HomeCreativityเกรียนแบบมีสไตล์ เมื่อร้านหนังสือเปลี่ยนเว็บ Clickbait ให้เป็น Litbait ล่อให้คนอ่านหนังสือ

เกรียนแบบมีสไตล์ เมื่อร้านหนังสือเปลี่ยนเว็บ Clickbait ให้เป็น Litbait ล่อให้คนอ่านหนังสือ

แชร์ :

Clickbait (คลิกเบท) คือหัวข้อข่าวปลอมๆ อันเวอร์วังที่หลอกให้คนหลงกลเข้าไปอ่านแล้วก็ได้ค่าโฆษณา ได้ทราฟฟิกเข้าเว็บไซต์กันเป็นกอบเป็นกำจากการหลอกลวงกันอย่างไม่เกรงใจเมาส์ในมือเลย แต่วันนี้มันถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยเว็บไซต์ร้านหนังสือที่ชื่อ The Wild Detective ที่นำมามันใช้อย่างฉลาด เพื่อทำให้คนหลงเข้าไปอ่านนวนิยายสุดคลาสสิคแบบฟรีๆ บนเว็บไซต์ โดยเปลี่ยนชื่อให้มันจาก Clickbait เป็น Litbait

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วิธีการก็คือการแชร์ลิงค์บนเฟซบุ๊กด้วยข้อความชวนอ่าน สุดสะพรึง หรือชวนติดตามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องของบทประพันธ์นั้นๆ เช่น “วัยรุ่นสาวลวงแฟนหนุ่มฆ่าตัวตาย” ก็คือเรื่องย่อของวรรณกรรมสุดโรแมนติค Romeo and juliet, “สลด หนุ่มอังกฤษตายอนาถหลังเซลฟี่ไม่ดูตาม้าตาเรือ” โยงเข้ากับเรื่อง The Piceture of Dorian Grey, “หญิงตั้งครรภ์ประกาศกร้าว ถึงท้องไม่มีพ่อก็ไม่เห็นเป็นอะไร” The Scarlet Letter และ.. “นักการเมืองชาวอิตาเลียนนี้จะทำให้ทรัมป์ดูเป็นนักบุญเลยทีเดียว” จากหนังสือการเมืองสุดคลาสสิคที่เด็กเรียนรัฐศาสตร์ทุกคนต้องเคยผ่านตา The Prince by Machiavelli

โดยแคมเปญนี้ปล่อยออกมาตั้งแต่วันที่ 6 กันยาปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับวันอ่านหนังสือแห่งชาติของอเมริกาพอดี เมื่อกลุ่มเป้าหมายเจอโพสต์ข้างต้นและคลิกเข้าไปก็จะได้พบกับบทประพันธ์สุดคลาสสิกที่ประกอบด้วยเรื่องราวแบบพาดหัว โดย The Wild Detective กล่าวว่าแคมเปญ Litbait นี้เพิ่มทราฟฟิกให้เว็บกว่า 14,000% และเพิ่ม Enagement บนเฟซบุ๊กขึ้นถึง 150%

“You fell for the  bait, now you fall for the book” คือบทสรุปของวิดีโอ ซึ่งต้องบอกว่าจับจุดของเป้าหมายของแคมเปญได้ดีเลยทีเดียว ในแง่ของการที่ต้องการเตือนผู้คนบนโลกออนไลน์ว่ามันมีอะไรดีๆ ให้อ่านอีกเยอะบนอินเทอร์เน็ต มากกว่าข่าวหลอกที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนอเมริกันอ่านหนังสือกันน้อยอย่างต่อเนื่อง มีประมาณ 73% ที่บอกว่าพวกเขาอ่านหนังสือล่าสุดคือเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว ซึ่งไม่ได้ต่างจากปี 2012 เท่าไหร่ และจากการเพิ่มขึ้นของอีบุ๊ค 65% บอกว่าพวกเขาอ่านหนังสือที่เป็นเล่มครั้งสุดท้ายนั้นเกิน 12 เดือนมาแล้ว ซึ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่ม Millennials ที่ 88% บอกว่าอ่านหนังสือครั้งสุดท้ายเกิน 12 เดือนมาแล้วเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามแคมเปญนี้ไม่ได้ทำให้คนอ่านหนังสือมากขึ้นนักหรอก เพราะพวกเขาก็อ่านเรื่องชาวบ้านและข่าวไร้สาระบนอินเทอร์เน็ตกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่คุณค่าของมันคือมันช่วยให้คนกลับมาสนใจบทประพันธ์ชั้นดีอีกครั้ง ในรูปแบบการเรียกร้องความสนใจที่ทันสมัยและถูกที่ถูกเวลา เพราะต่อให้เราถามตัวเองว่าทุกวันนี้ที่ตวัดเมาส์ไปมา หรือถูไถหน้าจออย่างบ้าคลั่งเพื่อกดอ่านนู่นนี่บนอินเทอร์เน็ต คุณจะดีใจที่เจออะไรมากกว่ากันระหว่างข่าวปลอม กับนวนิยายอมตะ?

Source

แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like