HomeBrand Move !!“The Power of Network” เมื่อค้าปลีกเป็นมากกว่าช่องทางขาย ถอดกรณีศึกษา “เซเว่นฯ-คาราบาวกรุ๊ป-ปั๊มพีที”

“The Power of Network” เมื่อค้าปลีกเป็นมากกว่าช่องทางขาย ถอดกรณีศึกษา “เซเว่นฯ-คาราบาวกรุ๊ป-ปั๊มพีที”

แชร์ :

The Power of Network_7-Eleven-Carabao Group-PTG

หลักการตลาด 4Ps – P ตัวที่ 3 คือ Channel Distribution หรือช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสำคัญต่อการ Push สินค้าเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันหมายความรวมถึง Physical Store และ Online Platform ที่เวลานี้พัฒนาสู่โมเดล O2O

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดแค่การเป็นร้านค้า หรือช่องทางจำหน่ายสินค้า และบริการเท่านั้น แต่คือ “Power of Network” หรือ “เครือข่ายทรงพลัง” ที่ตอบโจทย์ความสะดวกในทุกด้านของชีวิตประจำวัน และเป็นศูนย์กลางของชุมชน

 

5 เหตุผลธุรกิจค้าปลีก ยกระดับสาขาเป็น “เครือข่ายทรงพลัง”  

ในธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะของเชนใหญ่ ไม่ได้มองการเปิดสาขา แค่หลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพันเท่านั้น แต่มองไปถึงในระดับหลักหมื่นสาขา เพื่อให้มี Scale ขนาดใหญ่ที่เข้าถึงผู้คนได้ทั่วประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยี – ระบบหลังบ้านให้ทุกสาขาเชื่อมต่อ

นั่นเพราะเชนค้าปลีก ไม่ได้มองร้านสาขา เป็นเพียงช่องทางการขายสินค้า และบริการเท่านั้น แต่มองว่าสาขาเป็นเครือข่ายอันทรงพลังใน 5 บทบาทนี้

1. เป็น Retail Network ขายสินค้าในหมวดต่างๆ ทั้ง Food และ Non-food

ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของตัวเอง ทั้ง House Brand และ Private Label แบรนด์ของพาร์ทเนอร์ ที่จับมือผลิตเพื่อจำหน่ายเฉพาะเครือข่ายสาขาของเชนค้าปลีกนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า Exclusive Brand และแบรนด์ของผู้ผลิตสินค้า หรือ Manufacturing Brand

2. เป็น Service Point ให้บริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

เช่น เป็นจุดให้บริการ Bill Payment ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบ้าน ค่าบัตรเครดิต ซื้อบัตรคอนเสิร์ต ตั๋วเดินทาง ให้บริการทางการเงินในฐานะ Banking Agent ให้กับลูกค้ารายย่อย ทั้งฝาก-ถอน-โอน-ชำระเงิน

นอกจากนี้ ในยุคอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถต่อยอดเครือข่ายสาขา ให้เป็นจุดบริการรับ-ส่งพัสดุ (Drop Point) ให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ได้เช่นกัน และบริการ Pick-up Point สำหรับคนที่สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ แล้วสะดวกมารับสินค้าด้วยตัวเอง หรือบางเชนค้าปลีก Diversify ทำธุรกิจขนส่งพัสดุเอง โดยใช้ความได้เปรียบด้านจำนวนสาขาที่มี เป็นจุดส่งและรับพัสดุ

7-Eleven Store

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

3. เป็นช่องทางด้านการตลาด และสื่อสารแบรนด์

เมื่อเชนค้าปลีก มีเครือข่ายสาขาใน Scale มากพอ นอกจากเป็นช่องทางการขายที่ทรงพลังในการเข้าถึงคนหมู่มากแล้ว ยังเป็นช่องทางด้านการตลาด และสื่อสารของแบรนด์ – สินค้าที่ต้องการเจาะแต่ละชุมชน แต่ละโลเคชั่น

เช่น แบรนด์ผู้ผลิตทดลองเปิดตัวสินค้าผ่านเชนร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายสาขามาก เพื่อดูการตอบรับของตลาด ก่อนจะขยายไปยังช่องทางการขายอื่นทั่วประเทศ ทำแคมเปญโปรโมชั่นร่วมกับเชนค้าปลีก และเป็น Touch Point สื่อสารแบรนด์

