HomeInsightปีแห่งความหวัง! สรุป 4 เรื่อง พฤติกรรมคนไทย ‘ใช้ชีวิต-จับจ่าย-เสพสื่อ’ และโอกาสของนักการตลาด    

ปีแห่งความหวัง! สรุป 4 เรื่อง พฤติกรรมคนไทย ‘ใช้ชีวิต-จับจ่าย-เสพสื่อ’ และโอกาสของนักการตลาด    

แชร์ :

งาน GroupM FOCAL 2023 จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 เพื่ออัพเดทเทรนด์ผู้บริโภคและการเสพสื่อ พร้อมสรุปผลวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคประจำปี Consumers Untold หลังยุคโควิด-19 คนไทยมองว่าปีนี้คือปีแห่งความหวัง หลังมีรัฐบาลใหม่ และจะเป็นปีที่ดีกว่าเดิม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การวิจัย Consumers Untold  สำรวจผู้บริโภคทั่วประเทศกว่า 2,600 คน ใน 29 จังหวัด และสัมภาษณ์เชิงลึก 200 คน  ทั้งผู้บริโภค กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำทางความคิด เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทัศนคติ การเลือกที่จับจ่ายซื้อของ และความสำคัญของอินเทอร์เน็ตกับคนไทย โดยสำรวจช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2566

ไฮไลต์ของวิจัย Consumers Untold 2023 คุณณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์  ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด และคุณแพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ร่วมกันสรุปอินไซต์ ของคนไทยไว้ 4 ประเด็นสำคัญดังนี้

1. Life การใช้ชีวิตของผู้บริโภค : มีมุมมองว่าปี 2023 เป็นที่ดีขึ้น เป็นปีแห่งความหวัง

– จากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นหลังโควิดจบแล้ว ผู้คนไม่กังวลหรือกลัวโควิดอีกต่อไปและออกไปใช้ชีวิตปกติ

– การท่องเที่ยวกลับมา โดยเฉพาะตลาดจีน ยุโรป ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในประเทศมากขึ้น  เศรษฐกิจดีขึ้น

– ประเทศไทยกำลังจะมีรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกมีความหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ๆ มองว่าปีนี้เป็นจังหวะที่ดีของการเริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ หลังจากต้องหยุดไปในช่วงโควิด-19

– ชีวิตที่ดีขึ้น จึงมั่นใจในการจับจ่ายใช้เงินมากขึ้น ทั้งการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้รางวัลกับตัวเอง หลังชะลอจับจ่ายในช่วงโควิด

เทคโนโลยีที่ดีขึ้นและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G 5G เข้าถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้คนต่างจังหวัดใช้เทคโนโลยีพัฒนาอาชีพตัวเองได้มากขึ้น อย่าง เกษตรกร มีช่องทางในการขายผลผลิตทางการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาและมีโอกาสได้เจอกับผู้ผลิตโดยตรง ที่ให้ราคาดีขึ้นรวมทั้งถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ในการผลิต ส่วนสินค้าสำเร็จรูปของชุมชนก็สามารถขายในต่างประเทศได้ผ่านช่องทางออนไลน์

ในมุมลบของเทคโนโลยีก็มีเช่นกัน เช่น ภัยจากมิจฉาชีพหลอกลวงทางออนไลน์  แก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ การแฮกข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย ที่สร้างความกังวลให้คนไทยในปีนี้

2. Media การใช้สื่อ 

The Media of Now พฤติกรรมการเสพสื่อประเภทต่างๆ ของผู้บริโภค

– Short Form Content  คอนเทนต์คลิปสั้นๆ บนแพลตฟอร์ม : Facebook / TikTok

– Long Form Content  คอนเทนต์ยาว บนแพลตฟอร์ม :  YouTube / Netflix / TV

– Music เพลง : YouTube / Spotify

– News ข่าว : Facebook /Twitter / YouTube / Google / เว็บไซต์ / TikTok

– Still Content : (นิตยสาร หนังสือพิมพ์) : Facebook /เว็บไซต์ / Instagram

Top App 2023 ที่คนไทยใช้มากที่สุด

– News ข่าวสาร : TikTok / Instagram /Twitter /TV / Facebook (TikTok และ Instagram ใช้มากกว่า 60%)

– Communication การสื่อสาร  :  LINE / Messenger/  Instagram /Telegram (LINE ใช้มากกว่า 60%)

– Entertainment บันเทิง : TikTok / YouTube / Netflix / แอพละเมิดลิขสิทธิ์ (TikTok และ YouTube ใช้มากกว่า 60%

