HomeDigitalเปิดตัว KBTG Vietnam พร้อมภารกิจใหญ่ ดันผู้ใช้ “K+ เวียดนาม” แตะ 1.3 ล้านรายในสิ้นปี

เปิดตัว KBTG Vietnam พร้อมภารกิจใหญ่ ดันผู้ใช้ “K+ เวียดนาม” แตะ 1.3 ล้านรายในสิ้นปี

แชร์ :

kbtg vietnam 01

คุณวรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman, KBTG

ส่องกลยุทธ์ Digital Banking ของ ธนาคารกสิกรไทย ผ่านทัพใหญ่อย่าง KBTG ที่ล่าสุด เปิดตัว KBTG Vietnam ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามแล้วเรียบร้อย พร้อมประกาศปั้นทีมนักพัฒนารุ่นใหม่ ดันสู่การเป็น IT Hub ระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนธนาคารกสิกรไทย รวมถึงตั้งเป้าเป็นบริษัทเทคโนโลยีอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง “กสิกรไทย” ที่ตัดสินใจไปปักธงสร้างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มอีกหนึ่งแห่งใจกลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยตั้งอยู่ในตึก Friendship Tower ชั้น 21 และปัจจุบันมีพนักงานแล้วกว่า 100 ชีวิต โดยที่ 99% เป็นชาวเวียดนามในชื่อ KBTG Vietnam

คุณธนุสศักดิ์ ธัญญสิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ KBTG Vietnam เผยว่า ภารกิจสำคัญของ KBTG Vietnam คือการพัฒนาซอฟต์แวร์ และสร้างนวัตกรรมทางการเงินเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย และลูกค้าธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมถึงตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดย KBTG Vietnam ถือเป็นบริษัทสาขาที่ 3 ของ KBTG ในทวีปเอเชีย รองจาก KBTG ในไทย และ K-Tech ในเซินเจิ้น ประเทศจีนที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้

คุณธนุสศักดิ์ ธัญญสิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ KBTG Vietnam

สำหรับความโดดเด่นของตลาดแรงงานเวียดนามจนทำให้ KBTG ต้องตัดสินใจไปเปิดสำนักงานในเวียดนามนั้น คุณวรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman, KBTG ให้ความเห็นว่า เป็นเพราะเวียดนามมีบุคลากรด้านไอที และนักศึกษาสาขา STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematic) เป็นจำนวนมาก (มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าวมากกว่า 10,000 คนต่อปี) และมีวัฒนธรรมการทำงานที่คล้ายคลึงกับเมืองไทย จึงมองว่าเป็นโอกาสในการเฟ้นหานักพัฒนารุ่นใหม่เข้ามาเสริมทีม พร้อม ๆ กับการขยายตลาดไปยังเวียดนาม ซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตและขับเคลื่อนด้วยคนหนุ่มสาวครั้งสำคัญ

ในแง่ของการทำงาน KBTG Vietnam จะทำงานร่วมกับทีม KBTG จากไทย และ K-Tech ที่เมืองจีน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีบล็อกเชน, AI, Coding Methodology ซึ่งการทำงานร่วมกันจะทำให้ทีมมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างรวดเร็ว และเป็นส่วนหนึ่งของแผนของการก้าวขึ้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับภูมิภาค (Regional Tech Company) ของ KBTG ภายในปี 2568 หรืออีก 2 ปีจากนี้ด้วย

KBTG vietnam

บรรยากาศภายใน KBTG Vietnam

ดันยอด K Plus ในเวียดนามแตะ 1.3 ล้านราย

สำหรับแอปพลิเคชัน K Plus ซึ่งมีผู้ใช้งานในประเทศไทยมากกว่า 20 ล้านแอคเคาน์นั้น ในประเทศเวียดนามพบว่าเพิ่งเปิดตัวได้ประมาณ 1 ปีและมีผู้ใช้งานแล้ว 600,000 ราย โดยทางธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้งานเพิ่มเป็น 1.3 ล้านรายในปีนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.4 ล้านรายในปี 2027

ในส่วนของการแข่งขัน คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล Group Chairman, KBTG ให้ทัศนะว่า ตลาดเวียดนามเป็นตลาดที่กำลังเติบโต และผู้คนมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ ทางเลือกใหม่ ๆ ในการเข้าถึงบริการทางการเงิน จึงมองว่า K Plus ไม่ใช่การแข่งขันกับเจ้าตลาด แต่เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งการจ้างพนักงานชาวเวียดนามจะทำให้เข้าใจอินไซต์ของคนเวียดนามได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถพัฒนาโปรดักท์ได้ตรงใจชาวเวียดนามมากขึ้น โดยในการแถลงข่าวเปิดตัว KBTG Vietnam จะสังเกตได้ว่า อินเทอร์เฟสของ K Plus ในเวียดนามจะแตกต่างจาก K Plus ของไทยระดับหนึ่ง

kbtg vietnam 03

อินเทอร์เฟสของ K Plus Vietnam

“มีหลายอย่างที่คนเวียดนามต่างจากคนไทย เช่น การเล่นเกมออนไลน์เป็นเรื่องปกติของคนเวียดนาม ขณะที่ไทยอาจเล่นในกลุ่มเด็ก หรือกรณีที่เขาไม่มีประสบการณ์การใช้งาน Internet Banking แบบคนไทย พวกเขาเริ่มต้นก็เป็น Mobile Banking เลย นอกจากนั้นบริการแชทที่คนเวียดนามนิยมใช้ก็แตกต่างจากไทยที่ใช้ LINE แต่ในเวียดนามก็มีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเองชื่อ Zalo เหล่านี้เป็นความแตกต่างที่ต้องศึกษาก่อนจะบุกตลาด”