นอกจากนี้ เชนค้าปลีกไหนที่มีระบบ Big Data มีประสิทธิภาพ สามารถทำ Product Assortment คือการคัดเลือกสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ แต่ละโลเคชั่น

4. เป็นช่องทางเก็บ Customer Data

เช่น พฤติกรรมการซื้อ ความชอบ หรือความสนใจของผู้บริโภค ความถี่ในการซื้อ หรือมาใช้บริการ ยอดการใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลลูกค้าเหล่านี้ เป็น First-party Data ของเชนค้าปลีก ได้นำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อีกมาก

5. ต่อยอดสู่โมเดล O2O

การซื้อขายสินค้า และบริการทั้งในวันนี้ และอนาคต จะเป็นโมเดล O2O มากขึ้น เนื่องจาก “ความสะดวก” กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ผู้บริโภคทุกคนต้องการ ดังนั้น ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้า – บริการในทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะซื้อจากร้าน Physical Store หรือบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

การมี Network สาขาครอบคลุมจำนวนมากจะเชื่อมต่อการให้บริการระหว่าง “สาขา” กับ “ออนไลน์” เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เช่น ลูกค้าซื้อสินค้าผ่านแอปฯ แล้วมารับสินค้าที่ร้านเอง หรือให้จัดส่งถึงบ้าน

คราวนี้มาดูกรณีศึกษาเชนค้าปลีกใหญ่ในไทย เวลานี้ใช้พลัง Network ที่ตนเองมี เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้คนในทุกช่วงวัย

O2O

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 

“เซเว่น อีเลฟเว่น” สร้าง Retail Ecosystem เชื่อมต่อร้านสาขา ออนไลน์

กลยุทธ์ที่ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ประเทศไทยกำลังรุกทำในขณะนี้คือ การสร้าง Retail Ecosystem ให้เข้าไปอยู่กับผู้บริโภคทุกกลุ่มในทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดแค่การเปิดสาขาร้านเท่านั้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ All Convenience หรือ “สะดวกครบ จบในที่เดียว” ซึ่งเป็นการปรับจากเดิมที่เป็น Convenience Food Store หรือ “ร้านอิ่มสะดวก”

 คอนเซ็ปต์ All Convenience ประกอบด้วย 3 แกนหลักคือ

“สะดวกซื้อ” ครอบคลุมช่องทางสาขา และขยายการให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์

– ปัจจุบันเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นเชนค้าปลีกขนาดเล็ก ที่มีเครือข่ายสาขามากสุดในไทย ด้วยจำนวนกว่า 12,400 สาขา

– มีลูกค้ากว่า 1,200 คนต่อวันต่อสาขา และหากรวมทุกสาขา มี 14 ล้านคนต่อวัน

– ในแต่ละปีซีพี ออลล์ (CP ALL) บริษัทแม่ของเซเว่นฯ ในไทย เปิดสาขาใหม่กว่า 700 สาขาต่อปี

– ในปี 2564 ตั้งเป้าขยายเพิ่มเป็น 13,000 สาขา

7-Eleven

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

– เร่งสร้างการเติบโตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ เช่น 7-Eleven ซึ่งในนั้นมีบริการ Delivery จัดส่งโดยพนักงานสาขาใกล้บ้าน, ALL Online, ShopAt24

– ปัจจุบันมีเซเว่น อีเลฟเว่นมีฐานลูกค้าออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน สื่อโซเชียล และช่องทางอื่นๆ กว่า 40 – 45 ล้านบัญชีผู้ใช้งาน

7-Eleven Application

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

“สะดวกรับ” ลูกค้าสามารถเลือกปลายทางการรับสินค้า หรือพัสดุได้ว่าจะให้จัดส่งที่บ้าน หรือมารับที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เช่น สั่งซื้อสินค้าในเครือซีพี ออลล์ล่วงหน้า ลูกค้าเลือกรับสินค้าได้ที่ร้านสาขา หรือให้จัดส่งถึงบ้าน

นอกจากนี้ ซีพีออลล์ ยังได้เปิดบริการขนส่งพัสดุขนาดเล็ก (Parcel Delivery) ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ภายใต้ชื่อ “SPEED-D” รองรับการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

