซ่อมแซมพื้นฐานอาทิ ช่างไฟฟ้าบ้าน ช่างแอร์ ช่างประปา ช่างคอมพิวเตอร์ และกราฟฟิก ดีไซน์เบื้องต้น และในกลุ่มสุดท้ายทักษะวิชาชีพทางด้านการเกษตร เพื่อผลักดันให้เกิดวิสาหกิจชุมชน ต่อไป

ซึ่งการอบรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีทักษะอาชีพติดตัว ซึ่งจะช่วยให้เกิดรายได้ ในระยะยาว เป็นการช่วยเหลือที่สร้างความยั่งยืนแก่ผู้รับอย่างแท้จริง ดังประโยคที่เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “ให้เบ็ด ดีกว่าให้ปลา” เพราะปลาที่ได้ไป ทานไม่เท่าไหร่ก็หมด แต่ถ้าเราให้เบ็ดตกปลาเขา และสอนวิธีตกปลา เขาจะสามารถหาปลาได้ด้วยตัวเอง และจะไม่มีวันอดตาย

Covid-19 ได้พิสูจน์แล้วว่า “ความสามารถทางการแพทย์” ของประเทศไทย อยู่ใระดับท็อปของโลก บริหารจัดการแบบไทยๆ ที่ใช้น้ำใจเป็นตัวขับเคลื่อนในวิถีเฉพาะตัวของเราเอง ก็ทำให้ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตของไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทุกภาคส่วนในสังคมอยู่ภายใต้ความต้องการเดียวกัน คือ ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ สำหรับ “องค์กรใหญ่” แล้ว ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่บริหารกิจการตนเองให้เติบโต หรือมีผลกำไรเท่านั้น แต่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่กว่าก็คือ การมีส่วนร่วมในการดูแลสังคม เป็นผู้นำในสังคม ยามที่ประเทศต้องการ โดยต้องมีแผนรองรับทั้งเฉพาะหน้าและมุมมองที่มุ่งเน้นความยั่งยืนและลงมือทำ และเดินหน้าไปพร้อมๆ กันอย่างเป็นขั้นตอน


แชร์ :

You may also like