HomeBrand Move !!ทำความรู้จัก “5s Values” จากความต้องการผู้บริโภค สู่สมการกลยุทธ์ “การตลาดกลายพันธุ์” (MUTANT)

ทำความรู้จัก “5s Values” จากความต้องการผู้บริโภค สู่สมการกลยุทธ์ “การตลาดกลายพันธุ์” (MUTANT)

แชร์ :

Marketing Mutation

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

“ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์” (Hierarchy of Needs) ของ Abraham Maslow ประกอบด้วย Physiological Needs, Safety Needs, Belong & Love, Self-esteem, Self-actualization ยังคงเป็น Human Needs ที่มนุษย์ทุกคนต้องการ และมองหา

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้ Human Needs เช่นเดิม แต่ด้วย “บริบท” โดยรอบที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดเป็น 5s Values ใหม่ ประกอบด้วย

Spend Less for More: ระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย

Self-caring: ต้องการความปลอดภัย และสุขอนามัย

Self connection: เมื่อการใช้ Social Network ได้กลายเป็น “Culture” ไปแล้ว

Self-empowerment: ต้องการ Up-skill ตัวเอง เพื่อให้สามารถปรับตัว และอยู่ได้ท่ามกลางการการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

Social Contribution: ต้องการมีส่วนร่วมในการสนับสนุน หรือช่วยเหลือสังคม

เมื่อผู้บริโภคต้องการ 5s Values ดังกล่าว ส่งผลให้การทำธุรกิจ การทำตลาด และการขายด้วยแนวคิดเดิมๆ ใช้ไม่ได้ผลแล้ว ต้องปรับสู่ “การตลาดกลายพันธุ์” (Marketing Mutation)

ในหัวข้อสัมมนา Consumer: The Real Mutation” ภายในงาน Thailand Marketing Day 2020 จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย บรรยายโดย 3 กูรูนักการตลาด คือ ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO & MD, INTAGE Thailand / คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder, Hummingbirds Consulting / คุณขนิษฐา ตั้งวรพจน์วิธาน Consultant & Chief Strategist, Cheevamitr SE ร่วมกันแชร์ความรู้ และกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ MUTANT”

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants

ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO & MD, INTAGE Thailand

 

จากทฤษฎี “Maslow” สู่ “5s Values”  

ภายใต้ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ของ Abraham Maslow ที่เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองในความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว มนุษย์จะขยับความต้องการของตัวเองในขั้นต่อไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นสูงสุดคือ Self-actualization

Physiological Needs: ความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น น้ำ, อากาศ, อาหาร, ที่อยู่อาศัย

Safety Needs: เป็นความต้องการลำดับต่อจากขั้นพื้นฐาน โดยเราทุกคนต้องการความปลอดดภัยในชีวิต

Belong & Love: ความต้องการทางสังคม และความรัก

Self-esteem: ความต้องการให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ และคนอื่นเห็นคุณค่า

Self-actualization: เป็น Human Need ขั้นสูงสุดที่ต้องการพัฒนาตัวเอง – เติมเต็มศักยภาพ และปรารถนาทำทุกอย่างให้ประสบความสำเร็จ

แต่ COVID-19 ภายใต้ Human Need เดิม (ทฤษฎี Maslow) มีปัจจัยโดยรอบต่างๆ ที่ส่งผลให้ “บริบท” ทางสังคม และวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยมนุษย์ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังขึ้น กลั่นกรอง และตระหนักขึ้น ต้องการความปลอดภัย – สุขอนามัยมากขึ้น มีความเห็นอกเห็นใจ และอยากแบ่งปันสังคมกันมากขึ้น ทำให้เกิด 5s Values ใหม่ นั่นคือ

Spend Less for More

COVID-19 ส่งผลกระทบมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งไทย และไม่รู้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดเมื่อไร อีกทั้งหลังสถานการณ์คลี่คลายแล้ว คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจจะไม่ฟื้นกลับมาในทันที ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และหาทางเลือกซื้อของมากขึ้น

Self-caring

COVID-19 ทำให้คนให้ความสำคัญกับความปลอดภัยชีวิต และสุขอนามัยมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ดูแลสุขภาพ เพราะทุกคนรู้ว่า ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ เพราะฉะนั้นทำสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงดีกว่า คนจึงหันมาออกกำลังกายมากขึ้น และรับประทานอาหาร – เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ชีวิตมี Well-being ที่ดี