“สะดวกจ่าย” ให้บริการทางการเงิน ภายใต้บริการของเคาน์เตอร์ เซอร์วิส และ Synergy กลุ่มธุรกิจในเครือซีพีอย่าง True Money Wallet เพื่อให้บริการ Mobile Payment ชำระค่าสินค้า – บริการต่างๆ ทั้งที่ร้านสาขา และในช่องทางออนไลน์

จะเห็นได้ว่าบทบาทร้านสาขาเซเว่น อีเลฟเว่นในวันนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงช่องทางจำหน่ายสินค้าและบริการที่รอให้ลูกค้าเดินเข้ามาใช้บริการ แต่เป็น Network สร้างความแข็งแกร่งให้ Retail Ecosystem สามารถเชื่อมต่อเป็นโมเดล O2O

ในที่สุดแล้วภายใต้อาณาจักร O2O ของเซเว่น อีเลฟเว่น จะทำให้ซีพี ออลล์ได้ฐาน Big Data ขนาดใหญ่ ที่ย้อนกลับไปสู่ธุรกิจต้นน้ำ และกลางน้ำในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของเครือซีพี ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ที่เข้าใจใน Customer Insight รวมทั้งต่อยอดด้านการตลาด และ Diversify ธุรกิจใหม่ได้อีกมาก

7-Eleven Delivery

 

คาราบาวกรุ๊ป จากธุรกิจต้นน้ำ – กลางน้ำ สู่ธุรกิจค้าปลีก “CJ – ร้านถูกดี”

คาราบาวกรุ๊ป เติบโตในธุรกิจ “ต้นน้ำ” คือ ผลิตสินค้า – ผลิตบรรจุภัณฑ์ และ “กลางน้ำ” คือ กระจายสินค้าเข้าร้านค้า ทั้ง Modern Trade และ Traditional Trade มาโดยตลอด แต่ คุณเสถียร พร้อมด้วยผู้ถือหุ้นใหญ่ในคาราบาวกรุ๊ป เล็งเห็นถึงการสร้าง Business Ecosystem เติบโตมากขึ้น จึงได้ขยายสู่ “ธุรกิจปลายน้ำ” นั่นคือ การทำธุรกิจค้าปลีก แบ่งเป็น 2 ขา

ขาหนึ่งคือ Modern Trade ภายใต้เชน “CJ”  

อีกขาหนึ่งคือ Traditional Trade การชวนร้านโชห่วยไทยมาเป็นพันธมิตรธุรกิจเปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน”  

โดยปัจจุบันธุรกิจค้าปลีก เป็นธุรกิจส่วนตัวของคุณเสถียร และผู้ถือหุ้นใหญ่ในคาราบาวกรุ๊ป แต่ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ภายใต้คาราบาวกรุ๊ป ทว่าก็สามารถใช้พลังจากเครือข่ายร้านค้าเหล่านี้ มา Synergy กับธุรกิจในเครือคาราบาวกรุ๊ปได้

เส้นทางธุรกิจค้าปลีก เริ่มต้นในปี 2556 คุณเสถียร พร้อมด้วยผู้ถือหุ้นใหญ่ในคาราบาวกรุ๊ป เข้าถือหุ้นใหญ่ธุรกิจ “CJ Supermarket” ของบริษัท พีเอสดี รักษ์ไทย จำกัด และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด”​ (CJ Express Group) ถึงวันนี้มีเกือบ 600 สาขา

CJ-Supermarket

นอกจากนี้ ปีทีแล้วได้เปิดตัวโมเดล “CJ MORE” เป็นแบรนด์ลูกในกลุ่มธุรกิจ CJ Express Group โดยนำ 5 แบรนด์ค้าปลีกที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นมารวมอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อต้องการเป็น “ศูนย์การค้าขนาดเล็กในชุมชน” สร้างฐานลูกค้าหลากหลาย ประกอบด้วย

 CJ Supermarket (ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต) ค้าปลีกจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค

– Nine Beauty (นายน์ บิวตี้) โซนเครื่องสำอาง สินค้าสุขภาพและความงาม Multi-brand

Bao Café (บาว คาเฟ่) ร้านกาแฟสด

UNO (อูโนะ) โซนสินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น เครื่องเขียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหลักคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน

