HomeDigitalคนไทยสายมั่น 51% เชื่อทักษะดิจิทัลของตนเองเพียงพอสำหรับการทำงานในปัจจุบัน

คนไทยสายมั่น 51% เชื่อทักษะดิจิทัลของตนเองเพียงพอสำหรับการทำงานในปัจจุบัน

Digital Skills Index ชี้คนไทยให้ความสำคัญกับการเข้ารหัสและความปลอดภัยทางไซเบอร์

แชร์ :

Technology concept with cyber security internet and networking, Businessman hand working on laptop, screen padlock icon on digital display.

รายงาน Digital Skills Index โดย Salesforce เผยมุมมองคนไทย ให้คะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลของตนเองที่ 48 จาก 100 เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยจากทั่วโลกที่ 33 คะแนน บุคลากรไทยมองว่า การเข้ารหัสและความปลอดภัยทางไซเบอร์ จัดเป็นทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานที่สำคัญที่สุดในอนาคตข้างหน้า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) ผู้ให้บริการระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เปิดผลสำรวจรายงาน Global Digital Skills Index ซึ่งชี้ให้เห็นวิกฤตทางด้านทักษะดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก นอกจากนั้น ตัวรายงานยังได้มีการสำรวจเพื่อชี้วัดความพร้อมด้านดิจิทัลของบุคลากรคนทำงานทั่วโลกกว่า 23,000 รายใน 19 ประเทศ รวมถึงผู้ร่วมตอบแบบสำรวจจากประเทศไทยกว่า 1,400 ราย เพื่อสำรวจมุมมองและทัศนคติของคนทำงานถึงความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลที่สำคัญสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน และในอีกห้าปีข้างหน้าด้วย

จากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจคนไทยมากกว่าครึ่งหรือ 51% รู้สึกว่าตนมีทักษะด้านดิจิทัลที่เพียงพอสำหรับการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่าเปอร์เซ็นเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก (40%)  อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ตอบแบบสำรวจคนไทยเกินครึ่งรู้สึกว่าตนมีความพร้อมในเชิงทักษะดิจิทัลในที่ทำงาน แต่มีเพียง 42% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลได้ นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยจำนวน 43% กำลังวางแผนที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลอย่างจริงจังในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย

Thailand - Workplace Digital Skills Readiness

คุณกิตติพงษ์​ อัศวพิชยนต์ รองประธานประจำภูมิภาคและกรรมการผู้จัดการ เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย กล่าวว่า “จากผลการศึกษาในครั้งนี้ คนไทยประเมินความพร้อมและทักษะทางด้านดิจิทัลเพื่อการทำงานของตนเองสูงกว่าผู้ร่วมการศึกษาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยเห็นได้จากผลคะแนนที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี”

“อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินตนเองนี้ก็ยังห่างจากคะแนนเต็มอยู่อีกมาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่องค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันให้เกิดการส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นให้แก่พนักงานและคนในวัยทำงาน ตลอดจนผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วประเทศอย่างจริงจัง ธุรกิจต้องส่งเสริมพนักงานของตนในการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากทักษะดิจิทัลที่จำเป็น ให้สามารถรับมือกับความต้องการด้านดิจิทัลและเตรียมความพร้อมสำหรับรูปแบบการทำงานในอนาคตที่ทุกกระบวนการต้องนำเอา Digital เข้ามาใช้เสมอ (Digital First) ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า”

คุณกิตติพงษ์​ อัศวพิชยนต์ รองประธานประจำภูมิภาคและกรรมการผู้จัดการ เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย

คุณกิตติพงษ์​ อัศวพิชยนต์ รองประธานประจำภูมิภาคและกรรมการผู้จัดการ เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย

พบช่องว่างทักษะทางดิจิทัลระดับโลก

แม้ช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลยังเป็นปัญหาที่เราต้องเผชิญ แต่ปัญหาดังกล่าวก็มาพร้อมโอกาสด้วยเช่นกัน ธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนมาใช้โมเดลที่เน้นดิจิทัลเป็นหลัก ส่งผลให้ความต้องการพนักงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นตามมา โดยจากภาพรวมรายงาน Salesforce Index ที่มีการสำรวจและให้คะแนนความพร้อมทางดิจิทัลจากการประเมินในแง่ของความพร้อม, ความชำนาญในทักษะ, ความสามารถในการเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการปรับระดับทักษะดิจิทัล เผยว่า มุมมองความพร้อมทางดิจิทัลของคนทำงานทั่วโลกให้คะแนนตัวเองเฉลี่ยอยู่ที่ 33 จาก 100 คะแนน โดยระดับคะแนนสูงสุดที่ได้คือ 63 และต่ำสุดคือ 15 คะแนน โดยคะแนนที่แตกต่างนี้เป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงความจำเป็นที่ธุรกิจจะต้องเร่งการลงทุนเพื่อปิดช่องว่างทางทักษะดิจิทัลและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมให้แรงงาน