Social Connection

ทุกวันนี้มี Social Media หลายแพลตฟอร์มาก ทำให้พัฒนาการของการใช้ Social Media ไม่ใช่แค่เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร หรือรับข้อมูลข่าวสารเท่านั้นแล้ว แต่ยังเป็น “Culture” ประเภทหนึ่ง และคนที่ใช้ Culture นี้ได้ดี ก็เป็นคนที่ชนะในเกมนี้

Self-empowerment

ผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ทำให้เขาต้องการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อ Up-skill ตัวเอง อย่างการใช้ TikTok บางคนไม่ได้เล่นเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้ง Social Connection และเป็นช่องทางในการ Up-skill ตัวเอง จากคลิป How To ให้ความรู้ต่างๆ

Social contribution

เป็นลำดับขั้นสูงสุดของ Human Need เพราะคน “ไต่ระดับ” ความต้องการเสมอ เมื่อไรก็ตามที่คนเรามีกินมีใช้ รู้สึกปลอดภัยแล้ว มีกินได้ Empower ตัวเองแล้ว ก็อยาก Contribute การให้ความช่วยเหลือกับสังคม

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants

 

ถอดสมการ “การตลาดกลายพันธุ์” (MUTANT) เปลี่ยนผ่านจากยุค “Customer Centric” สู่ “Human Centric”  

จาก 5s Values ดังกล่าว ทำให้เกิด “Marketing Mutation” หรือ “การตลาดกลายพันธุ์” ที่การชนะใจผู้บริโภคในยุคนี้ ไม่ใช่แค่ Customer Centric” แต่ต้องเป็นการตลาดที่ลงลึกถึงระดับจิตวิญญาณของผู้คน หรือ Human Centric” นั่นคือ รู้และเข้าใจตั้งแต่ Functional Need ลึกไปถึง Spiritual Need

เมื่อถอดสมการกลยุทธ์การตลาด “MUTANT” ประกอบด้วย

M: Mindful Selection

ผลพวงจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในยุค COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคมีสติ และระมัดระวังการใช้ชีวิตมากขึ้น ทั้งการเลือกสินค้า – บริการ การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดที่จะเข้าถึงผู้บริโภคในสภาวะเช่นนี้ คือ “Mindful Marketing” การตลาดเน้นที่ต้องมีสติ และมีคุณค่า ประกอบด้วย

– Value-driven การส่งต่อคุณค่า หรือประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับลูกค้า

– Purpose-driven มี 3 แกนหลักคือ People – Planet – Profit ซึ่งแบรนด์/องค์กร ต้องมีเป้าประสงค์ใน 3 แกนนี้ชัดเจน และมี Impact มากพอที่จะทำให้เกิด Real Action ของคนในสังคมได้

– Better me, Better society, Better planet ทุกวันนี้การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ไม่ได้ซื้อแค่ว่าสินค้านั้นๆ จะช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้น แต่สินค้านั้นๆ ยังต้องทำให้สังคม และโลกใบนี้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants

การตลาดกลายพันธ์ุ (MUTANT)

U: User-generated meme & content

ที่ผ่านมาหลายแบรนด์ ใช้เงินไปกับการตลาดเยอะมาก แต่การตลาดยุคใหม่ในปัจจุบันมีสิ่งที่เรียกว่า meme” เกิดขึ้นบนออนไลน์มากมาย คือ เป็นคอนเทนต์ที่สร้าง Emotional Connection ผ่านการนำเสนอในหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูล, ภาพ, เทรนด์, มุกตลก ถือเป็น Internet Culture ประเภทหนึ่ง ที่ตอกย้ำว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจ Culture นั้นๆ เราจะอยู่ในนั้นได้อย่างเป็นพวกเดียวกัน

เพราะฉะนั้นการที่แบรนด์ หรือนักการตลาด นำกระแสที่เกิดขึ้น มาสร้างเป็น meme ที่โดนใจ เพื่อทำให้เกิด Emotional Connection ระหว่างแบรนด์ กับผู้บริโภค จะทำให้ผู้บริโภคแชร์คอนเทนต์ meme นั้นต่อๆ กัน กลายเป็นการสื่อสารที่ทรงพลัง

แทคติกของการทำ meme ให้โดนใจผู้บริโภคไทย จนกลายเป็นการตลาดที่ทรงพลัง มี 4 แทคติกคือ

