HomePR NewsDell เผยข่าวดี ผลการวิจัย “Gen Z” เราไม่ได้สร้างเจเนอเรชั่นของคนยุคใหม่ให้กลายเป็นหุ่นยนต์ [PR]

Dell เผยข่าวดี ผลการวิจัย “Gen Z” เราไม่ได้สร้างเจเนอเรชั่นของคนยุคใหม่ให้กลายเป็นหุ่นยนต์ [PR]

แชร์ :

ในเวลานี้ กลุ่มคน Gen Z กำลังทยอยก้าวสู่การทำงาน พร้อมนำพาแนวความคิดที่ว่าเทคโนโลยีต้องมาก่อนจึงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปได้ในยุคดิจิทัลเข้ามาพร้อมกัน และในขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มที่อาจสร้างการแบ่งแยกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นระหว่างกลุ่มคนทำงานทั้ง 5 เจเนอเรชั่นที่ยู่ในภายในองค์กรเดียวกัน จากผลการวิจัยทั่วโลกที่สนับสนุนการจัดทำโดยเดลล์ เทคโนโลยีส์ พบว่า คนในยุคหลังมิลเลนเนียล (post-millennials) หรือคนที่เกิดหลังปี 1996 และเป็นที่รู้จักในนาม Gen Z มีความเข้าใจและรอบรู้เทคโนโลยีในเชิงลึก และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทั้งวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตของเราออกไป “แทบจะเป็นที่รู้กันว่ากลุ่มคนที่เติบโตมาในยุคดิจิทัลมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและเทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ที่น่าแปลกใจก็คือระดับของวุฒิภาวะด้านดิจิทัลที่พวกเขานำมาสู่ที่ทำงาน”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน กล่าว “เรายังไม่ได้ไปถึงจุดที่สร้างเจเนอเรชั่นของคนที่เป็นหุ่นยนต์ขึ้นมา เนื่องจากคนใน Gen Z มองว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับมนุษย์แต่ยังเป็นเสมือนวิธีการในการยกระดับการแข่งขันที่ต้องอาศัยศักยภาพด้านข้อมูลอีกด้วย ซึ่งการผสมผสานทั้งวิสัยทัศน์และการมองโลกในแง่ดีของคนกลุ่มนี้นับว่าไม่ธรรมดา” จากผลการสำรวจบรรดานักเรียนในระดับมัธยม วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยกว่า 12,000 แห่งใน 17 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบการสำรวจจำนวน 722
รายจากประเทศไทย และ 4,331 รายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 23 ปี เผยให้เห็นภาพรวมของคนรุ่นเยาว์ที่มีต่อเทคโนโลยีและงานในอนาคตโดยเฉพาะในประเด็นต่อไปนี้

  • 98 เปอร์เซ็นต์ (99 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาอย่างจริงจัง
  • 91 เปอร์เซ็นต์ (95 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กล่าวว่าเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างนำเสนอจะเป็นองค์ประกอบการพิจารณาการเลือกงานในลักษณะเดียวกันที่เสนอเข้ามา
  • 80 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 97 เปอร์เซ็นต์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 90 เปอร์เซ็นต์) ต้องการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า โดย 38 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มนี้สนในงานด้านไอที 39 เปอร์เซ็นต์ ต้องการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และ 46 เปอร์เซ็นต์ ต้องการทำงานด้านการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี ทั้งนี้ ในประเทศไทยมากกว่า 4 ใน 10 มีความสนใจงานด้านไอที รวมถึงการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (48 เปอร์เซ็นต์)
  • 80 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 93 เปอร์เซ็นต์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 86 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเสมอภาคมากขึ้น โดยช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอคติและการแบ่งแยก

