• Featured
  • Digital
  • Brand Move !!
  • Insight
  • Creativity
  • Cannes Lions & Awards
  • PR News
Sign in
Welcome!Log into your account
Forgot your password?
Password recovery
Recover your password
Search
Sign in
Welcome! Log into your account
Forgot your password? Get help
Password recovery
Recover your password
A password will be e-mailed to you.
Brand Buffet Brand Buffet
Mandarin International School
Brand Buffet Brand Buffet
  • Featured
  • Digital
  • Brand Move !!
  • Insight
  • Creativity
  • Cannes Lions & Awards
  • PR News
  • Digital
  • Insight

5 Key Trends ธุรกิจรีเทล 2020 How to รอดและโต ในยุค Digial War

By
pp
-
February 28, 2020
Share
Facebook
Twitter
LINE
Email

    โลกธุรกิจปัจจุบันเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงรอบด้าน โดยเฉพาะจากผลกระทบของเทคโนโลยีและดิจิทัลที่เป็นตัวเร่งและเป็นแกนสำคัญของความเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ส่งผลทั้งต่อ Landscape ในธุรกิจ การแข่งขัน รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อรูปแบบในการจับจ่ายใช้สอยที่ต่างออกไปจากเดิม ทำให้นักการตลาดไม่สามารถหยุดนิ่งอยู่กับทฤษฎีเดิมๆ​ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งทฤษฎีใหม่ๆ แพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อให้ขยับตัวได้ทัน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และสามารถนำพาธุรกิจให้อยู่รอดในอนาคตต่อไปได้ 

    - Advertisement -

    คุณพิงค์ ณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Engagement Platform เครื่องมือสำคัญสำหรับแบรนด์​ในปัจจุบันเพื่อสร้างการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เหมือนทำธุรกิจอยู่ท่ามกลาง Digital War ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะถูกดิสรัปได้ตลอดเวลา​ ได้นำเสนอเทรนด์ที่มองเห็นในธุรกิจค้าปลีกทั้งหลาย ที่จะเข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจค้าปลีกที่ต้องก้าวตามให้ทัน ประกอบด้วย

    1. Food Delivery ธุรกิจอาหารเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่มองเห็นการถูกดิสรัปได้อย่างชัดเจน โดยพบว่ายอดขายในกลุ่ม Food Retail ​มีสัดส่วนยอดขายมาจากกลุ่มเดลิเวอรี่เพิ่มสูงมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ​บางแห่งมียอดขายมาจากเดลิเวอรี่สูงถึง 30% และแนวโน้มในอนาคต​จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการใช้อินเทอน์เน็ตที่สูงขึ้น จากปัจจุบันมีประชากรออนไลน์ถึง 46% ที่นิยมส่ังอาหารผ่านแอปพลิเคชัน

    ส่วน Key สำคัญ ของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้คือ Speed หรือระยะเวลาในการให้บริการที่ผู้บริโภคคาดหวังไว้ที่ไม่เกิน 30 นาที ถ้าใครไม่สามารถบริหารจัดการได้ภายในมาตรฐานนี้ จำนวนออเดอร์ที่ลูกค้าจะส่ังเข้ามาจะน้อยลงเรื่อยๆ ผู้ประกอบจำเป็นต้องพัฒนาโพรเซสให้บริการ เพื่อให้ได้มาตรฐานนี้ เช่น การตัดตัวกลางต่างๆ ให้น้อยลง​ การพัฒนาแอปฯหรือเทคโนโลยีเข้าไปในส่วนต่างๆ ของธุรกิจ การมี Cloud Kitchen สำหรับบริการเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ ​การใช้บริการ POS ที่สามารถรับออเดอร์ตรงจากลูกค้าหรือรองรับระบบอีเพย์เมนต์ที่แม้ปัจจุบันอาจจะยังมีสัดส่วนน้อยอยู่ แต่ในอนาคตปริมาณการใช้งานจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