1. Humor ตลกไว้ก่อน เพราะคนไทยชอบความสนุก

2. Easy & Simple เป็นเรื่องที่อยู่ในกระแส เป็นที่พูดถึงกันในเวลานั้นๆ นำมาออกแบบ meme ให้เข้าง่าย

3. Relevant to target รู้ความต้องการ และรู้ใจกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์​ เพื่อสร้าง meme ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย

4. Enhance your brand เชื่อมโยแบรนด์ หรือโปรดักต์ เข้ากับ meme

ที่สำคัญ “meme” นั้นๆ ต้อง Insightful และไม่ทำลายแบรนด์ ดังนั้นถ้าแบรนด์ทำ meme บน 4 แทคติกแล้ว จะทำให้ผู้บริโภค กลายเป็นคนสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ หรือโปรดักต์ ด้วยการแชร์คอนเทนต์ของแบรนด์

นอกจากนี้เมือเจาะลึกเทคนิคการทำ “User-generated Content” (UGC) มีหลายรูปแบบ เช่น รีวิว, ทดลองใช้, บล็อก, วิดีโอ, รูปแบบถาม-ตอบ ฯลฯ แต่จุดประสงค์ของ UGC คือ ทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการแชร์ความคิด หรือไอเดียของลูกค้าด้วยกันกับแบรนด์ หรือโปรดักต์

เทคนิคการกระตุ้นให้ลูกค้าทำ User-generated content

1. สร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ได้รู้สึกอยากบอกต่อ – อยากแชร์สิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์

2. ครีเอท Hashtag เช่น ในงานอีเว้นท์ที่แบรนด์จัดขึ้น ครีเอท Hashtag เพื่อให้คนที่มาร่วมงาน ได้ใส่ Hashtag เวลาแชร์คอนเทนต์ของตนเองที่ได้มางานนี้

3. ทำให้ลูกค้าอยากรีวิวสินค้าของแบรนด์

4. สร้าง “Community” เพื่อทำให้เกิดการพูดคุยกันระหว่างลูกค้า ซึ่งบทสนทนาที่สื่อสารกันนั้น ถือเป็นคอนเทนต์ที่มาจากลูกค้า หรือผู้ใช้งาน

5. Incentive ที่ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องเงิน แต่คือการให้รางวัลจากจิตวิทยา ที่แบรนด์ทำให้ลูกค้า หรือผู้ใช้งานรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มา เช่น คำยกย่อง หรือชื่นชมลูกค้าในฐานะกูรู และเป็น Super Fan ของแบรนด์

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants

คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder, Hummingbirds Consulting

T: Transparency, Traceable Process

เมื่อพูดถึง Transparency หรือความโปร่งใสในเชิงการตลาด คือ Traceability ที่ตลอดทั้งซัพพลายเชนผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึง “ต้นน้ำ” ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัตถุดิบว่ามาจากไหน ผลิตอย่างไร ซึ่งเป็นการแสดงถึง “ความจริงใจ” ที่แบรนด์มีต่อลูกค้า

ขณะเดียวกันในเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้า หรือบริโภค/ใช้สินค้านั้นๆ ไม่ใช่เป็นการซื้อที่ตัวสินค้า เพื่อมาใช้ หรือบริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้าซื้อ เพราะต้องการมีส่วนร่วมในการ Contribute ให้กับสังคมเช่นกัน

เช่น แบรนด์เสื้อผ้า ใช้วัตถุดิบผ้าทอจากชุมชน แบรนด์สามารถบอกได้ว่าเสื้อที่ลูกค้าซื้อ หรือสวมใส่อยู่นั้น ใช้วัตถุดิบจากไหน และมีส่วนในการสนับสนุนท้องถิ่นอย่างไร ในขณะที่ลูกค้า เมื่อได้รู้ Story จะทำให้เขารู้สึกว่าการที่เขาซื้อสินค้านั้นๆ ไม่ได้ซื้อเพราะเป็นแฟชั่นที่สวยเท่านั้น แต่ซื้อเพราะได้มีส่วน Contribute บางอย่างให้กับสังคม และชุมชนท้องถิ่น

 

A: Authentic identity

แน่นอนว่านักการตลาดต้องการมาร์เก็ตแชร์มากที่สุด นั่นคือ การคิดที่ปลายทาง แต่ทั้งนี้ก่อนจะไปถึงปลายทางที่ต้องการ แบรนด์ควรกลับมาให้ความสำคัญก่อนว่า แบรนด์ของเราได้ Mind Share จากผู้บริโภคหรือยัง ?