A-Home (เอ-โฮม) โซนสินค้าอุปกรณ์เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ทำสวน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ประปา อุปกรณ์ดูแลรถ ฯลฯ เจาะกลุ่มเจ้าของบ้านและวัยทำงาน

ขณะที่แผนการขยายสาขา ตั้งเป้าเปิด CJ Supermarket ไม่น้อยกว่า 200 สาขาต่อปี และ CJ MORE กว่า 50 สาขาต่อปี โดยเป้าหมายใหญ่ที่ CJ Express Group ภายในปี 2565 ทั้งสองโมเดลค้าปลีกรวมกัน จะมี 1,500 สาขา และมียอดขายมากกว่า 30,000 ล้านบาท

CJ-MORE_Silom

หลังจากลุยธุรกิจ Modern Trade มาได้สักพัก คุณเสถียร พร้อมด้วยผู้ถือหุ้นใหญ่ในคาราบาวกรุ๊ป มีแนวความคิดอยากพัฒนาร้านโชห่วย จึงได้ทดลองพัฒนาคอนเซ็ปต์ร้านค้าปลีก ภายใต้แบรนด์ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ในปี 2562 ภายใต้การบริหารของ “บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด” โดยผนึกความร่วมมือกับ “เจ้าของร้านโชห่วย” ด้วยโมเดลธุรกิจ “กินแบ่ง” นั่นคือ ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย ทั้งทีดี ตะวันแดง ร้านโชห่วย ซัพพลายเออร์ ผู้บริโภค และชุมชน

คนที่จะเปิดร้านโชห่วยถูกดี ต้องเป็นเจ้าของร้านโชห่วยอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นโมเดลแฟรนไชส์ ดังนั้น เจ้าของร้านยังคงเป็นเจ้าของกิจการตามเดิม และป้ายชื่อร้าน มีชื่อร้านถูกดี พร้อมโลโก้ และต่อด้วยชื่อร้านเดิมได้

ในขณะที่บริษัท ทีดี ตะวันแดง จะลงทุนด้านสินค้าที่ขายในร้าน อุปกรณ์ การตกแต่งร้านให้สวยงาม ความรู้ และเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการร้าน  พร้อมทั้งจัดรายการส่งเสริมการขาย และสื่อโฆษณา ณ จุดขาย เพื่อสนับสนุนการขายให้ร้านโชห่วย

TOOKDEE-retail-store

เป้าหมายการขยายร้านถูกดีใน 3 ปีนี้

ปี 2564 มี 8,000 ร้านค้า

ปี 2565 มี 30,000 ร้านค้า

ปี 2566 มี 50,000 ร้านค้า

เมื่อถึงวันที่ร้านถูกดี ขยายสาขาแตะระดับกว่า 30,000 – 50,000 ร้านค้า สิ่งที่ตามมาคือ Power of Network ในการเข้าถึงผู้บริโภค ทั้งในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ซึ่งร้านถูกดี ไม่ได้วางตำแหน่งแค่เป็นร้านโชห่วย ขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็น “Point of Sale” จุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

เช่น สามารถสั่งสินค้าพรีออเดอร์ที่ไม่มีในร้าน จากร้านถูกดี แล้วสินค้าจะมาส่งให้ที่ร้าน จากนั้นลูกค้ามารับ และให้บริการด้านการเงิน เช่น ติดตั้งตู้เอทีเอ็ม เครื่องเติมเงิน

TOOKDEE-retail-store

โดยเป้าหมายสูงสุดของการขยาย Network ร้านถูกดี คือ เป็น Point of Everything เป็นศูนย์กลางของชุมชน หรือของหมู่บ้าน ที่ตอบโจทย์ความสะดวก และชีวิตประจำวัน

“วันหนึ่งมีลูกค้าซื้อของร้านถูกดี โดยเฉลี่ย 160 – 170 คนต่อวัน ด้วยจำนวนคนที่มาซื้อ เมื่อคูณกับจำนวนสาขาในอนาคต เราจะได้ข้อมูลมหาศาล และเป็นข้อมูลลึก โดยเฉพาะข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะกระจายไปถึงหมู่บ้าน โดยซัพพลายเออร์จะได้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างยิ่ง และทำให้ธุรกิจของเราแม่นยำขึ้น และสามารถต่อยอดธุรกิจออกไปได้อีกมากคุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด เล่าถึงการขยายเครือข่ายร้านถูกดี จะทำให้ได้ Big Data จากช่องทางร้านค้ากลับมา

