HomeSponsoredSCB เพิ่มฟีเจอร์ใหม่แอปแม่มณี “มณี โซเชียลคอมเมิร์ซ” ผ่อน-รูดบัตรเครดิตได้ ดันยอดขายแม่ค้าออนไลน์

SCB เพิ่มฟีเจอร์ใหม่แอปแม่มณี “มณี โซเชียลคอมเมิร์ซ” ผ่อน-รูดบัตรเครดิตได้ ดันยอดขายแม่ค้าออนไลน์

แชร์ :

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใน 1 – 2 ปีที่ผ่านมานั้น กระแสการค้าขายบนโลกอีคอมเมิร์ซ และโซเชียลคอมเมิร์ซของประเทศไทยได้รับการจับตาจากแพลตฟอร์มจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ยืนยันได้จากสถิติของ Euro Monitor ที่พบว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเมื่อปี 2020 นั้นมีมูลค่าถึง 2.2 แสนล้านบาท (คิดรวมทั้ง e-Marketplace และ Social Commerce) และมีแนวโน้มจะเติบโตจนสามารถแตะ 5 แสนล้านบาทได้ภายในปี 2024 เลยทีเดียว

สิ่งที่พบมากไปกว่านั้นก็คือ บรรดาแพลตฟอร์ม e-Marketplace อาจไม่ได้ครองส่วนแบ่งตลาดไทยเอาไว้ได้ทั้งหมด โดยข้อมูลจาก Shopline Thailand พบว่า คนไทยนิยมซื้อสินค้าจาก e-Marketplace ราว 35% เท่านั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ขณะที่แพลตฟอร์มแห่งความคึกคัก สีสัน ที่เป็นแหล่งรวมของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่กลับอยู่บนโลกโซเชียลคอมเมิร์ซ นำโดย Facebook (58%) LINE (35%) Instagram (21%) และ Twitter (11%) และคาดการณ์กันว่ามีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยู่บนโลกโซเชียลคอมเมิร์ซประมาณ 3 ล้านคนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี บนความคึกคักนั้น ก็มีความท้าทายซ่อนอยู่ โดยมีการเปิดเผยจากทีมงานแม่มณี ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ทำการศึกษากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยบนโซเชียลคอมเมิร์ซ พบว่า พวกเขากำลังเจอความท้าทายหลัก ๆ 8 ประการ นั่นคือ

1. ขายของออนไลน์มากกว่า 1 ช่องทาง

ความท้าทายประการแรกที่ทีมงานพบก็คือ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ได้ขายบนช่องทางเดียว แต่พวกเขา “ขายแทบทุกช่องทาง” ทั้ง Facebook, Instagram, LINE, TikTok, Shopee, Lazada ฯลฯ ซึ่งในฐานะร้านค้าก็ต้องมีการสร้างคอนเทนต์เพื่อโพสต์โปรโมตบนช่องทางเหล่านั้นกันตลอดเวลา

2. ทำเองคนเดียวทุกอย่าง ทั้ง Live, จดออเดอร์

SCB พบด้วยว่า ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซเหล่านี้มักทำโดยผู้ประกอบการตัวคนเดียว ทำให้ต้องจัดการภารกิจต่าง ๆ ทั้งการ Live (มักทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย) การจดออเดอร์ การทำคอนเฟิร์มลูกค้า แพ็กของส่งของ ฯลฯ ทำด้วยตัวเองทั้งหมด

3. โต้ตอบลูกค้าไม่ทัน

การมีช่องทางจำนวนมาก เมื่อยอดขายเข้ามาพร้อมกัน และทำอยู่คนเดียว สิ่งที่ทีมงานแม่มณีพบว่าเป็นความท้าทายของร้านค้าออนไลน์ข้อต่อไปก็คือ “ตอบแชทลูกค้าไม่ทัน” และอาจไม่มีความต่อเนื่องในการตอบ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ในการบริการที่ไม่ดี

