HomeFeaturedแนวคิดสุดเก๋ Anti-Packaging ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม

แนวคิดสุดเก๋ Anti-Packaging ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม

แชร์ :

anti packaging

เรารู้กันดีว่าการรีไซเคิลเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังมีผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งที่มองไกลกว่า พวกเขาเชื่อว่าการไม่มีของเสียให้รีไซเคิลตั้งแต่แรกดีที่สุด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ที่เบอร์ลิน, เยอรมนี มีร้านขายของร้านหนึ่งชื่อ Original Unverpackt เป็นร้านขายอาหารประเภทของชำทั่วไป ตัวร้านถูกออกแบบโดย Michael J. Brown นักออกแบบชาว Los Angeles ให้สวยเรียบแบบโมเดิร์นและแสดงออกถึงแนวคิด Precycling ได้อย่างสมบูรณ์ บนความเชื่อที่ว่าคุณไม่จำเป็นต้องกำจัดขยะ ถ้าคุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมาตั้งแต่แรก ถ้าไม่มีการใช้พลาสติก กระดาษ หรือเหล็ก คุณก็ไม่ต้องหาวิธีจัดการกับมันทีหลัง

คนส่วนใหญ่มาที่นี่โดยปั่นจักรยาน พร้อมถือถุงตาข่ายหรือกระเป๋าผ้าของตัวเองมาด้วย และเลือกซื้อของที่พวกเขาต้องการที่เรียงรายอยู่ตามชั้นข้างกำแพง เช่น เมล็ดถั่ว หรือธัญพืชต่างๆ ชั่งตวงใส่กระป๋อง หรือขวดที่พวกเขาเอามาเอง เลือกรินน้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู ซอสถั่วเหลืองใส่หม้อที่เตรียมมาเองเช่นกัน ลูกค้าคนหนึ่งเลือกผลไม้อบแห้งอยู่และพบว่าเมล็ดภายในของมันหลุดออกมา เธอไม่รู้จะทำยังไงกับมันเพราะในร้านไม่มีทั้งทิชชู่และถังขยะ เธอจึงตัดสินใจเก็บเมล็ดนั้นใส่กระเป๋าเพื่อไม่ก่อขยะในการช้อปปิ้งครั้งนี้

เป็นเวลากว่า 20 ปีที่เอเยนซี่ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแนะนำให้โลกได้รู้จักกับแนวคิด Precycling แต่ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน ปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากในยุโรปที่เป็นเจ้าของกิจการที่มีจริยธรรมและมีหัวใจด้านอนุรักษ์พยายามเปลี่ยนวิธีการช้อปปิ้งโดยนำเสนอร้านค้าแบบใหม่ที่ถูกวางระบบมาเป็นอย่างดี ในยุคสมัยที่พวกเราถูกตามใจจนเคยตัว และคุ้นชินกับการมีตัวเลือกมากมายในร้านขายของชำ แค่จะเลือกซื้อบะหมี่ก็มีหลายยี่ห้อให้ตัดสินใจ แต่ทฤษฎีนี้จะทำในสิ่งที่เชยเฉิ่ม คือมีตัวเลือกเพียง 1 หรือ 2 จากเจ้าของร้านเท่านั้น “มีข้าวเพียงแบบเดียวเท่านั้นในร้านของฉัน เพราะฉันไม่ต้องการให้มีการต่อสู้ของข้าวเกิดขึ้นในร้าน ฉันเลือกให้คุณแล้ว” Andrea Lunzer หนึ่งในเจ้าของร้านแนวใหม่นี้เปิดเผย 

ร้านของ Lunzer ออกแบบอย่างสวยงาม และมี Kathrina Dankl ดีไซน์เนอร์คนเก่งมาช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์การซื้อสินค้าให้กับลูกค้าของเธอ “เราอยากให้มันหรูหราและเป็นมิตร เพราะนี่คือวิธีใหม่ในการที่คุณจะเลือกช้อปปิ้ง ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิธีมันง่ายมาก เหมือนที่คุณยายเราคุ้นเคยในสมัยก่อน เวลาที่ท่านไปร้านขายของชำแถวบ้านที่สนิทกัน เราแค่ทำให้มันเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ให้เป็นที่ที่คุณจะสามารถตามใจตัวเองได้เหมือนเคย แต่มีสติในการซื้อแต่ละอย่างมากขึ้น”

