HomeBrand Move !!รู้จัก “Neuro11” ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองผู้ผนึกกำลังกับลิเวอร์พูลจนคว้าถ้วย FA Cup มาครองสำเร็จ

รู้จัก “Neuro11” ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองผู้ผนึกกำลังกับลิเวอร์พูลจนคว้าถ้วย FA Cup มาครองสำเร็จ

แชร์ :

neuro11 liverpool

ความสำเร็จของลิเวอร์พูลในการใช้ศาสตร์ Data Analytics เกิดขึ้นอีกครั้งกับนัดสำคัญกับการชิงถ้วย FA Cup ที่พวกเขาร้างลามานานถึง 16 ปี และเป็นนัดที่พวกเขาต้องเจอกับเชลซี คู่ปรับเก่า ซึ่งชัยชนะในศึกนัดนี้ Jurgen Klopp ถึงกับยกความสำเร็จให้กับ Neuro11 บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านสมองสัญชาติเยอรมนีกันเลยทีเดียว และนั่นอาจทำให้หลายคนสงสัยว่า Neuro11 เป็นใคร และเข้ามาช่วยลิเวอร์พูลได้อย่างไร รวมถึงช่วยในรูปแบบไหน นั่นคือสิ่งที่เราต้องไปติดตามกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Neuro11  ผู้ใช้ Data ด้านสมองเสริมแกร่งให้ฟุตบอล

Neuro11 นิยามตัวเองว่าเป็นบริษัทด้านประสาทวิทยาสำหรับวงการกีฬามืออาชีพ ซึ่งสะท้อนว่าจุดเด่นของพวกเขาไม่ได้เน้นที่การพัฒนาความแข็งแกร่งทางด้านร่างกาย หากแต่เป็นการพัฒนาความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ และการดูแลสมองให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Neuro11 ก่อตั้งขึ้นโดย 3 ผู้เชี่ยวชาญใน 3 สาขา นั่นคือ ดร.Niklas Hausler ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา, Patrick Hantschke อดีตนักฟุตบอลเยาวชนของบุนเดสลีกา และ ดร. Fabian Steinberg ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และวิทยาศาสตร์การกีฬา

การทำงานของทีม Neuro11 คือการเก็บข้อมูลจากนักฟุตบอล โดยจะมีสายรัดศีรษะ และชุดอุปกรณ์ให้นักกีฬาสวมเอาไว้ จากนั้นก็จะมีแบบทดสอบเกี่ยวกับการยิงลูกโทษต่าง ๆ ให้ทดสอบว่าตอนที่ยิงลูกโทษนั้น การทำงานของสมองนักเตะอยู่ในจุดที่เรียกว่า “In The Zone” หรือไม่

การศึกษาการทำงานของสมองนักเตะนี้ยังทำให้พวกเขารู้ด้วยว่า ต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้สมองของนักเตะไปถึงจุดที่ทีมโค้ชเรียกว่า In the zone ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้น ทีมงาน Neuro11 จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมองนักเตะในขณะเตะลูกโทษไปวิเคราะห์ต่อ รวมถึงใช้ข้อมูลนั้นปรับปรุงประสิทธิภาพในการยิงลูกโทษให้ดีขึ้น ซึ่ง Neuro11 ระบุไว้ในเว็บไซต์ของพวกเขาว่า มันคือการทำให้นักเตะทราบถึงบทบาทของสมองมีต่อสมรรถภาพทางกีฬาระดับสูง และสอนวิธีควบคุมสิ่งเหล่านั้นเป็นประจำ “ทุกวัน” 

ทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้นักเตะสามารถรับมือกับแรงกดดันในการยิงลูกโทษในศึกนัดสำคัญได้แบบ “อัตโนมัติ” เลยนั่นเอง

Pepijn Lijnders ผู้ช่วยของ Jurgen Klopp กล่าวถึงการทำงานร่วมกับ Neuro11 ว่า “การทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองทำให้รู้ว่า เราจะต้องช่วยนักเตะอย่างไรให้พวกเขาเข้าสู่จุด In the zone ซึ่งสำหรับนักเตะคนหนึ่งอาจเป็นการมองไปที่จุดเพียงจุดเดียว เช่น การมองไปที่ลูกบอล หรือมองไปที่จุดที่ต้องการจะยิง แต่นักเตะอีกคนอาจเป็นการมองทั้งจุดยิง และมองที่ลูกบอลสลับกันไปมา”