4. ไม่มีระบบบริหารสต็อกสินค้า

เมื่อมีออเดอร์เข้ามาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ร้านค้าออนไลน์ต้องไล่ตอบแชทลูกค้าจนวุ่นวายแล้ว การตัดสินค้าจากสต็อกก็เป็นสิ่งที่มักทำผิดพลาดได้ง่าย ๆ เช่นกัน ร้านค้าหลายแห่งไม่ทันสังเกตุในจุดนี้ และรับออเดอร์เข้ามามากเกินกว่าที่สต็อกสินค้ามี ปัญหาเหล่านี้ยังทำให้การจัดส่งล่าช้าตามไปด้วยด้วย

5. ไม่มีตัวช่วยด้านการชำระเงินที่มากพอ

ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะ SCB พบว่า ปัจจุบัน ร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าราคาสูงนั้นมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มกระเป๋า – เสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง นาฬิกา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ในขณะที่ตัวช่วยด้านการชำระเงินของร้านค้าขนาดเล็กเหล่านี้กลับมีน้อยมาก โดยเฉพาะฟีเจอร์อย่าง “การผ่อนชำระ หรือตัดเงินผ่านบัตรเครดิต” ทำให้ร้านค้าขนาดเล็กเสียเปรียบร้านค้าขนาดใหญ่ หรือแพลตฟอร์มที่มีการลงทุนทำระบบเอาไว้รองรับได้นั่นเอง

6. ไม่มีตัวช่วยในการส่งสินค้า

ก่อนส่งสินค้า สิ่งที่ร้านค้าออนไลน์ต้องทำมีหลายขั้นตอน ทั้งการแพ็กของ เขียนที่อยู่ นำไปส่งที่ตัวแทนขนส่ง – ไปรษณีย์ ซึ่งขั้นตอนในการจัดส่งที่มากนี้เอง ทำให้ร้านค้าส่วนใหญ่จัดการแพ็กสินค้าไม่ทันต่อความต้องการ และทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี นำไปสู่การรีวิวร้านค้าที่ไม่ดีตามไปด้วย

7. ไม่มีเวลาอัปเดตความรู้

การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่คนทำงานให้ความสำคัญ เช่นเดียวกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการเวลาอัปเดตตัวเอง เช่น ออกไปเดินสำรวจตลาด หรือดูเทรนด์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ บ้างก็ไปลงเรียนในคอร์สถ่ายรูป ทำอาหาร เพิ่มเติมความรู้

แต่ทุกวันนี้ SCB เผยว่า การแข่งขันที่ดุเดือดของร้านค้าออนไลน์ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าต่างวุ่นกับการขายของ – ส่งของจนไม่มีเวลาอัปเดทความรู้ให้กับตัวเองกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

8. ขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจดังกล่าวอาจไม่มีรายได้ที่แน่นอน จึงไม่สามารถขอสินเชื่อได้อย่างสะดวก ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเติบโตไปอย่างน่าเสียดาย

เปิดตัว 3 ฟีเจอร์ใหม่บนแอป “แม่มณี” ช่วยร้านค้าออนไลน์สู้ศึกอีคอมเมิร์ซ

จากความท้าทายเหล่านี้ การจะผลักดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยก้าวไปแตะที่มูลค่า 5 แสนล้านบาทภายในปี 2025 จึงอาจไม่ใช่การปล่อยให้ร้านค้าออนไลน์สู้ไปตามลำพัง และนั่นทำให้ทีมแม่มณีของธนาคารไทยพาณิชย์ นำโดย คุณอรรัตน์ ชุติมิต รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Retail and Business Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดสินใจเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชันแม่มณี พร้อมกันทีเดียว 3 ฟีเจอร์ ประกอบด้วย

1. ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์

ฟีเจอร์แรกนี้เรียกได้ว่าเป็นกำลังหลักของร้านค้าออนไลน์เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง SCB กับ บริษัท ชิปนิตี้ จำกัด  (Shipnity) ผู้ให้บริการระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ โดยภายในฟีเจอร์นี้จะทำการเชื่อมต่อระบบหลังบ้านเข้ากับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น Lazada, shopee, Facebook, LINE และสามารถเชื่อมกับการทำ Facebook Live ได้ด้วย โดยในระหว่างทำ Facebook Live จะมีระบบช่วยคอนเฟิร์มออเดอร์จากลูกค้า สรุปยอด ส่งบิล เรียกเก็บเงินให้เสร็จสรรพ