TOOKDEE-retail-store

เพราะฉะนั้นการลงทุนสร้าง “ธุรกิจปลายน้ำ” สำหรับคุณเสถียร ย่อมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และจะส่งเสริมธุรกิจคาราบาวกรุ๊ปในหลายด้านคือ

1. การมีเชนค้าปลีกของตัวเอง เป็นจิ๊กซอว์เติมเต็มความครบวงจรตลอดทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ และสามารถบริหารจัดการทั้งซัพพลายเชนได้เอง

2. การสร้าง Retail Network ด้วยการรุกขยายสาขา ไม่ว่าจะเป็น CJ และร้านถูกดีทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง

3. Retail Network เป็นช่องทางที่ทำให้ได้ Big Data พฤติกรรมการซื้อ และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ สามารถต่อยอดกลับไปสู่การพัฒนาสินค้า – บริการใหม่ และธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

4. เป็น Touch Point ในการแบรนด์ดิ้ง และสื่อสารกับผู้บริโภคในแต่ละทำเล แต่ละโซน

5. เป็นพื้นที่แห่งการทดลองตลาดสินค้าใหม่ในเครือคาราบาวกรุ๊ป เพื่อศึกษาตลาด และการตอบรับของผู้บริโภคต่อสินค้านั้นๆ

Mr.-Sathien-Setthasit-Chairman-of-TD-Tawandang-TOOKDEE-retail-store

คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด

 

“ปั๊ม PT” จากสถานีบริการน้ำมัน สู่ “Service Station

หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้ “สถานีบริการน้ำมัน PT” เติบโต มาจากการใช้โมเดล “COCO” หรือ “Company Owned, Company Operated” คือ PTG ลงทุนเปิดสถานีบริการเอง ทั้งปั๊ม และพนักงาน บริษัทเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด เพื่อทำให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และมีความคล่องตัว

นี่จึงทำให้ PTG สามารถรุกขยายสาขาสถานีให้บริการได้เร็ว ถึงปัจจุบันมีกว่า 2,000 สถานี ซึ่งแตกต่างจากค่ายอื่น ที่เป็นระบบ Dealer Owned, Dealer Operated เหมือนกับระบบแฟรนไชส์

PTG ไม่ได้มองสาขาสถานีบริการเป็นเพียงแค่ค้าปลีกน้ำมันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการใช้เครือข่ายสถานีบริการที่เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง เป็น Power of Network ของการเป็น “Service Station” ที่เข้าไปอยู่ในชุมชน ตอบโจทย์ทั้งด้านพลังงาน และสินค้า – บริการในชีวิตประจำวัน

บริการด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน สถานีชาร์จรถไฟฟ้า แก๊ส LPG

บริการ Non-oil มีทั้งในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในพอร์ตโฟลิโอของ PTG ที่นำไปเปิดในสาขาต่างๆ ของ PT เช่น ร้านสะดวกซื้อ Max Mart ร้านกาแฟพันธุ์ไทย ร้านกาแฟ Coffee World ร้านแซนด์วิช New York Fifth Avenue ร้านอาหารไทย Thai Chef Express ร้านไอศกรีม Cream & Fudge และร้านของพันธมิตรผู้เช่าพื้นที่

PT Station

คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG (พีทีจี) ให้สัมภาษณ์กับ Brand Buffet ถึงเหตุผลขยายสถานีบริการ PT ว่า

ประเทศไทยมี 900 กว่าอำเภอ วันนี้สถานีบริการ PT ครอบคลุมเกือบ 100% ดังนั้น ทุกทิศทั่วไทย ทุกอำเภอ มีปั๊มน้ำมัน PT มีให้บริการ รวมทั้งอนาคตมีบริการ Charging Station ตอบโจทย์คนเดินทางโดยยานยนต์ไฟฟ้า และต่อไปเราพัฒนาสถานีบริการให้เป็น Service Station ที่อยู่ในชุมชน

อย่างวันนี้อีคอมเมิร์ซโตขึ้นเรื่อยๆ และอนาคตจะเบ่งบานมากกว่านี้อีก 2 – 3 เท่า เพราะฉะนั้นความได้เปรียบของสถานีบริการ PT คือ เราอยู่ในทุกอำเภอ ประเทศไทยมี 77 จังหวัด 900 กว่าอำเภท 7,400 กว่าตำบาล