นอกจากนี้ การเปิดบัญชีธนาคารของเวียดนามยังสามารถทำได้ผ่าน e-KYC ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน โดยทางผู้บริหาร KBTG มองว่า การที่ชาวเวียดนามเข้าถึงดิจิทัลได้สูงมากนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินดิจิทัลได้อีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจใน AEC+3 มีความสำคัญในการเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยประชากรวัยหนุ่มสาว และมีการขยายตัวของดิจิทัลไลฟ์สไตล์ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโตต่อไปได้ในระยะข้างหน้า การขยายบริการด้วยการใช้กลยุทธ์ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล (Regional Digital Expansion) ที่เน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เสริมทัพทีมงาน การลงทุนในสตาร์ทอัพ และกิจการในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ จะทำให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3  พร้อมเป้าหมายการเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามได้ภายในปี 2570

คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

AI-First สมรภูมิถัดไปของ KBTG

แต่ภารกิจของ KBTG ไม่จบแค่การเป็น Tech Company เบอร์หนึ่งของภูมิภาค เพราะพวกเขายังต้องเจอกับความท้าทายของโลกอนาคตที่มี AI ขับเคลื่อนรออยู่ไม่ต่างจาก Tech Company อื่น ๆ โดยคุณกระทิงอธิบายภาพของความท้าทายนี้ว่า

“โลกตอนนี้กำลังเปลี่ยนจาก Mobile-First ไปเป็น AI-First สำหรับ KBTG เราผ่านมา 3 เวฟแล้ว เวฟแรกคือ Data-Driven Transformation เวฟสองคือ Automation-First Transformation คือทำระบบออโตเมชัน 6 ระบบเพื่อการใช้งานในองค์กร ซึ่งทำให้บริษัทมี Productivity เพิ่มขึ้นกว่า 20,000 Mandays”

คุณกระทิง kbtg

คุณเรืองโรจน์ พูนผล Group Chairman, KBTG

“ตอนนี้เรากำลังอยู่ในเวฟที่สาม คือการทำ AI-First Transformation ซึ่งหมายความว่า เราจะนำ AI ไปใส่ใน developer pipeline เพื่อให้นักพัฒนาหนึ่งคนสามารถทำงานได้เท่ากับ 10 คน ซึ่งถ้าเรามีนักพัฒนา 2,000 คนก็จะเท่ากับเรามีนักพัฒนา 20,000 คน มันคือการนำ AI มาทำให้คนของเรา Productive มากขึ้น

“สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น Github Co-Pilot ซึ่งจะช่วยให้เขียนโปรแกรมเร็วขึ้น สาเหตุที่เราต้องทำเพราะลองคิดดู หากเราจะไปบุกอินโดนีเซีย ที่มีประชากร 240 ล้านคน แต่เรามีพนักงานไม่กี่พันคน เราจะชนะในอินโดนีเซียได้อย่างไร เราจึงต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้นักพัฒนาของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น”

อีกส่วนหนึ่งคือการนำ AI Chatbot เข้ามาใส่ในโปรดักท์ของ KBTG ซึ่งคุณกระทิงเผยด้วยว่า ปัจจุบัน คอลล์เซนเตอร์ของกสิกรไทย เมื่อนำ AI มาช่วย สามารถประหยัดเวลาให้ลูกค้าได้ 300,000 ชั่วโมงต่อปี และ 84% ของแชททราฟิกเกิดขึ้นบน ThaiNLP (KBTG พัฒนาแบบ In-House) และบริษัทมีแผนจะต่อยอด ThaiNLP ไปเป็น K-GPT (Knowledge GPT) ต่อไป

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจาก Demographic ของเวียดนาม และการมี Tech Talent จำนวนมาก คุณกระทิงคาดการณ์ว่า เวียดนามกำลังอยู่ในช่วงของ Digital Leapfrog ครั้งสำคัญ โดยมีประเทศอินโดนีเซียตามมาติด ๆ

“จากการลงทุนใน Tech Startup ในหลาย ๆ ประเทศของอาเซียนทำให้ผมได้เห็นว่า สตาร์ทอัพเหล่านี้เก่งมาก และเริ่มมีวิธีคิดที่แตกต่างออกไปเรื่อย ๆ และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องก้าวให้ทัน” คุณกระทิงกล่าวปิดท้าย


แชร์ :

You may also like