HomeCSR“The Educator Thailand” เมื่อเอไอเอสใช้พลัง EdTech สร้าง Growth Mindset ปลุก “การศึกษาไทย”

“The Educator Thailand” เมื่อเอไอเอสใช้พลัง EdTech สร้าง Growth Mindset ปลุก “การศึกษาไทย”

แชร์ :

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

สำหรับสังคมไทยในยุคที่ Covid-19 ยังไม่จางหาย สิ่งหนึ่งที่สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงได้ดีอีกภาพหนึ่งอาจเป็นการปรับตัวขึ้นสู่การเรียนการสอนออนไลน์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา โดยนอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรูปแบบใหม่ และจัดหาอุปกรณ์ดิจิทัลให้ลูก ๆ ได้ใช้เรียนกันแล้ว บุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่พบกับความเปลี่ยนแปลงไม่แพ้กันก็คือ “คุณครู”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากการเปิดเผยของผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษาไทยอย่าง อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ทัศนะว่า “ในช่วงแรกของการเรียนออนไลน์เมื่อเดือนมีนาคม 2020 นั้น ภาพที่เกิดขึ้นคืออาการฝุ่นตลบ มีคำถามเกิดขึ้นมากมายจากคุณครูที่ยังปรับตัวไม่ทันว่า การเรียนออนไลน์คืออะไร ต้องทำอย่างไร จะสอนได้จริงไหม เด็กจะรู้เรื่องหรือเปล่า”

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

แต่การจะตอบคำถามนั้นได้อย่างตรงประเด็นที่สุด อาจารย์กุลเชษฐ์ได้เลือกยกบทความของหน่วยงานด้านการศึกษาจากซีกโลกตะวันตกอย่าง The European Education and Culture Executive Agency (EACEA) ที่กล่าวถึงทักษะที่ควรมีของครูยุคใหม่ 5 ทักษะ นั่นคือ

1. ต้องสามารถสร้าง Innovative Classroom หรือห้องเรียนแห่งนวัตกรรมได้
2. ต้องมีทักษะในการยืดหยุ่นปรับตัว (Flexibility)
3. ต้องมีทักษะในการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ (Online Present)
4. ต้องมีทักษะในการสร้างบทเรียนในลักษณะที่เป็นภาพและเสียง (Visual Lesson)
5. ต้องมีทักษะในการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ

ทั้งนี้ อาจารย์กุลเชษฐ์ได้ชี้ให้เห็นว่า ทั้ง 5 ทักษะที่ EACEA ระบุไว้นั้น ไม่เพียงตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่ แต่ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับการเรียนการสอนออนไลน์ที่คุณครูไทยมองว่าเป็นความท้าทายด้วย

จุดเริ่มต้น “The Educator Thailand”

แต่การทำให้ทั้ง 5 ทักษะที่กล่าวมาเข้าถึงครูไทยจำนวนมากได้ไม่ใช่เรื่องง่าย นั่นจึงอาจเป็นที่มาของการเปิดตัว “The Educator Thailand” โครงการพัฒนาหลักสูตรพันธุ์ใหม่ให้ครูไทยสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอนออนไลน์

โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการจับมือกันของ AIS Academy ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเนื้อหาของโครงการเน้นไปที่ภูมิทัศน์ของการเรียนในอนาคต การสร้างสื่อการสอนออนไลน์ วิธีการเรียนออนไลน์ กลยุทธ์การสอนออนไลน์ การผลิตวิดีโอออนไลน์สำหรับการศึกษา การวัดประเมินผลออนไลน์ ฯลฯผ่านแพลตฟอร์ม LearnDi พร้อมกิจกรรมให้ครูเกิดการพัฒนาตนเองภายใต้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community หรือ PLC) ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถดึงดูดครูจากทั่วประเทศมาเข้าร่วมได้มากถึง 1,190 คน

 คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส และกลุ่มอินทัช กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า “Pandemic คราวนี้ทำให้เรามองเห็นการเคลื่อนตัวของวงการการศึกษาอย่างชัดเจน และครูเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นกำลังหลักในการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย ซึ่งการจะขับเคลื่อนการศึกษานั้น เราคงต้องเลือกมอง ถ้าติดกรอบเกิน จะทำงานได้ยาก

การลุกขึ้นมาทำ The Educator Thailand คือการทำให้ครูสามารถก้าวข้ามความคุ้นเคยของระบบการศึกษาแบบเดิมโดยอาศัยเทคโนโลยี เพราะต้องยอมรับว่า องค์ความรู้ต่าง ๆ ทุกวันนี้ มาจากทุกทิศทาง สิ่งที่เราทำให้กับ The Educator Thailand ก็เช่นกัน เราไม่ได้ไปดีไซน์อะไรที่มันมหัศจรรย์ แต่เราทำในสิ่งที่เรามีประสบการณ์ตรง ว่าเราจะเทรนคนรุ่นใหม่อย่างไร ไม่ว่าจะมี Pandemic หรือไม่ แต่รูปแบบการศึกษาหาความรู้ของคนเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องปรับตัวค่ะ”

ทำไมเอกชนต้อง “ช่วย”

แต่นอกจากการปรับ Mindset ของครูแล้วให้เข้ากับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ แล้ว ต้องยอมรับว่า ระบบการศึกษาที่ผ่านมา มีช่องว่างบางอย่างอยู่ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะในเรื่อง Digital Transformation ที่อาจยังไม่ถูกพูดถึงมากนัก ในจุดนี้ ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ หัวหน้าส่วนงานการจัดการความรู้ด้านเทคนิค กลุ่มบริษัท AIS ให้ความเห็นว่า

