HomeBrand Move !!เพราะชีวิตขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้…ส่งสัญญาณ “Social Commerce” ในไทยเติบโต

เพราะชีวิตขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้…ส่งสัญญาณ “Social Commerce” ในไทยเติบโต

แชร์ :

Mobile-Platform-Shopee_finished

ชีวิตประจำวันของคนไทยทุกวันนี้ ผูกติดกับสมาร์ทโฟน และเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ส่งผลต่อธุรกิจ E-Commerce ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจากช้อปปิ้งผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปสู่การใช้งานผ่าน “Mobile Platform” เพราะด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ที่ติดตัวเราตลอดเวลา จึงสะดวก รวดเร็ว และแต่ละฝ่าย ทั้งร้านค้า และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงกันได้ง่ายขึ้นดังตัวเลขสถิติของ We Are Social ดิจิทัลเอเยนซี่ของสิงคโปร์ จัดทำรายงาน Digital 2016 รวบรวมสถิติและพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Media ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย พบว่า…
– ปัจจุบันประชากรไทย 68 ล้านคน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 38 ล้านคน หรือคิดเป็น 56% ของประชากรรวมทั้งประเทศ
– มีผู้ใช้สมาร์ทโฟน 47 ล้านคน หรือคิดเป็น 69% ของประชากรทั้งหมด
– มีผู้ใช้ Social Media 38 ล้านคน
– มีผู้ใช้งาน Social Media ผ่านโทรศัพท์มือถือ 34 ล้านคน
– จำนวนเบอร์มือถือ หรือซิมการ์ดที่ลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 82 ล้านเบอร์
– คนไทยสั่งซื้อสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ 39%
– สั่งซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน 31%

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ถึงแม้เวลานี้ สัดส่วนการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ ยังคงสูงกว่าผ่านสมาร์ทโฟน แต่จากตัวเลขดังกล่าวมีช่องว่างห่างกันไม่มากนัก จึงเชื่อว่าอีกไม่นาน พฤติกรรมคนไทยต่อการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ จะทำผ่าน Mobile Platform มากขึ้น

ที่สำคัญ Mobile Platform นี้ จะเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทย ปรากฏภาพของ “Social Commerce” ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของ E-Commerce นั่นคือ การเอา Social Media มา Integrate เข้ากับการให้บริการออนไลน์ ช้อปปิ้ง เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย กับผู้ซื้อได้เร็วขึ้น ดีขึ้น

จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ E-Commerce ทั่วโลก รวมทั้งไทย ต่างพัฒนา Application ช้อปปิ้งสำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ นอกเหนือจากเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้ว

ตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จกับการทำตลาด Social Commerce คือ “Shopee” ผู้ให้บริการ Social Marketplace บนโทรศัพท์มือถือแบบผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค (C2C) ใน 7 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย โดยขณะนี้ Shopee ประเทศไทยมีสินค้ากว่า 2 ล้านชิ้น และมีผู้ใช้บริการกว่า 2 ล้านคน โดยเฉลี่ยเข้ามาดูสินค้า ไม่ต่ำกว่า 3 – 4 ครั้งต่ออาทิตย์

“ตลาด E-Commerce ในไต้หวัน เริ่มจาการซื้อขายผ่านคอมพิวเตอร์มาระยะหนึ่ง กระทั่งเมื่อสมาร์ทโฟนขยายตัว ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย้ายไปยัง Mobile Platform มากขึ้น ตรงกันข้ามกับตลาด E-Commerce ในประเทศไทย และอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันการใช้สมาร์ทโฟนเป็นที่แพร่หลาย ทำให้สเตปการเปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์ ไปสู่ Mobile Platform เกิดขึ้นเร็วกว่า

นอกจากนี้ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ในอดีต ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน แต่การเป็น Social Commerce ทำให้เกิด Interact ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับร้านค้าขนาดเล็ก ที่ยังไม่ได้มีชื่อเสียง เพราะทำให้ร้านค้ามีสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า มากกว่าการซื้อขายสินค้าโดยทั่วไปที่เมื่อลูกค้าซื้อเสร็จแล้วก็จบ ซึ่ง Shopee มีลักษณะความเป็น Social ที่สอดรับกับตลาด E-Commerce ในไทย ไม่ว่าจะเป็นการแชทแบบเรียลไทม์ การใส่แฮชแท็ก จึงทำให้เราเติบโตอย่างต่อเนื่อง” มร. เทเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Shopee ฉายภาพทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาด E-Commerce ในไทย

มร.เทเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Shopee

ล่าสุด Shopee เล็งเห็นอุปสรรคด้านการชำระเงินที่เกิดขึ้นในตลาด E-Commerce จึงได้ออกแบบ Shopee Guarantee เพื่อแก้ปัญหาการชำระเงิน และมอบความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ รวมทั้งเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ ที่ต้องการความโปร่งใสในการติดตามสถานะจัดส่งสินค้า จึงได้ร่วมมือกับไปรษณีย์ไทย จัดการขนส่งสินค้า ทำให้สามารถส่งมอบบริการที่ดีได้ตลอดกระบวนการซื้อของออนไลน์

พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในปีนี้ เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการและสินค้าให้เติบโตอีก 2 เท่าจากปัจจุบัน เป็น 4 ล้านคน และ 4 ล้านชิ้น รวมทั้งขยายตลาดไปยังหัวเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้น

“แน่นอนว่าการเป็น Application บนโทรศัพท์มือถือ มีขั้นตอนที่มากกว่าการใช้บริการผ่านคอมพิวเตอร์ เพราะผู้บริโภคต้องติดตั้ง Application ก่อน แต่เราพบว่าหลังจากดาวน์โหลด Application และเริ่มใช้บริการสั่งซื้อสินค้าแล้ว จะเกิด Loyalty ที่สูงกว่าการซื้อสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป้าหมายของ Shopee ต้องการเป็นหนึ่งใน Application หลักที่ผู้บริโภคเปิดใช้งานมากที่สุด” มร. เทเรนซ์ แพง กล่าวทิ้งท้าย

Shopee Resize


แชร์ :

You may also like