HomeDigitalเจาะลึก “ชาวเน็ต” 8 ประเภท เพื่อเป็นแนวทางให้เหล่าแอดมินฯ เอาใจให้ถูกจุด

เจาะลึก “ชาวเน็ต” 8 ประเภท เพื่อเป็นแนวทางให้เหล่าแอดมินฯ เอาใจให้ถูกจุด

แชร์ :

ลองมาแบ่ง 8 ประเภทคร่าวๆ ของผู้ใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย (หรือที่ในข่าวจะชอบเรียกว่า “ชาวเน็ต”)  เพื่อที่นักการตลาดดิจิทัลหรือผู้ที่ขายสินค้าออนไลน์จะหยิบไปใช้ประโยชน์ในทางการตลาด  เช่น ดูว่าลูกค้าหลักของเราน่าจะเป็นคนกลุ่มไหน? และเราจะออกแคมเปญเอาใจคนกลุ่มนี้อย่างไร? หรือแม้แต่ผู้ที่ทำหน้าที่แอดมินฯ เพจทั้งหลายจะพูดคุย สรรหาคอนเทนต์อย่างไรมาเสิร์ฟให้โดนใจ?

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1.“วัยว้าวุ่น”

ครอบคลุมวัยรุ่นทุกตอน ไปถึงวัยทำงานใหม่ๆ(บางคน) ชอบ selfie ตลอดเวฯ   Like ง่าย ‘ment กระจาย  มีโพสต์เพ้อๆ และมีดราม่าความรักหรือกับเพื่อนๆบ้างเป็นบางหน   ชอบแชร์คำคมเกี่ยวกับความรัก ความเหงา ความน้อยใจ หรือแชร์เพลงแทนความในใจไปถึงใครบางคนอยู่เรื่อย

เพจควรหาคำคมสั้นๆ โดนๆ ภาพสวยๆ  มากระตุ้นให้พวกนี้แชร์ต่อ


2.“เที่ยว – แชะ – เช็คอิน”

เที่ยวไหน กินอะไร หรือแม้แต่รถติดที่ไหน ก็ถ่ายรูป เช็คอินขึ้นเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรมตลอด   ลงรูปเยอะไม่แพ้กลุ่มแรก  แต่ไม่เน้นหน้าตัวเอง   จะเน้นถ่ายทอดสิ่งที่เห็นมากกว่า  หลายคนก็นิยมใช้ฟิลเตอร์แต่งภาพให้ดูสวยๆ คูลๆ เท่ๆขึ้นไปอีก  และหลายคนก็ขยับไปถึงขั้นใช้กล้องถ่ายรูปดีๆ กันเลย

เพจควรหาข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ หรือสินค้าใหม่ๆ มานำเสนอแบบน่าสนใจ สนุก มีเนื้อหาดี และภาพสวย และกระตุ้นให้พวกนี้แชร์ต่อ


3.“สายส่อง สายอ่าน”

ดูโปรไฟล์นึกว่าไม่ค่อยได้เข้า   แต่ที่ไหนได้ เข้าทุกวันครั้งละนานๆ แต่อ่านและส่องชาวบ้านอย่างเดียว  ส่วนใหญ่มักจะอายุมากกว่ากลุ่มแรกขึ้นมาแล้ว

สายนี้มักจะเล่นโซเชี่ยลมีเดียแบบหวงความเป็นส่วนตัว  ฉันรู้เรื่องของคนอื่น แต่คนอื่นไม่ต้องมารู้เรื่องของฉันหรอกนะ   สายนี้บางคนก็ไม่ยอมกดรับ friend คนที่ไม่รู้จักในชีวิตจริง   แต่บางคนก็รับหมด แถมแอดไปทั่ว เพราะถือหลักว่าฉันไม่โพสต์อะไรอยู่แล้ว ไม่กลัวใครมารู้เรื่องของฉันหรอก  ขอส่องเรื่องคนอื่นๆพอ ^_^

เพจควรทำ content ความรู้หรือ how-to สนุกๆแบบไม่ hard sale เกินไป ถึงจะจูงใจกลุ่มนี้ได้ เพราะคนกลุ่มนี้มักไม่ค่อยสนใจโฆษณา  และมักคิดแล้วว่าน่าสนใจจริงๆ มีประโยชน์จริงๆ ถึงจะกดไลค์กดแชร์ให้


4.“พื้นที่ครอบครัว”

เข้ามาดูแต่เรื่องของลูกๆ หลานๆพี่ๆ น้องๆ ครอบคลุมไปถึงที่ทำงาน ว่าเขาไปไหนทำอะไรกันบ้าง โพสต์บ้าง คอมเมนต์บ้าง พอให้รู้ว่าพี่ยังอยู่นะจ๊ะ ส่วนใหญ่มี friend แค่หลักสิบหรือหลักร้อย และอายุมากกว่ากลุ่มแรกกับกลุ่มที่สองขึ้นมาหน่อย และมีไม่น้อยที่เป็นคุณแม่หรือคุณพ่อที่กำลังเห่อลูก  บนหน้าฟีดมีแต่รูปลูกหรือหลานคนโปรดเต็มไปหมด

เพจควรทำ content หรือโปรโมชั่นประเภท “แนะนำสิ่งดีๆ ให้คนที่คุณรักและห่วงใย”  หรือไม่ก็ประเภท “มา 4 จ่าย 3” เพราะสำหรับคนกลุ่มนี้แล้วครอบครัวสำคัญมาก