Workplace Digital Skills Readiness in Thailand

ประเทศกำลังพัฒนามั่นใจในด้านความพร้อมทางดิจิทัลมากสุด

ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิเช่น ประเทศไทย อินเดีย เม็กซิโก และบราซิล มีความมั่นใจมากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วเกี่ยวกับอนาคตด้านดิจิทัลของพวกเขา โดยคนทำงานในประเทศอินเดียให้คะแนนความพร้อมด้านทักษะทางดิจิทัลของตนเองสูงที่สุด (63 จาก 100)    โดย 76% ของผู้ตอบแบบสำรวจในอินเดียรู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมด้านทักษะทางดิจิทัลสำหรับทำงาน และ 69% พร้อมต่อการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลใหม่ ๆ

สำหรับประเทศไทย ผู้ตอบแบบสำรวจให้คะแนนความพร้อมต่อทักษะทางดิจิทัลของตนเองสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 (48 จาก 100 คะแนน) โดย 51% ของผู้ตอบแบบสำรวจคนไทยลงความเห็นว่า ตนเองมีความพร้อมด้านทักษะทางดิจิทัลสำหรับการทำงาน และ 39% พร้อมต่อการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลใหม่ ๆ

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ รายงานจากองค์กร RAND Europe ในหัวข้อ  The Global Digital Skills Gap  ได้ระบุไว้ว่า ช่องว่างของทักษะทางดิจิทัลในการทำงานจะเป็นปัญหาทั่วโลก โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการกระจายแรงงานจะเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดช่องว่างทางทักษะของแรงงานในแต่ละประเทศ

ทักษะดิจิทัลสำหรับชีวิตประจำวันใช้กับงานไม่ได้เสมอไป

อย่างไรก็ดี สิ่งที่รายงานดังกล่าวระบุว่าควรเป็นข้อควรระวังก็คือ ทักษะดิจิทัลที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน อาทิ โซเชียลมีเดีย หรือการท่องเว็บ อาจไม่สามารถนำมาใช้แทนทักษะดิจิทัลสำหรับทำงานได้ เพราะการขับเคลื่อนการฟื้นตัวทางธุรกิจและส่งเสริมการเติบโตอาศัยทักษะดิจิทัลที่เจาะจงมากกว่านั้น

ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (83%), ภูมิภาคยุโรป (82%) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (70%) มีทักษะด้านโซเชียลมีเดียในระดับ ‘สูง’ หรือ ‘ปานกลาง’ แต่ก็มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น (31%, 24% และ 34% ตามลำดับ) ที่รู้สึกมีความพร้อมสำหรับทักษะดิจิทัลเพื่อการทำงานที่สำคัญและจำเป็นในอนาคตห้าปีข้างหน้า

shutterstock_social network facebook

ทักษะการใช้ Slack อาจ “จำเป็นกว่า”

จากรายงาน Salesforce Index พบว่า 63% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก มองว่าทักษะด้านเทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันอย่าง Slack เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่ธุรกิจกำลังต้องการในปัจจุบันและในอีก 5 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันผู้ตอบแบบสำรวจคนไทยมองว่า การเข้ารหัสและความปลอดภัยทางไซเบอร์ จัดเป็นทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานที่สำคัญที่สุดในอนาคตข้างหน้า ตามมาด้วยทักษะด้านอีคอมเมิร์ซและการค้าทางดิจิทัล, การบริหารด้านดิจิทัล, การตลาดรูปแบบดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน

ทั้งนี้ รายงาน Salesforce Index ยังเผยให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสำรวจที่อายุน้อยมีความมั่นใจ และความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มากกว่าผู้ตอบแบบสำรวจที่อายุมากกว่า โดยมากกว่าหนึ่งในสามของกลุ่ม Gen Z กำลังเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในอนาคตห้าปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับ 12% ของกลุ่ม Baby Boomers นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมีโอกาสที่จะหล่อเลี้ยงพนักงานที่มีศักยภาพสูงรุ่นใหม่ ผ่านการจัดหาโอกาสเรียนรู้ที่เหมาะสมให้พวกเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรม พร้อมทั้งเพิ่มความเท่าเทียม, การมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นผู้นำให้พนักงานเหล่านี้ในอนาคต

 


แชร์ :

You may also like