“นอกจากนั้น การเข้าสู่จุด In the zone ของนักเตะแต่ละคนก็ยังแตกต่างกัน โดยบางคนอาจเข้าสู่ภาวะนี้ได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกคนอาจใช้เวลานานกว่าก็ได้ สิ่งสำคัญคือการไม่ด่วนตัดสินว่านักเตะคนนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าคนนี้ หากแต่เป็นการปล่อยให้นักเตะทำความรู้จักตัวเอง และพัฒนาความแข็งแกร่งของจิตใจตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ”

และนั่นอาจเป็นเส้นทางการพิสูจน์บทบาทของการใช้ศาสตร์ด้านสมองร่วมกับศาสตร์ด้าน Data Analytics ในถิ่นแอนฟิลด์ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

เส้นทางเป็นนักฟุตบอลไม่ได้มีหนึ่งเดียว

อย่างไรก็ดี เมื่อมองในภาพรวมของเส้นทางการเป็นนักบอลมืออาชีพ Patrick Häntschke ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง Neuro11 รวมถึงยังเป็นอดีตรองแชมป์เยอรมัน B-Youth เมื่อปี 2004 กล่าวว่า อาจไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียว โดยเขาเล่าว่า เส้นทางของการประสบความสำเร็จของนักกีฬาชื่อดังหลายคนที่พอเริ่มเห็นแววในตอนเด็ก ก็มักได้รับการติดต่อจาก Youth Academy ชวนเด็กเหล่านี้ไปเข้าร่วม แต่ก็ทำให้เด็กเหล่านั้นต้องจากครอบครัวมาอยู่ที่ศูนย์ฝึกในสถานที่ห่างไกล หลายคนยอมละทิ้งโอกาสที่จะฉลองวันเกิดกับพ่อแม่ – เพื่อน รวมถึงละทิ้งชีวิตวัยเด็ก โดย Youth Academy อาจยอมให้กลับบ้านได้บ้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความกดดัน และการแข่งขันด้วย ซึ่งเขามองว่า ทั้งหมดนี้อาจเป็นเส้นทางของการเป็นนักฟุตบอลชื่อดังได้ก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปได้ถึงฝั่งฝัน

ตัวอย่างหนึ่งที่เขามองว่า ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงก็คือสถิติในการประสบความสำเร็จของนักกีฬาเยาวชน โดยมีเพียง 1 ใน 10 ของนักกีฬาจาก Bundesliga youth academy ที่สามารถก้าวขึ้นไปเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพได้ หรือแม้กระทั่งนักเตะทีมชาติชุด U18 ก็อาจมีนักเตะเพียงคนเดียว (ที่มีพรสวรรค์อย่างมาก) ที่จะก้าวเข้าไปอยู่ในลีกบุนเดสลีกาได้ ซึ่งในวันนี้ที่เขามองย้อนกลับไปในฐานะพ่อ เขารู้สึกว่ามันเป็นเส้นทางที่กดดัน และเสี่ยงต่อความผิดหวังสูงมากเช่นกัน

Patrick Häntschke จึงมองว่า อาจเป็นการดีกว่าหากจะให้ข้อมูลกับเด็กอย่างรอบด้านก่อนการตัดสินใจว่าจะเดินตามเส้นทางนี้หรือไม่ และยังมีเส้นทางอื่น ๆ อีกไหมในการเติบโตไปในเส้นทางสายฟุตบอลที่พวกเขารัก แต่ถ้าถามตัวเขาเอง เขาก็ยังรู้สึกคุ้มค่าที่จะเลือกเส้นทางของการเป็นนักเตะเยาวชน พร้อมบอกด้วยว่า เพื่อน ๆ ร่วมสถาบันหลายคนก็ตอบไปในทิศทางเดียวกัน

Source

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like