ผู้ตอบสำรวจในจำนวนที่สูงถึง 89 เปอร์เซ็นต์ ต่างเข้าใจดีว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร (human-machine partnership) โดย 51 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 64 เปอร์เซ็นต์) ของบรรดาผู้เข้าร่วมการสำรวจเชื่อว่ามนุษย์และเครื่องกลจะทำงานร่วมกันเสมือนเป็นทีมเดียวกัน ในขณะที่ 38 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 30 เปอร์เซ็นต์) มองว่าเครื่องกลเป็นเสมือนเครื่องมือที่มนุษย์เรียกใช้ได้ตามต้องการ การที่กลุ่มคน Gen Z เติบโตมาในยุคดิจิทัล ทำให้ชาว Gen Z ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยในประเทศไทย 76 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้ ต่างระบุว่าความสามารถด้านเทคโนโลยีของตนอยู่ในระดับที่ดีหรือยอดเยี่ยม และ 73 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่ามีทักษะในการเขียนโค้ด (coding skills) สูงกว่ามาตรฐานทั่วไปและที่มากไปกว่านั้นก็คือ 95 เปอร์เซ็นต์ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ปรารถนาที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ความรู้ให้กับผู้ร่วมงานอายุมากกว่าที่อาจมีประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยีน้อยกว่า

  • ในทางกลับกัน ชาว Gen Z มีความกังวลเกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงประสบการณ์ที่ผู้ว่าจ้างมองหาอีกด้วย โดยในส่วนของประเทศไทยเด็กจบใหม่เกือบทั้งหมด (96 เปอร์เซ็นต์)
    มีความกังวลใจเกี่ยวกับการว่าจ้างงานในอนาคตตั้งแต่เรื่องของการขาดทักษะที่เหมาะสมตลอดจนขาดประสบการณ์ในการทำงาน
  • มีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่ระบุว่าการศึกษาของตนอยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยมที่ช่วยให้ตนมีความพร้อมในการทำงาน
  • 67 เปอร์เซ็นต์ มั่นใจว่าตนมีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างต้องการแต่ขาดทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันในที่ทำงานมีคนทำงานอยู่ถึง 5 เจเนอเรชั่น ฉะนั้นองค์กรธุรกิจควรช่วยให้คนทำงานเหล่านี้หาจุดร่วมที่เหมือนกันให้เจอในเวลาที่ต้องผลักดันไปสู่การสร้างวัฒนธรรมของการให้ความสำคัญกับดิจิทัลเป็นอันดับแรก หรือ digital-first โดยทีมงานที่ต้องทำงานข้ามสายงานและมีทักษะที่ครบครันสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการแก้ปํญหาด้วยวิธีแบบใหม่ โปรแกรมนักศึกษาฝึกงานและการหมุนเวียนงาน รวมถึงโอกาสอื่นๆ ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพตั้งแต่เริ่มต้น สามารถช่วยให้มืออาชีพรุ่นเยาว์ได้รับประสบการณ์ในการทำงานและพัฒนาทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้เช่นกัน

“มืออาชีพรุ่นเยาว์ในปัจจุบันต่างเติบโตมาในสภาพแวดล้อมการศึกษาที่ต้องทำงานร่วมกันและคาดหวังความร่วมมือดังกล่าวจากที่ทำงานเช่นกัน” มาริเบล โลเปซ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยี และที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ ของ Lopez Research กล่าว “แม้ว่าการสื่อสารที่ต้องพูดคุยกันต่อหน้าจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยในที่ทำงานสมัยใหม่แต่เทคโนโลยีที่ให้ความรู้สึกเสมือนจริง (immersive technologies) ก็ช่วยให้คนทำงานทุกประเภทสามารถประสานความร่วมมือได้ทั้งในโลกการทำงานจริงและโลกเสมือนจริง นายอโณทัย กล่าวเสริมว่า “ท้ายที่สุดเหล่าองค์กรที่สร้างกำลังคนโดยที่สามารถรองรับและให้การสนับสนุนคนทำงานในทุกเจเนอเรชั่นได้ ก็จะเติบโตได้ในยุคแห่งความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล คนทำงานที่ผสานการทำงานร่วมกันได้ดีนับเป็นขุมพลังที่จะช่วยให้องค์กรปฏิรูปและประสบความสำเร็จได้ในอนาคตดิจิทัล


แชร์ :

You may also like