Judit Vidal และ Iban Àlvaro เป็นอีกคู่หนึ่งที่เปิดร้านขนาดใหญ่ถึง 12 ร้าน ประสบการณ์ด้านศิลปะและสถาปัตย์ช่วยให้พวกเขาออกแบบร้านค้าปลีกของเขาในแบบที่ต่างออกไป โถใส่คาราเมล เมล็กพืช น้ำมันมะกอก และน้ำผึ้งถูกจัดวางเอาไว้บนชั้นในระดับสายตา ในโหลแก้วใสไร้ซึ่งฉลากและบรรจุภัณฑ์ใดๆ ปล่อยให้สี และรูปทรงของมันโฆษณาตัวมันเอง ของบางอย่างอยู่บนชั้นสูง ที่ต้องปีนบันไดขึ้นไป เพิ่มสีสันในการช้อปให้กับกลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่คนอายุเยอะก็ตั้งหน้าตั้งตาอยู่กับการกะปริมาณสิ่งของที่จะซื้อให้พอดีกับที่พวกเขาต้องการจริงๆ  

นอกจากนั้นยังมีร้านของ Gérard Bellet และ Jean Bouteille ที่ให้ลูกค้าของพวกเขารินน้ำส้มสายชู ไวน์ หรือน้ำยาซักผ้าใส่ขวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลูกค้าต้องจ่ายค่าขวดเพียงเล็กน้อยและนำไปใช้ หลังจากนั้นทำความสะอาดและนำกลับมาซื้อของที่ร้านได้อีกจนกว่ามันจะแตก

ข้อดีอีกอย่างของร้านแบบนี้คือทำให้เรารู้ตัวว่าจริงๆแล้วเรากำลังมองหาอะไรกันแน่ อะไรคือสิ่งที่เราต้องการซื้อจริงๆ แพคเกจสวยๆ หรือสิ่งที่อยู่ข้างใน? ทุกวันนี้แพคเกจจิ้งบดบังคุณค่าที่แท้จริงอันสวยงามของอาหารที่เรากำลังมองหาไปหมด นี่คือทางเลือกหนึ่งในการช้อปปิ้งที่เราได้คิดมากกว่าเดิมอีก 1 ขั้น เพียงแค่ต้องปรับพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สินค้าแทบทุกประเภทสามารถนำถูกขายด้วยวิธีนี้ได้ แค่ปรับให้เหมาะสมกับขนาดและรูปร่างของมัน เช่นที่ร้านหนึ่งขายเส้นสปาเกตตี้โดยให้ลูกค้าใส้ถุงมือแล้วหยิบมันไปจากโถแก้วตามจำนวนที่ต้องการ

มันทำให้เราย้อนกลับมาคิดดอีกครั้งว่าทำไมของหลายๆ อย่างในปัจจุบันต้องห่อหุ้มอย่างแน่นหนาภายใต้วัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครจับเมล็ดกาแฟจนกว่ามันจะถูกชง แต่เราก็ยังคุ้นชินกับการซื้อของที่ถูกบรรจุอยู่ในสิ่งที่ต่อไปก็ต้องกลายเป็นขยะ ร้านค้าปลีกใหญ่ๆ ในอเมริกายังคงเถียงว่าเรื่องนี้ทำให้จริงจังกว่านี้ในระดับโลกได้ยาก แต่มันก็เกิดขึ้นในอย่างจริงจังแล้วในยุโรป นอกจากจะลดขยะที่ย่อยสลายยากแล้ว การขายแบบนี้ยังเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้ซื้อของในปริมาณที่พวกเขาต้องการจริงๆ ไม่ใช่ซื้อตามปริมาณที่แพคเกจจิ้งกำหนด นับเป็นแนวทางใหม่ที่น่าสนใจและช่วยโลกได้ดีทีเดียว

Source


แชร์ :

You may also like