HomeCreativityไอเดียเจ๋ง! ญี่ปุ่นออกแบบ “ชุดกิโมโน” ให้ประเทศร่วมโอลิมปิก 2020 หวังเผยแพร่มรดกวัฒนธรรม

ไอเดียเจ๋ง! ญี่ปุ่นออกแบบ “ชุดกิโมโน” ให้ประเทศร่วมโอลิมปิก 2020 หวังเผยแพร่มรดกวัฒนธรรม

แชร์ :

Photo Credit : Facebook キモノプロジェクト「イマジン・ワンワールド」(@imagineoneworld)

เมื่อเอ่ยถึงเอกลักษณ์ประจำชาติญี่ปุ่น เชื่อว่าหลายคนนึกถึง “ชุดกิโมโน” ที่มีทั้งความงาม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาช้านาน ดังนั้นในโอกาสที่ “ประเทศญี่ปุ่น” เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ทาง “Imagine One World Incorporation” ซึ่งเป็นองค์กรไม่ใช่ของรัฐบาล และเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นโดย “Yoshimasa Takakura” ประธานบริษัท Choya Japanese Kimono & Obi จำกัด ตั้งใจใช้โอกาสนี้ในการโปรโมต “ชุดกิโมโน” ให้คนทั่วโลกได้รับรู้ถึงความงาม และศิลปะของคนญี่ปุ่น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จึงได้เกิดโครงการ “Imagine One World Kimono Project” ซึ่งเปิดตัวโครงการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพื่อสร้างสรรค์ชุดกิโมโน ที่เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศจำนวน 196 ประเทศ ที่คาดว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก “Tokyo 2020” โดยตั้งเป้าจะออกแบบและผลิตเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่จัดโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว

Photo Credit : Facebook キモノプロジェクト「イマジン・ワンワールド」(@imagineoneworld)

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของ Imaging One World Kimono Project ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย คือ

1. นำ “กิโมโน” (Kimono) และ “โอบิ” (Obi) ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของชาวญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่นมาถึงทุกวันนี้ มาสร้างสรรค์ลวดลายโดยช่างฝีมือ โดยดึงจุดเด่น หรือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 มาไว้บนกิโมโน และโอบิ เพื่อให้แต่ละชุดสื่อถึงสัญลักษณ์ของประเทศนั้นๆ

2. ต้องการส่งข้อความไปยังทั่วโลกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และแบ่งปันความงาม และศิลปะผ่านกิโมโน และโอบิ

3. อนุรักษ์ และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นต่อไป เนื่องจากยุคหลังสงครามโลกเป็นต้นมา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทและอยู่ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการสวมใส่เสื้อผ้าแบบดั้งเดิมลดลง ดังนั้น “Imagine One World Incorporation” มุ่งหวังให้ “Imagine One World Kimono Project” จะช่วยฟื้นฟูการผลิตและการสวมใส่กิโมโนกลับมา

“พวกเรายังคงทำงานอย่างเต็มที่เพื่อโครงการ “Imagine One World Kimono” จนกว่าจะถึงวันเปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 โดยเราต้องการสร้างสรรค์ชุดกิโมโนให้เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งขณะนี้ชุดกิโมโน 100 ชุดเสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้เราหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดสันติภาพบนโลกใบนี้ และอนุรักษ์เครื่องแต่งกายดั้งเดิมของญี่ปุ่นไว้ ด้วยลวดลายที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ” Yoshimasa Takakura เล่าวัตถุประสงค์ของการทำ Imaging OneWorld Kimono Project

Photo Credit : Facebook キモノプロジェクト「イマジン・ワンワールド」(@imagineoneworld)

ใน 196 ประเทศ หนึ่งในนั้นมี “กิโมโน และโอบิ” สำหรับประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยออกแบบลวดลายเป็น “ดอกราชพฤกษ์” ซึ่งเป็นดอกไม้มงคล และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเป็นการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้บนชุดยังมี “ช้าง” และ “โคมยี่เป็ง” เอกลักษณ์ประจำชาติไทย 

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศอียิปต์

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศออสเตรเลีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศแคนาดา

ชุดกิโมโนสำหรับสาธาณรัฐเอธิโอเปีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศเยอรมนี

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศไนจีเรีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศบราซิล

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศฝรั่งเศส

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศจอร์แดน

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศฮังการี

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศอินเดีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศอิตาลี

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศเบลเยียม

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศภูฏาน

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศกัมพูชา

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศสวีเดน

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศออสเตรีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศแคเมอรูน

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศอินโดนีเซีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศเกาหลีใต้

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศมาซิโดเนีย

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศมาดากัสการ์

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศปานามา

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศปารากวัย

ชุดกิโมโนสำหรับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

 

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศฟิลิปปินส์

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศเมียนมา

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศตุรกี

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศเวียดนาม

ชุดกิโมโนสำหรับประเทศกาตาร์

ชุดกิโมโนสำหรับสหราชอาณาจักร

ชุดกิโมโนสำหรับสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูล 1 – เครดิตรูปภาพ และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก : Imagine One World Kimono Project

แหล่งข้อมูล 2 : Facebook Imagine Oneworld Kimono Project, Kyodo News

แหล่งข้อมูล 3 : SoraNews24

 


แชร์ :

You may also like