HomeInsightแบรนด์ไม่ควรเมิน “Crowd-culture” เมื่อวัฒนธรรมฝูงชน ลุกฮือปกป้องสิทธิตนเอง

แบรนด์ไม่ควรเมิน “Crowd-culture” เมื่อวัฒนธรรมฝูงชน ลุกฮือปกป้องสิทธิตนเอง

แชร์ :

crowd-culture-resize

ข่าวที่ปรากฏตามหน้าสื่อต่างๆ เวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนมาแรงไปกว่าเหตุการณ์ลูกนายพล กับแฟนดารา ที่สังคมกำลังเฝ้าจับตามอง และมีการแชร์ข้อมูลกันมากมายบนสื่อสังคมออนไลน์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หรือย้อนไปก่อนหน้านั้น ทันทีที่คลิปวีดีโอเหตุการณ์เจ้าของรถมินิคูเปอร์ ใช้กำลังทำร้ายร่างกายและข่มขู่คนขับขี่รถจักรยานยนต์ ถูกแชร์ขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ เพียงไม่นานกลายเป็นกระแสร้อนแรงที่คนในสังคมลุกขึ้นถามหาความยุติธรรมให้กับคนขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าว ที่ถูกกระทำเกินกว่าเหตุ

หรือในทุกวันนี้ เราจะเห็นข่าวผู้บริโภครวมตัวกันถามหาความรับผิดชอบและมาตรการเยียวยาจากแบรนด์สินค้า-บริการ เมื่อเกิดกรณีสินค้าหรือบริการมีปัญหา หรือเกิดความผิดพลาด จนสร้างความเสียหายแก่ผู้บริโภค

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเกิดขึ้นของเทรนด์ที่เรียกว่า “Crowd-culture” หรือ “วัฒนธรรมฝูงชน” สะท้อนให้เห็นว่าในโลกยุคดิจิตอล การพัฒนาด้านเทคโนโลยีทำให้ผู้คนเชื่อมต่อถึงกัน ยิ่งทุกวันนี้มีสื่อกลางอย่าง “Social Network” แพลตฟอร์มที่ทำให้คนในสังคมสามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร หรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ

ส่งผลให้คนเราสนใจเรื่องราวในสังคมมากขึ้น และพร้อมจะเป็นสายสืบโซเชียล ที่สืบเสาะแสวงหาข้อมูลของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่กำลังเป็นกระแสสังคม และนำมาตีแผ่ให้ได้รับรู้กันในวงกว้าง เพื่อร่วมกันเรียกร้อง “ความถูกต้อง” และ “ความยุติธรรม”

“Crowd-culture หรือวัฒนธรรมฝูงชน เป็นกระแสที่คนในสังคมช่วยกันปกป้องแบรนด์ที่เล็กกว่า หรือคนที่ด้อยกว่าที่ถูกเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความยุติธรรมจากอีกฝ่าย ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ที่แบรนด์ทั้งหลายต้องให้ความสำคัญ โดยถ้าแบรนด์ไหนไม่จริงใจต่อผู้บริโภค และวันหนึ่งเกิดทำผิดพลาดขึ้นมา แบรนด์นั้นจะถูกวัฒนธรรมฝูงชนรุมกระหน่ำ” คุณดั่งใจถวิล อนันตชัย, COO & MD INTAGE Thailand ฉายภาพวัฒนธรรมฝูงชน

นับวัน “Crowd-culture” จะปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่นักการตลาด และเจ้าของสินค้าต้องให้ความสำคัญ และไม่ควรเพิกเฉยกับกระแสมวลชน

แน่นอนว่าแบรนด์ก็เหมือนกับคน ที่ไม่อาจสมบูรณ์แบบได้ 100% ดังนั้นหากวันใดวันหนึ่งสินค้าหรือบริการเกิดปัญหา หรือความผิดพลาดบางอย่าง เจ้าของแบรนด์ต้องรีบบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า พร้อมทั้งนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน และนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ที่สำคัญ ในการดำเนินธุรกิจทุกวันนี้ ต้องมี “ความจริงใจ” ต่อผู้บริโภค ยิ่งผู้บริโภคยุคนี้เป็น “Prosumer” (Professional + Consumer) สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรต่างๆ ได้ง่ายขึ้น กว้างขวางมากขึ้น ดังนั้นความจริงใจ เมื่อผนวกเข้ากับการสื่อสารการตลาด จะทำให้แบรนด์สินค้าและบริการนั้นๆ เป็น “Brand Love” หรือแบรนด์ที่ผู้บริโภครักและผูกพัน มากกว่าเป็นแค่ Brand Loyalty

 

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 


แชร์ :

You may also like