    2. Aging Society กลุ่มผู้สูงอายุคนไทยจะมีสัดส่วนมากกว่า 30% ในปี 2040 หรือไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน แต่ต้องลืมภาพจำเดิมๆ ของคำว่าผู้สูงอายุที่คิดว่าจะเป็นกลุ่มคนแก่ที่อยู่แต่บ้าน ไม่มีกิจกรรมอะไรทำ เพราะจริงๆ แล้วผู้สูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้าก็คือ ผู้บริโภคในปัจจุบันนี้นั่นเอง ทั้งกลุ่ม Baby Boomer ที่อายุ 56-76 ปีขึ้นไป กลุ่ม Gen X อายุ 41-55 ปี รวมไปถึง Gen Y ที่อายุ 26-40 ปี ที่แม้จะอายุเพิ่มขึ้น แต่พฤติกรรม ความชอบ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำอยู่ก็ยังคงทำเช่นนี้ไปอย่างต่อเนื่อง ยังมีความ trendy ชอบการท่องเที่ยว ชอบออกกำลังกาย ชอบไปพบปะเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งตามสถิติพบว่า คนสูงอายุส่วนใหญ่มักจะรับประทานอาหารนอกบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

    ส่วน Gen Z ที่มีอายุตั้งแต่ 5- 25 ​ปี ก็ยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะหากต้องการคอนเน็คกับคนกลุ่มนี้ ต้องไม่มองข้ามอีสปอร์ต ซึ่งเข้ามามีบทบาทและถือเป็น The Next Thing for Next Gen  ดังนั้น ธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยที่เด็กลงมา E Sport is the Key

    “ทุกวันนี้คนดูอีสปอร์ตมีจำนวนมากกว่าหลายๆ กีฬายอดนิยมแบบดั้งเดิมที่เคยดูกัน​โดยคาดว่าอีก 2 ปีข้างหน้า คนดูอีสปอร์ตจะมีมากถึง 645 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งมากกว่าครึ่ง หรือ 57% อยู่ในเอเชียแปซิฟิก ขณะที่เงินรางวัลของนักกีฬาอีสปอร์ตที่ชนะแมตช์สำคัญยังได้รับสูงกว่าเงินรางวัลที่นักกีฬาระดับโลกในกลุ่มเดิมๆ เคยได้รับ ทำให้มีทั้งเม็ดเงินสะพัด และจำนวนคนดู​ในแวดวงอีสปอร์ตจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเริ่มมองเห็นแบรนด์ต่างๆ เข้ามา Involve กับเรื่องของอีสปอร์ตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนกีฬาอีสปอร์ต หรือการใช้ Endorserในกลุ่มอีสปอร์ตจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็น Real Influencers ในอนาคตด้วยเช่นกัน” 

    3. AI & Machine Learning การเข้ามาของ AI จะมีส่วนช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างฉลาดมากขึ้น โดยในส่วนของงานด้านธุรกิจรีเทลนั้น AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น

    – Hyper Localization ทำให้เข้าใจคนในแต่ละพื้นที่อย่างลงลึกได้อย่างแท้จริง และพัฒนาไปจนถึงข้อมูลระดับสาขา แม้จะอยู่โลเคชั่นใกล้เคียงกัน แต่ยังมีความแตกต่าง​ไปตามสาขา ซึ่ง AI​ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างละเอียด และสามารถปรับโปรโมชั่นแบบ Real-time ในแต่ละสาขา​ รวมทั้งการทำ Real-time Delivery ได้อย่างมีประสิทธภาพเพิ่มมากขึ้น

    – Post-Transaction การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ​เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายของอื่นๆ มากขึ้น หรือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ทิ้งตระกร้าเวลาช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยการออฟเฟอร์ข้อเสนอเพื่อให้กลับมาซื้อเร็วขึ้น โดยความเร็วในการกลับไปดึงลูกค้า ทำให้ Response ที่ได้จะแตกต่างกันถึง 5-80% ​เลยทีเดียว ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อแบบ Right Place Right Time ได้ดีมากขึ้น

