HomeSponsoredCAT เปิดวิสัยทัศน์ Move Fast & Move Smart ไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อคนไทย

CAT เปิดวิสัยทัศน์ Move Fast & Move Smart ไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อคนไทย

แชร์ :

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของ CAT ที่มุ่งเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของโลก (Mega Trend) ด้วยโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่แข็งแกร่ง พร้อมพัฒนาบริการทันสมัยรองรับโลกของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 รวมถึงการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมไปสร้างคุณค่าเพื่อความยั่งยืนให้กับสังคม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากปริมาณ Internet Bandwidth ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศของผู้ใช้บริการรวม มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักๆ มาจากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการขยายฐานการให้บริการของผู้ให้บริการ Content รายใหญ่ อาทิ Google, Youtube, Facebook และ Microsoft เข้ามาในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ที่ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น รวมไปถึงการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและการค้าในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา ลาว กัมพูชา ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ที่มีความต้องการใช้งาน Internet Bandwidth เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศ ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 17 ปี ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เราได้ก้าวทันโลก พัฒนาบริการสุดทันสมัยตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ บนโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งเชื่อมโยงทั้งในและระหว่างประเทศ พร้อมไปกับการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้สังคม

CAT “ปรับ” เพื่อ “เปลี่ยน”

ด้วยแผนยุทธศาสตร์ “ระยะสั้น” มุ่งยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในทุกมิติ “ระยะกลาง” พลิกองค์กรสู่การเป็น Digital Solution Operation และ “ระยะยาว” ก้าวสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมภาครัฐของประเทศ ผ่านวิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำในการให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา CAT จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในองค์กร โดยดำเนินการปฏิรูปองค์กรทั้งในด้านโครงสร้าง กระบวนการทำงาน และบุคลากร เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมภาครัฐ ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจ

ยกระดับการให้บริการให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า แสวงหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ด้านดิจิทัล สร้างผลกำไรให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งระยะกลางและระยะยาว รวมถึงเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการสร้างผลกำไรในธุรกิจเดิมให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวทางธรรมาภิบาล (CG) ความโปร่งใสและคุณธรรมในการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและใส่ใจต่อสังคม รวมถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม CSR (Corporate Social Responsibility) เพื่อสร้างความยั่งยืนทางสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับสู่การทำ CSV (Creating Shared Value) เพื่อเป็นการพัฒนาเชิงสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยรูปแบบทางธุรกิจ โดยใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรในการร่วมสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน

พลังขับเคลื่อนสังคมสู่เกษตร 4.0 Digital Farm

ในปี 2562 ที่ผ่านมา CAT ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อก้าวสู่เกษตร 4.0 กับโครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี” ด้วยการมอบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ “CAT Digital Farm” เพื่อพัฒนาการเกษตรท้องถิ่นในระดับชุมชนและโรงเรียน  โดยมุ่งเน้นความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดูแลและควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้ดีขึ้น และสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร เพื่อร่วมสร้างชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน

รวมไปถึงการจัดทำแปลงเกษตรสาธิตเพื่อให้นักเรียน ครู บุคลากร และชุมชน ได้เรียนรู้เข้าใจเทคโนโลยี Digital Farm ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเกษตรยุค 4.0 ในโรงเรียนและชุมชน จนถึงการต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ สามารถถ่ายทอดความรู้ และยกระดับศักยภาพผลผลิตทางการเกษตรไปสู่ชุมชนอื่นๆ ให้เกิดเป็นความยั่งยืนต่อไป

โดยตลอดปี 2562 CAT ได้ส่งมอบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ไปสู่โครงข่ายโรงเรียนแล้วทั้งสิ้นจำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จ.สระบุรี โรงเรียนบ้านปรือวายใหญ่ จ.ปราจีนบุรี โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จ.เชียงใหม่ โรงเรียนสระพังวิทยาคม จ.ชัยภูมิ โรงเรียนมัธยมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จ.นครราชสีมา และ โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร จ.สงขลา

สำหรับปี 2563 นี้ CAT ได้ต่อยอดด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี Digital Farm ต้นแบบโซลูชันเกษตรดิจิทัลครบวงจร โดยทดลองใช้งานเป็นแห่งแรก ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านหนองหญ้าข้าวนก จ.ขอนแก่น ด้วยแนวคิดการเชื่อมโยงเกษตร 3 มิติ ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ และด้านการตลาด ประกอบด้วย

ระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ (IoT Smart Farm) เซ็นเซอร์ควบคุมน้ำและความชื้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตในแปลงเกษตร โดยสามารถประหยัดเวลาและแรงงาน ระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการวิสาหกิจ (Farm Management) ยกระดับการบริหารจัดการเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชน ช่วยให้ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก ควบคุมปริมาณและประเภทผลผลิตของสมาชิกให้ตรงความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับตลาดให้ผลผลิตได้ราคาดี และบริหารคลังสินค้าได้รวดเร็วแม่นยำ ระบบการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) โดยเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนเข้ากับตลาดออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการต่อยอด Digital Marketing ขยายความสามารถในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการเชื่อมกับระบบ QR Trace มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ มกอช. เพื่อแสดงต้นกำเนิดสินค้าและรับรองว่าเป็นสินค้าปลอดภัย เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถแข่งขันทางการค้าและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