เราคือคนที่แทรกตัวอยุ่ในทุกซอก ทุกมุม ทุกถนนของประเทศไทย ซึ่งในอนาคต 2 – 3 ตำบาล จะมี PT 1 สถานี ดังนั้น เราสามารถเอาสถานีบริการ PT เป็นจุด Drop Point, Pick-up Point สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้ หรือต่อไปใครจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์อะไร ก็สามารถมาเปิดตัวได้ที่สถานีบริการ PT

โดยใช้ความได้เปรียบของโลเคชั่นของสถานีบริการรน้ำมัน ที่ตั้งอยู่บนถนนเส้นหลัก ถนนเส้นรอง และชุมชน ประกอบกับขนาดพื้นที่โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2 ไร่ต่อ 1 สถานีบริการ จึงมีพื้นที่ทั้งในการจัดกิจกรรม และจอดรถ

PT Station_PunThai Coffee

“หลายธุรกิจอาจมีเป็นหมื่นสาขา แต่ไม่เหมือนธุรกิจปั๊มน้ำมัน เพราะปั๊มน้ำมันมีพื้นที่อย่างน้อย 2 ไร่ จึงมีพื้นที่จอดรถได้เยอะ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าจากนี้ไปอีก 3 – 5 ปี Network ตรงนี้จะมีมูลค่าที่สำคัญมาก ซึ่งเราเรียกมันว่า Power of Network”  

ขณะเดียวกันสร้าง “แพลตฟอร์มเชื่อมต่อ” นั่นคือ “บัตรสมาชิก PT Max Cardทำหน้าที่เป็นทั้ง Loyalty Program เก็บ Big Data และเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือ PT เข้ากับพาร์ทเนอร์​ และลูกค้าสมาชิกผู้ถือบัตร เพื่อหลอมรวมให้มาอยู่บน Business Ecosystem ของ PTG

– ปัจจุบัน PT Max Card มีฐานสมาชิกประมาณ 15 ล้านสมาชิก มียอด Active Member 60 – 70%

– ปี 2564 ตั้งเป้าขยายฐานสมาชิกเป็น 18 ล้านสมาชิก ในจำนวนนี้ 90% ยังมาจากบัตร PT Max Card สีเขียว และอีก 10% มาจากบัตร PT Max Card Prestige และ PT Max Card Plus

– ภายในปี 2568 ต้องการเพิ่มฐานผู้ถือบัตรสมาชิกเป็น 30 ล้านสมาชิก

Mr. Pitak Ratchakitprakarn_PTG

คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG (พีทีจี)

คุณพิทักษ์ ขยายความเพิ่มเติมว่า เดิมทีตั้งเป้าหมายจะมีบัตรสมาชิก Max Card 20 ล้านสมาชิก ซึ่งประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 22 ล้านครัวเรือน นั่นหมายความว่าสมาชิก 1 คน เท่ากับ 1 ครัวเรือน

แต่วันนี้ PTG ตั้งเป้าหมายใหม่ภายในปี 2568 จะมียอดบัตรสมาชิก 30 ล้านสมาชิก เพราะเรามองว่าไม่ใช่สมาชิก 1 คน เท่ากับ 1 ครอบครัว เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวหนึ่งๆ ต้องการแยกใช้เป็นบัตรของตัวเองตามไลฟ์สไตล์ และสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว ก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน

“เราอยากเห็นคนไทย 80 – 85% อยู่ในระบบนิเวศธุรกิจ (Business Ecosystem) ของ PT ไม่ว่าจะเป็นเติมน้ำมัน ใช้บริการร้านกาแฟพันธุ์ไทย และร้าน Coffee World ซื้อสินค้าจากร้าน Max Mart และซื้อสินค้า – บริการต่างๆ ของพันธมิตร”

เมื่อ PTG มี Network สถานีบริการ และฐานสมาชิกบัตร PT Max Card ในระดับ Scale ขนาดใหญ่ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ สิ่งที่ตามมาคือ Big Data มหาศาล ซึ่งจะทำให้ PTG ทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่การเป็น Data-Driven Organization เต็มรูปแบบ

PT Station


แชร์ :

You may also like