    – Store Management การนำ AI เข้ามาทำงานร่วมกับกล้อง CCTV เพื่อวิเคราะห์ลูกค้าได้ว่าเป็นใคร เพศ อายุ อาชีพ รวมทั้งจำพฤติกรรมลูกค้าแต่ละคน เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นที่เหมาะกับคนคนนั้นได้ เพื่อเรียกลูกค้าให้กลับเข้ามาใช้บริการใหม่ผ่านช่องทาง OmniChannel

    – Behavior Segment การทำความรู้จักลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาใช้บริการครั้งแรก คนที่เคยเป็นลูกค้าแล้วหายไป กลุ่มลูกค้าที่จะซื้อของตามฤดูกาล เช่น ชุดนักเรียนช่วงเปิดเทอม สินค้าเซ่นไหว้ สินค้าของขวัญ หรือกลุ่มที่ซื้อตามโปรโมชั่น รวมทั้ง Fraud หรือคนที่ปลอมแปลงเข้ามาในระบบ ซึ่ง AI จะวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้ทั้งหมด เพื่อหาทางทั้งป้องกันและออฟเฟอร์ได้อย่างตรงจุด

    – Product Trend สามารถวิเคราะห์โปรดักต์ที่น่าจะขายดีในอนาคต จากการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ทั้งคำนวนโปรดักต์ที่จะหมดอายุ การคำนวณดีมานด์สินค้าที่คาดว่าจะขายดีเพื่อให้สามารถสั่งสินค้าเข้ามาเตรียมไว้ได้ทัน รวมทั้ง Auto Tagging หรือการนำข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในระบบแต่จับจาก Hashtag หรือข้อมูลประกอบอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดเช่นกัน

    – Personalize Recommendation การนำเสนอออฟเฟอร์แบบเฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นแบบ Only you, สำหรับกลุ่มที่ซื้อผ่านช่องทาง Mobile, โปรโมชั่นสำหรับคนที่ซื้อสินค้าชิ้นนี้ทำให้ซื้อสินค้าอื่นได้ในราคาพิเศษ หรือการทำ Dynamic Pricing เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อจากเวลา หรือแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ซึ่ง AI มีความสามารถในจัดการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

    4. On Demand App/ Aggregators Business  การเติบโตของแพลตฟอร์มที่รวบรวมบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกัน และกลายเป็น New Normal ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เมื่อต้องการเซอร์วิสใดๆ ก็จะเรียกใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร การเดินทาง หรือแอปฯดูหนังฟังเพลง เอ็นเตอร์เทนต่างๆ

    ดังนั้น ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SME จำเป็นต้องปรับตัวด้วยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มเหล่านี้และพยายามเรียนรู้ที่จะสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรงบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นให้ได้ เพราะการเติบโตของแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการต่างๆ ที่ต้องการ​โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการทุกรายที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าก็มีโอกาสมากกว่าเช่นกัน  ​

    “สิ่งที่ธุรกิจรีเทลต้องก้าวให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทย คือ Promotion is Thailand New Normal การทำรีเทลทุกวันนี้ขาดโปรโมชั่นไม่ได้ แม้ว่าหลังจบโปรโมชั่นยอดขายอาจจะตกลง แต่เป็นการตกแบบการปรับฐานที่สูงขึ้นกว่าเดิม ทุกคนต้องทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ โดยที่บางครั้งลูกค้าอาจไม่ได้สนใจว่าราคาที่แท้จริงของสินค้าชิ้นนี้อยู่ที่เท่าไหร่ แต่อยากรู้ว่าเราลดให้ลูกค้าเท่าไหร่ ​จึงต้องเรียนรู้การทำ Pricing Structure Menu ซึ่งตอนนี้กลายเป็น New Normal ในภาคธุรกิจของรีเทลไทยไปแล้ว”

    5. Direct to Customer แบรนด์ต้องพยายามหาช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง โดยเฉพาะการเลือกใช้ Influencers ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะการเลือกใช้กลุ่มไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่ลูกค้าให้ความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถเพิ่มได้ทั้ง Followers, Content โดยเฉพาะรูปแบบของ Users Generated Content เนื่องจากปัจจุบันนี้ Customers ​ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ได้ด้วยเช่นกัน เช่น ในปรากฏการณ์ล่าสุด #saveปีโป้ม่วง ที่ทำให้แบรนด์ปีโป้กลายมาเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ ได้รับความสนใจและสะท้อนกลับไปสู่การเติบโตของยอดขายเพิ่มมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