– Finance การใช้เงิน : Krungthai /SCB /Kbank / True Wallet/  MyMo

– Shopping ซื้อสินค้า : Shopee /Lazada /Facebook / Instagram /TikTok

– Delivery บริการเดลิเวอรี่ : Grab / LINEMAN / 7-eleven

ผู้บริโภคไทยเข้าถึงคอนเทนต์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ทั้งจากสื่อหลักและผู้คนทั่วไปที่สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มต่างๆ โดยเลือกเสพคอนเทนต์แบบที่ตัวเองชอบ ยังดูคอนเทนต์จาก “ทีวี” ย้ำว่าทีวีไม่ตาย แต่เลือกดูคอนเทนต์ทีวีจากแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สะดวก นิยมดูคอนเทนต์ที่ผลิตใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ซิทคอม ละคร หนัง หากเป็นคอนเทนต์รีรันจะดูลดลง

ปีนี้สนใจคอนเทนต์คลิปสั้นๆ ดูง่าย ไฮไลต์ เช่น ละครสั้น ละครคุณธรรม ใน TikTok Facebook เพราะต้องใช้เวลาทำงานอย่างอื่นด้วย จึงไม่ต้องการใช้เวลานานเพื่อดูคอนเทนต์ยาว

จากเดิมที่ติดตามดารา นักแสดง ยุคนี้สนใจติดตาม “อินฟูลเอนเซอร์” ท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของตัวเอง นอกจากนี้นิยมดูคอนเทนต์ต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ Fandom เพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นกลุ่มที่พร้อมสนับสนุน ไอดอล ศิลปิน ดารา ที่ชื่นชอบ

สิ่งที่ต้องระวังคือการใช้สื่อโฆษณาซ้ำๆ ทำให้คนรู้สึกว่าถูกยัดเยียด ไม่เชื่อมั่นในแพลตฟอร์มรวมถึงแบรนด์และเริ่มรู้สึกว่าโฆษณาที่ส่งมาให้มีความไม่จริงใจ ดังนั้นแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง จึงไม่สามารถทำให้คนเชื่อได้อีกต่อไป เพราะคนจะสลับการใช้งานระหว่างแพลตฟอร์มเพื่อหาข้อมูลตลอดเวลา

3. Money การใช้เงิน  

– Money In ได้รับเงิน : หลังโควิดรายรับของผู้บริโภคมาจากงานหลัก งานประจำแล้ว หลังจากช่วงโควิดตกงาน หรืองานหลักรายได้ลดลง ทำให้ต้องหางานเสริม ด้วยการทำออนไลน์ ส่งเดลิเวอรี่  แต่หากมีโอกาสก็จะหารายได้เสริม เช่น การลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล เทรดหุ้น

– Money Out การใช้เงิน : คนไทยยังใช้เงินผ่านบัตรประชารัฐ เพราะเป็นของฟรีและมีเข้ามาทุกเดือน เห็นว่าช่วยค่าครองชีพได้ส่วนหนึ่ง ปีนี้คนไทยยังชอบซื้อล็อตเตอรี่เหมือนเดิม แต่ซื้อเพื่อความสนุกและได้ลุ้น ต่างจากช่วงโควิด ที่ซื้อเพื่อความหวัง

– Money Where  แหล่งใช้เงิน  : เดลิเวอรี่ จากการสะดวกสั่งได้ตลอดเวลา,  ช้อปปิ้งออนไลน์ เน้นได้ส่วนลดและโปรโมชั่น,  ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านหลังโควิด การสำรวจในเดือนมีนาคม พบว่าแคชเชียร์เก็บเงิน 1 เครื่อง ทำยอดได้ 1 แสนบาทต่อวัน  ขณะที่ช่วงโควิดอยู่ที่ 50,000 บาทต่อวันต่อเครื่อง, ร้านค้า นิยมมาซื้อสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น, ตลาดสด อยากได้ประสบการณ์หรือของแปลกๆ เช่น จ๊อดแฟร์

4. โอกาสสำหรับนักการตลาด

– Be Human : แม้ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือตลาดจำนวนมาก แต่ผู้บริโภค คือ คน จึงต้องมีกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพูดคุยกับคนได้อย่างถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา

– Smart Strategy Wins : การนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวางกลยุทธ์ได้ตรงกับความต้องการ ความสนใจ ของแต่ละกลุ่ม ใช้เครื่องมือออนไลน์และออฟไลน์ไปด้วยกัน

– Media & Content Come Together : การใช้สื่อและสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้โดนใจ ถูกที่และถูกเวลา เพื่อให้ผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์

– Branding is Key  การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ในระยะยาว และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like