“เราได้ยินคำว่า Digital Transformation กันมานาน แต่ส่วนใหญ่เกิดในภาคเอกชน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เรามองว่า การศึกษาก็ต้องปรับตัวให้รองรับ Digital Transformation เช่นกัน ซึ่งข้อดีก็คือ ภาคเอกชนเรามีบทเรียนเรื่องนี้มากมายในช่วง 6 – 7 ปีที่ผ่านมา เราจึงนำมาจัดทำเป็นคอร์สเรียน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ หรือการ Transformation ด้าน Learning Culture ที่จะบอกว่า ต่อไปนี้การเรียนรู้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เด็กรุ่นนี้เรียนรู้แบบใหม่ ผู้ใหญ่ก็ด้วย”

ทั้งนี้ ในมุมของภาคเอกชน ซึ่งนำหน้าด้านการทำ Digital Transformation ไปก่อนหลายปี ดร.สุพจน์ให้ความเห็นว่า Gap ที่พบระหว่างภาคเอกชน – ภาคการศึกษานั้นค่อนข้างใหญ่ ถ้าภาคเอกชนไม่นำองค์ความรู้ที่มีมาแบ่งปัน แล้วทุกคนต้องไปเริ่มใหม่ ก็อาจต้องใช้เวลามากกว่านี้ ซึ่งอาจจะช้าเกินไปสำหรับการยกระดับการศึกษานั่นเอง

THE EDUCATORS THAILAND 03

จุดอ่อน – จุดแข็งของครูที่เอไอเอสพบ

“คุณครูที่สมัครเข้ามา มีจุดแข็งคือเป็นคนที่เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ แต่จุดอ่อนก็มีเช่นกัน เพราะกิจกรรมเป็นออนไลน์ ซึ่งครูบางท่านไม่เคยใช้โซเชียล ไม่เคยมีตัวตนออนไลน์ การเรียนในหลักสูตรนี้จึงต้องค่อยเป็นค่อยไป และต้องมีโค้ชคอยให้คำแนะนำ” ดร.สุพจน์กล่าว

ในด้านของคุณครูที่เข้าร่วม อาจารย์กุลเชษฐ์เผยว่า “ครูต้องคิดบวก เปิดใจรับกับสิ่งที่มากระทบ จริง ๆ แล้ว ณ วันนี้โลกเปลี่ยนเร็วมาก สิ่งที่เราเรียนมา และนำไปสอนเด็ก อีกสี่ปีข้างหน้าเผลอ ๆ ความรู้เหล่านั้นใช้ได้ไม่ถึง 20% เพราะฉะนั้นครูต้องอัปเดตตลอดเวลา ความยากของครูคือต้องปรับตัว ยืดหยุ่น ลืมในสิ่งที่เคยเรียนไปบ้าง แล้วหาความรู้ใหม่ใส่เข้ามาเติม เชื่อว่า ถ้าอาจารย์ทุกท่านปรับตัว สร้างให้มี Growth Mindset จะทำให้วงการการศึกษาไทยก้าวได้เร็วขึ้น”

Growth Mindset ส่งผลอย่างไร

ในจุดนี้คุณกานติมายกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรของเอไอเอสในช่วง 5 – 6 ปีที่ผ่านมาให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า “จากไดเรคชั่นของคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ (ซีอีโอเอไอเอส) ที่ให้เอไอเอสลุกขึ้นมาทำเรื่อง Digital Transformation เมื่อ 6 ปีก่อน การเกิด Pandemic พิสูจน์ให้เห็นว่า Digital Transformation ที่เราตัดสินใจทำนั้น เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามาก ๆ เพราะเราไม่ได้ลงทุนในเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เราลงทุนในเรื่องคนที่จะมาใช้เทคโนโลยีด้วย”

“ในเวลาที่เกิด Pandemic เราตัดสินใจปิดออฟฟิศได้เลย ถามว่ามีเหตุขลุกขลักให้ต้องเรียนรู้ไหม มีตลอด ทั้งเรื่องบริการลูกค้าที่ยังต้องมีอยู่ เรื่องเน็ตเวิร์กที่ต้องมีทีมดูแลสถานการณ์ตลอดเวลา แต่เพราะ Mindset ของคนเอไอเอสที่เปลี่ยนไปแล้ว ทำให้เราสามารถรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้

ไม่เพียงแค่นั้น ด้วย Growth Mindset ที่สร้างไว้ วิถีการทำงานของชาวเอไอเอสในยุคถัดไปก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน โดยคุณกานติมาเผยว่า “ตอนนี้เราเตรียมความพร้อมในเรื่องการปรับวิถีทำงานแบบใหม่ คนเอไอเอสจะไม่กลับมาทำงาน 100% เหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นการทำงานแบบผสมผสาน เราจะผลักดันเรื่อง Work From Anywhere ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งในที่นี้หมายถึง เราจะไม่จำกัดศักยภาพของคนด้วยการนั่งโต๊ะตัวเองอีกต่อไป เปิดออฟฟิศมาครั้งหน้า คนเอไอเอสจะไม่มีที่นั่งประจำอีกแล้ว แต่จะเป็น Mobile office ทั้งบริษัท”

การที่คุณกานติมาทิ้งท้ายเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “Growth Mindset” คือคีย์หลักที่ทำให้เอไอเอสเปลี่ยนแปลงได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โครงการ The Educator Thailand ที่เกิดขึ้น ก็อาจกำลังสร้างสิ่งที่เรียกว่า Growth Mindset ให้กับระบบการศึกษาไทยอยู่เช่นกัน และนั่นอาจนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็เป็นได้


แชร์ :

You may also like