    “แบรนด์ต้องสามารถต่อยอดจากกระแสที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการสร้าง Advocated หรือสาวก ตัวแทนแบรนด์ จากกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ ที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างกระแส หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นกาสร้างอุปทานหมู่บนโลกออนไลน์ ที่เมื่อมีใครคนหนึ่งทำบางอย่างคนอื่นๆ ก็จะลุกขึ้นมาทำตาม รวมท้ังพลังของบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ ที่ผู้บริโภคให้การยอมรับและเชื่อถือมากกกว่าแมสเสจต่างๆ ที่ออกมาจากแบรนด์โดยตรง สอดคล้องกับสถิติสำคัญไม่ว่าจะเป็น 90% ของผู้บริโภคที่จะเชื่อคำแนะนำของเพื่อน, 74% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วยสำคัญก่อนตัดสินใจซื้อ, 70% ที่เชื่อถือรีวิวต่างๆ จากผู้บริโภคบนอออนไลน์​ โดยบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ที่มารีวิวนั้น มีถึง 70% ที่เลือกเชื่อผู้รีวิวที่เป็นคนธรรมดา​ มากกว่าบรรดาเหล่าเซเลบริตี้หรือคนที่มีชื่อเสียง”

    ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวก่อนใครได้ทุกช่องที่

    LINE Official Account

    @brandbuffet

    fb.com/brandbuffet

    • TAGS
    • Aggregators Business
    • Aging Sociey
    • AI
    • Buzzebees
    • Digital Engagement Platform
    • Food Delivery
    • Generation
    • Machine Learning
    • On Demand App
    • ณัฐธิดา สงวนสิน
    • ธุรกิจค้าปลีก
    • บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด
    Facebook
    Twitter
    LINE
    Email
      Previous articleVolvo Driving Experience การทดสอบสมรรถนะครั้งสำคัญ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Protect What Matters, Drive Your Desire” [PR]
      Next articleSalad Factory ธุรกิจที่สะดุดตั้งแต่ก้าวแรก ​กับการโตเป็น ‘แบรนด์สลัดพันล้าน’ ของ CRG
      pp

      RELATED ARTICLESMORE FROM AUTHOR

      ผ่าแผน DEPA เตรียมสร้าง มหาวิทยาลัยโดรน – มหาวิทยาลัย AI ปั้นไทยสู่ เจ้าแห่ง Tech

      xiaomi logo pic

      Xiaomi ไม่รอด โดนรัฐบาล “โดนัลด์ ทรัมป์” แบนก่อนอำลาตำแหน่ง พาหุ้นดิ่ง 9%

      ad covid OOH Maco

      โฆษณาปี 64 ยังต้องลุ้นฟื้น เปิดไกด์ไลน์ “แบรนด์” ปรับตัวใช้งบอย่างไรในสถานการณ์โควิด

      ส่อง 19 สายงานต้อง “อัพสกิล” ข้ามสาย หากอยากไปต่อและเติบโตในปี 2021

      ผลวิจัยเผย Covid-19 ทำผู้บริโภค “หลายใจ” เปลี่ยนแบรนด์ง่ายขึ้น – แนวโน้มซื้อของถูกลง

      Booking.com เผย 5 เทรนด์ท่องเที่ยวมาแรงในปี 2021

      - Advertorial - Fujitsu
      Brand Buffet
      ABOUT US
      แหล่งอัพเดทความเคลื่อนไหว การตลาด ธุรกิจ เทรนด์ ด้วยเนื้อหาเข้าใจง่าย และเจาะอินไซท์จากคนในวงการการตลาดฯ พร้อมเสริฟ์อย่างจุใจ จุกแน่นๆ Thailand's Leading Marketing Website
      FOLLOW US
      • Advertising
      © 2019 Brandbuffet.in.th