โดย CAT มีแผนพัฒนาโมเดลต้นแบบนี้ให้เหมาะสมเพื่อขยายสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 จ.พิจิตร วิสาหกิจชุมชนหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จ.เชียงราย

ลงทุนและพัฒนา Infrastructure แข็งแกร่ง

จากจุดเด่นของโครงข่ายสื่อสารการให้บริการที่ครอบคลุมการสื่อสารผ่านดาวเทียมประเภทต่างๆ ในพื้นที่ทั่วประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้แบรนด์ของ CAT แข็งแกร่งเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือสำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยมีโครงข่าย “International Gateway” และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่เชื่อมตรงไปยังภูมิภาคสำคัญของโลกมากกว่าผู้ให้บริการรายอื่น และมี Latency time ต่ำสุด โดยเฉพาะปลายทางฮ่องกง อเมริกา และยุโรป

มีการเชื่อมต่อ Internet peering กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศและภายในประเทศจำนวนรายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการ Internet Gateway รายอื่นในประเทศ ทำให้สามารถเข้าถึง Content ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ CAT ยังได้มีการลงทุนและพัฒนาโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)

ในปัจจุบันมีระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่ใช้งานหลักอยู่ 6 ระบบ คือ Asia-Pacific-Gateway (APG), Asia-America-Gateway (AAG), SEA-ME-WE4 (SMW4), Thailand-Indonesia-Singapore (TIS), SEA-ME-WE3 (SMW3) และ Fiber-Link-Around-Global (FLAG)

โดยในปี 2565 จะมีระบบ ASIA Direct Cable (ADC) เพิ่มขึ้นอีก 1 ระบบ (ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ) ที่พร้อมยกระดับ Internet Gateway เพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียน (ASEAN Digital Hub) เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมให้ก้าวทันโลก ด้วยโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่แข็งแกร่ง และพัฒนาบริการทันสมัยตอบโจทย์ทุกความต้องการ

ปฏิรูปองค์กรสู่ธุรกิจดิจิทัล

สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิรูปองค์กรไปสู่ธุรกิจ Digital นั้น CAT ได้เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำการให้บริการ Digital Service อย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การพัฒนาบริการ Digital Solution ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และใช้ความน่าเชื่อถือจากการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการขยายฐานลูกค้าภาครัฐ และเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เป็นองค์กรเอกชนในอนาคต เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลชั้นนำของประเทศ โดย 5 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย

ธุรกิจสื่อสารไร้สาย (Mobile Business) ให้บริการภายใต้แบรนด์ my by CAT ควบคู่ไปกับการพัฒนาบริการเสริมที่ต่อยอดจากบริการสื่อสารทางเสียงและข้อมูล อาทิ บริการ Mobile Solution

ธุรกิจบรอดแบนด์ (Broadband Business) ให้บริการเกี่ยวกับการให้เช่าวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงและโครงข่ายในประเทศไทย บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ ภายใต้แบรนด์ C Internet และบริการเสริมที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ลูกค้าภาครัฐ และลูกค้าภาคเอกชนในประเทศ

ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) ประกอบด้วย บริการ Internet Gateway เชื่อมต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศ (Thailand IX) และเชื่อมต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ (CAT IIG) และบริการวงจรเช่าเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ (IPLC)

ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) ประกอบด้วย บริการ Data Center , Cloud , IT Security , IoT และบริการ e-Business

ธุรกิจอื่นๆ (Other Business) ประกอบด้วย บริการโทรศัพท์ประจำที่และโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการดาวเทียม และบริการพัฒนาสินทรัพย์ Non Telecom และบริการที่ดำเนินการสนองตอบต่อนโยบายภาครัฐ

ขณะเดียวกัน จากความเชื่อมั่นเชื่อว่าธุรกิจดิจิทัลกำลังเติบโตไปในทางที่ดี และเข้าไปมีบทบาทในทุกอุตสาหกรรม คาดว่าจะสร้างรายได้เป็น 25% ของ GDP ประเทศไทย ภายใน 8 ปีข้างหน้า ทำให้การลงทุนส่วนใหญ่ กำลังมุ่งไปที่เทคโนโลยี IoT , 5G และ Cloud  สำหรับ Big Data จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ และเพิ่มความปลอดภัยในโลกออนไลน์ รวมถึง เทคโนโลยี 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz ที่สามารถรองรับการให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ถือเป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของ CAT ที่ Move Fast & Move Smart จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา เพื่อผลักดันไทย สู่การเป็น ASEAN Digital Hub ให้สำเร็จตามเป้า

 


แชร์ :

You may also like