5.“นักล่ารางวัล”

เป็นแฟนของเพจร้านค้าสินค้าต่างๆ มากมาย แชร์กิจกรรมโปรโมชั่นสินค้ายี่ห้อนั้นนี้มิได้ขาด ส่วนใหญ่ก็ทำไปเพื่อล่ารางวัล ล่าส่วนลด หรือกินฟรีนั่นแหละ บอกตรงๆ ซึ่งประเภทนี้มีทุกเพศวัย  ลองอยากกินอยากได้เมื่อไหร่ทุกเพศวัยทำได้หมด

เพจควรจับให้ได้ว่าจะแจกอะไร จำนวนแค่ไหน อย่างไร จึงจะใช้คนกลุ่มนี้ที่มีอยู่ในเพจเรา เป็นกลไกช่วยเพิ่ม engagement หรือตอบโจทย์ทางการตลาดที่เราต้องการได้  ซึ่งถ้าทำดีๆ คนกลุ่มนี้ก็ “ซื้อจริง” และชวนเพื่อนๆที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมาได้ด้วย

แต่ถ้าทำไม่ถูกจุด ก็เสี่ยงที่จะแจกรางวัลให้คนกลุ่มนี้ไปอย่างสูญเปล่า เพราะเขาหรือเธอมาเพื่อล่ารางวัลเท่านั้น ไม่ได้จะสนใจหรือซื้อสินค้าบริการเราไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม

6.“สายฮา”

ชอบแชร์ภาพ “meme” (มีม) มุขตลกต่างๆได้ทุกวันไม่ว่าแบบไทยๆหรือฝรั่งจากเพจตระกูล gag ต่างๆ ซึ่งพฤติกรรมนี้มีทุกเพศวัยเช่นกัน

เพจก็คงต้องหาภาพแนวนี้ทั้งแชร์หรือสร้างเองขึ้นมา  รวมถึงสำนวนการโพสต์ การเมนต์ ต้องไม่เครียด และติดลูกฮา(แบบไม่ล้ำเส้น) ไว้เสมอ

7.“สายเกม”

เข้าเฟซบุ๊กมาเพื่อเล่นเกมสนุกๆ เท่านั้น ดูง่ายๆ ก็เช่นใน feed จะเต็มไปด้วยโพสต์ประกาศคะแนนและอันดับในเกม หรือทำควิซเต็มไปหมด

กับคนประเภทนี้ ทางเพจอาจต้องเหนื่อยสร้างเกมเอง  ซึ่งถ้าคำนวณสารพัดสารพันแล้วไม่น่าจะคุ้ม อีกทางเลือกคือทำคอนเทนต์ล้อไปกับเกมที่ดังช่วงนั้นๆ น่าจะดีกว่า


8.”สายดราม่า”

ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหน  เมื่อเขาหรือเธอเกิดความไม่พอใจ  ก็อาจแปลงร่างเป็น ” สายดราม่า” ได้น่ากลัวไม่แพ้กันทุกกลุ่ม ซึ่งทางผู้ดูแลเพจต้องช่วยกันไปตอบและชี้แจงอย่างสุภาพ ชัดเจน และเร็วที่สุด  และห้ามลบหรือตอบโต้อย่างรุนแรงกลับไปเด็ดขาด  อาจจะเสนอโปรโมชั่นเป็นการลดอารมณ์โกรธลงด้วย

สายดราม่าที่ว่านี้ บางคนก็ไม่เคยเป็นลูกค้า  แต่เข้ามาด้วยความไม่พอใจอย่างอื่น  หรือมา “ผสมโรง” “ร่วมแจม” เฉยๆ ซึ่งสำหรับกลุ่มนี้ถ้าไม่มีคำถามหรือความเห็นใดๆ ผู้ดูแลเพจก็ไม่ต้องไปต่อความด้วย

…พฤติกรรมทั้งหลายนี้ บางคนก็มีหลายอย่างในคนเดียวก็มี เช่นมี “แอคเคานท์ที่ 2” ไว้เล่นเกมอย่างเดียว เป็นต้น  หรือบางคนก็มี “เฟซบุ๊กสำรองตัวปลอม” ไว้ส่องแฟนอีกต่างหาก !

…ส่วนผู้อ่านท่านไหน นึกสายอื่นๆ ได้อีก  ก็ช่วยกันแนะนำเพิ่มเติมกันนะครับ !

และสุดท้าย ไม่ว่าเป็นสายไหน   เป้าหมายสูงสุดของเพจธุรกิจหนึ่งๆไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็คือมีกลุ่ม fan ที่ส่วนใหญ่รู้สึกดีกับแบรนด์หรือร้านค้าของเรา ไลก์บ่อย  คอมเมนต์ดี  แชร์บ้าง  แม้วันนี้ไม่ใช่ลูกค้า แต่วันหน้าก็มีโอกาสทั้งซื้อเองและบอกต่อ

  ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะสำคัญกว่าจำนวน fan หรือยอด Like ที่เป็นตัวเลข…ส่วนจะทำอย่างไรก็ต้องขึ้นกับแต่ละเพจแต่ละสินค้าบริการไปตีโจทย์กันต่อ

แปลและเรียบเรียงโดย: Somkid Anektaweepon


แชร์ :

You may also like