นอกจากนั้น หากต้องการส่งของ ก็สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ชั้นนำแบบครบวงจร ซึ่งบริการเหล่านี้ SCB บอกว่า ร้านค้าสามารถแจ้งให้ขนส่งมารับสินค้าได้ถึงที่บ้านเลย

2. “บิลแม่มณี” เพิ่มทางเลือกผ่อน – ตัดบัตรเครดิต

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เป็นตัวช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ทำงานได้ง่ายขึ้นก็คือฟีเจอร์ที่เกี่ยวกับการชำระเงิน โดยทางแอปใช้ชื่อว่า “บิลแม่มณี” กับการเป็น Payment Fulfillment ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้ร้านค้าออนไลน์มากขึ้น ว่าจะชำระผ่าน QR Code หรือจะชำระผ่านบัตรเครดิต-เดบิต หรือจะผ่อนชำระแทนก็ได้ ทั้งนี้ ทางลูกค้าที่จะชำระผ่านบัตรเครดิต – ผ่อนชำระกับจะต้องมีบัตรเครดิตของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือมีบริการ Speedy Cash

3. คอร์สเรียนออนไลน์เสริมทักษะ และคะแนนแลกของรางวัล

3.1 มณีรีวอร์ด สะสมแต้มแลกรางวัล

สำหรับร้านที่มีรายการรับชำระเงินกับทางแอปบ่อย ๆ ระบบก็จัดแม่มณีรีวอร์ดสำหรับสะสมคะแนน และสามารถนำไปแลกของรางวัลต่าง ๆ ตามแคมเปญได้

3.2 แม่มณีอคาเดมี่ กดเพิ่มสกิลใหม่ฟรี

ส่วนใครที่ไม่มีเวลาหาความรู้เพิ่มเติม ตัวแอปก็มาพร้อมคอร์สออนไลน์ให้ความรู้การทำธุรกิจผ่านกูรูในด้านต่าง ๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนแต่อย่างใด

นอกจากนี้  ยังมี สินเชื่อดิจิทัล บริการสินเชื่อแม่มณีทันใจ ไม่จำเป็นต้องใช้สเตทเมนต์ในการขอสินเชื่อแบบในอดีต หากแต่เป็นการศึกษาพฤติกรรม – ข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม และระบบจะทำการเสนอสินเชื่อให้อัตโนมัติ หากร้านค้าออนไลน์รายนั้นเข้าเกณฑ์ในการให้สินเชื่อได้ โดยจะอยู่ในรูปของ Digital Lending เต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ SCB พบว่าผู้ใช้งานของแอปแม่มณี อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 60% และอยู่ในต่างจังหวัดอีก 40% โดยมากเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งสถาบันการเงินในอดีตมักเข้าถึงได้ยาก แต่ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล ทำให้ทุกวันนี้ ธนาคารสามารถเข้าถึงกลุ่มคนดังกล่าว รวมถึงเสนอโซลูชันต่าง ๆ ได้มากขึ้นนั่นเอง

“ธนาคารไทยพาณิชย์มองว่า เราอยากมีโซลูชันช่วยผู้ประกอบการรายย่อย และช่วยให้เขาสร้าง Engagement กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารไทยพาณิชย์มองว่าการเปิดตัวมณีโซเชียลคอมเมิร์ซ คือตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรายังเป็นผู้ให้บริการรายแรก ๆ ที่มีบริการบิลแม่มณี – คอร์สเรียนฟรี – เสนอสินเชื่ออัตโนมัติให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เข้าถึงด้วย” คุณอรรัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์มีการตั้งเป้าการใช้งานแอปแม่มณีหลังจากเปิดตัวฟีเจอร์ มณี โซเชียลคอมเมิร์ซเอาไว้ว่า ภายในปี 2022 จะมีร้านค้าที่ Active อยู่บนแพลตฟอร์มมากกว่า 5 แสนราย และมี Transaction เติบโตขึ้น 3 เท่า เลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชันแม่มณี “มณี โซเชียลคอมเมิร์ซ” สามารถดาวน์โหลดได้ที่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center โทร 02 777 7777 และสาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ


แชร์ :

You may also like