HomeInsightมินเทล เผย 3 เทรนด์อาหาร-เครื่องดื่มปี 2021 ที่ต้องจับตา

มินเทล เผย 3 เทรนด์อาหาร-เครื่องดื่มปี 2021 ที่ต้องจับตา

แชร์ :

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ทุกคนต้องบริโภค จึงเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ละปีมีเม็ดเงินหมุนเวียนราว 2.46-2.51 ล้านบาท ทั้งยังมีผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และรายใหญ่เข้ามาทำตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การแข่งขันสูง ขณะเดียวกัน ในปี 2563 ที่ผ่านมา ยังต้องเจอกับความท้าทายอย่างหนัก จากการระบาดของโควิด-19 จนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแบบวันต่อวัน และยังเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้คนไปมากมาย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

มาปี 2564 ทิศทางของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? มินเทล (Mintel) บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ได้สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของผู้บริโภคในตอนนี้จนถึงอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รู้ทันและเตรียมพร้อมสำหรับธุรกิจในวันข้างหน้า โดยพบ 3 เทรนด์สำคัญ ดังนี้

1.ไม่ใช่แค่ดีต่อสุขภาพ แต่ต้องดีต่อสุขภาพจิตด้วย

การระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ในปี 2564 ผู้บริโภคจะปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีผลประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น รวมถึงศึกษาหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และลดการบริโภคอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพให้น้อยลง

การให้ความสำคัญกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มหันมาให้บริการด้านอาหารตามกระแสชีวจิตผ่านการนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์และสูตรอาหารที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดมากขึ้น โดยมินเทล มองว่า แบรนด์ธุรกิจการให้บริการด้านอาหารที่มีสูตรส่วนผสมที่ตอบสนองต่อประสาทสัมผัสด้านอารมณ์ที่หลากหลายจะช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางจิตวิทยาด้านอาหารแบบใหม่ในการตลาดนี้

2.คุณภาพที่ต้องเปลี่ยนโฉม

ผลวิเคราะห์ยังบ่งชี้ไปยังกลุ่มผู้บริโภคแนวใหม่ที่เสาะหาโอกาสประสบการณ์การบริโภคแบบ Hometainment ที่ออกแนวหรูหรา ดูมีราคา แต่สะดวกสบาย เนื่องจากสามารถรับบริการดังกล่าวนี้ได้ที่บ้านเลย นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกสนับสนุนและใช้ผลิตภัณฑ์บริการจากแบรนด์และร้านค้าที่มีนโยบายที่เป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ที่ติดต่อสะดวกรวดเร็วมากกว่าติดต่อแบรนด์และร้านค้าโดยตรง

เมื่อตลาดกลับมาเปิดอีกครั้ง วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคจะเดินไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคจะมีความคาดหวังในการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่สะอาด ถูกสุขอนามัย รวดเร็ว และสะดวก รวมถึงเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ซึ่งการให้ความสำคัญกับคุณภาพและราคาที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ทำงานอย่างโปร่งใสมากขึ้นในเรื่องของราคาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลด้านส่วนผสม กรรมวิธีการผลิตและราคาสำหรับกลุ่มเป้าหมาย

3.อาหารสำหรับคนแนวเดียวกัน

ในอีก 12 เดือนถัดไป ธุรกิจการให้บริการด้านอาหารจะสามารถใช้กลยุทธ์ทางการตลาดโน้มน้าวผู้บริโภคให้เข้ามาสนใจและใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ โดยโปรโมทภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้น ๆ ให้โดดเด่นมีเอกลักษณ์ ปรับมุมมองของผู้บริโภคให้มองแบรนด์เหล่านี้เป็นอีกวิธีทางในการแสดงออกความเป็นตัวตนของตัวเอง และเป็นอีกช่องทางในการสร้างชุมชนที่มีทัศนิคติและรสนิยมคล้ายๆ กันที่เคยมีมาก่อนช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

วิธีปรับตัวเข้ากับเทรนด์ที่กำลังจะมาถึงของแบรนด์ต่างๆ นี้ เริ่มจากการหันมาดำเนินงานผ่านโซเชี่ยลมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างชุมชนโลกออนไลน์ที่ทางแบรนด์สามารถจะเข้าถึงและช่วยเหลือผู้บริโภค พร้อมทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการทำงานผ่านโซเชี่ยลมาวิเคราะห์สรุปผลเพื่อปรับปรุงทรัพยากรและชื่อเสียงของแบรนด์ได้ง่ายอีกด้วย

ผู้บริโภคต่างล้วนตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนมนุษย์มากขึ้นนับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยแต่ละคนต่างมองหาและสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลหรือชุมชนที่มีทัศนคติคล้ายกัน แบรนด์ในกลุ่มธุรกิจการให้บริการด้านอาหารเหล่านี้ควรที่จะใช้ข้อได้เปรียบของตนเองในการดึงดูดลูกค้าที่มีรสนิยมและค่านิยมตามลักษณะเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพราะเมื่อชุมชนเหล่านี้มีกลุ่มบุคคลที่มีทัศนคติค่านิยมร่วมกัน จะสามารถเติบโตไปได้ไกล รวมถึงการกระจายเครือข่ายผู้บริโภคและขยายฐานผู้บริโภคเพื่อสร้างความแตกต่างได้อีกด้วย

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like