เพราะเมื่อไรก็ตามที่แบรนด์นั่งอยู่ในใจลูกค้าก่อน แบรนด์นั้นๆ เตรียมรับยอดขายจากลูกค้าได้เลย!

การจะได้ Mind Share จากผู้บริโภค หนึ่งในนั้นคือ แบรนด์มี Identity ที่แตกต่าง และสะท้อนตัวตนของแบรนด์หรือยัง ?

การจะหา Brand Identity ที่แตกต่าง และเป็นตัวจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น  

1. แบรนด์ต้องเข้าใจลูกค้าก่อนว่า ลูกค้าเปลี่ยนไปอย่างไร และลูกค้าต้องการอะไร

2. แบรนด์รู้จักจุดแข็งของตัวเองดีหรือยัง ซึ่งจุดแข็งของแบรนด์อยู่ที่ “มุมของลูกค้า” ว่าทำไมลูกค้าถึงซื้อแบรนด์เรา

3. ต้องรู้จักจุดอ่อน – จุดแข็งของคู่แข่ง ซึ่งคู่แข่งในทุกวันนี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันแล้ว

– ถ้าแบรนด์เรา แข่งกับคู่แข่งในจุดเดียวกัน เป็นการแข่งขันที่อยู่ใน “Dump Zone” ย่อมทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์เราไม่ได้

– ถ้าแบรนด์เรา แข่งในจุดที่คู่แข่งเหนือกว่า เป็นการแข่งขันที่อยู่ใน “Losing Zone” ซึ่งต่อให้แบรนด์เรามีงบเยอะแค่ไหน แค่เริ่มต้นก็แพ้แล้ว เราก็แพ้ เริ่มต้นก็แพ้แล้ว

– ถ้าแบรนด์เรา แข่งในจุดที่เสมอกับคู่แข่ง เช่น แข่งสงครามราคาเช่นเดียวกับคู่แข่ง เป็นการแข่งขันที่อยู่ใน “Danger Zone” ต่อให้แบรนด์เรามีงบลงทุน และมีเทคโนโลยีล้ำเพียงใด แต่หาความแตกต่างไม่เจอ และไม่ได้ทำให้แบรนด์เราเหนือคู่แข่ง

เพราะฉะนั้นจะอยู่เหนือคู่แข่ง และเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคจดจำได้ ต้องอยู่ในพื้นที่ “Wining Zone” นั่นคือ การมี Brand Identity เพื่อสร้างความแตกต่าง

ที่สำคัญเมื่อไรที่แบรนด์ สามารถสร้าง “สาวก”​ จะทำให้แบรนด์ไม่ต้องออกแรงทำการตลาดมากนัก เพราะ “สาวก” ​จะช่วยทำการตลาดให้กับแบรนด์เอง ดังเช่นกรณีศึกษา Apple ที่สินค้าหลายตัวของ Apple มีสาวกเหนียวแน่น

Marketing Mutation

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

N: New-Old Normal Needs (back to basic needs)

ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาล้ำไปไกล แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนก็อยากพาตัวเองถอยมา เฉกเช่นกลยุทธ์การตลาดที่กลับมาสู่ “การตลาดแบบสามัญ” หรือการตลาดแบบธรรมดา ที่อาจนึกว่ามัน Out ไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง หลายกลยุทธ์ยังสามารถใช้ได้เสมอ

1. Simple ความเรียบง่ายในการสื่อสาร เพื่อสื่อสารแมสเสจอย่างตรงไปตรงมากับฐานแฟนแบรนด์ หรือแฟนคลับ

2. Substantial การสื่อสารแบบมีสาระ

3. Sincere การตลาดความจริงใจ จะทำให้แบรนด์ได้ฐานแฟนคลับ เพราะเมื่อทำด้วยความจริงใจ คนย่อมรับรู้ได้ สัมผัสได้ นำไปสู่การแชร์คอนเทนต์ให้กับแบรนด์ หรือบอกต่อ

 

T: Trustmark vs. Trademark

ปัจจุบัน Trustmark” สำคัญกว่า Trademark” เพราะทุกวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่มีโลโก้สวยๆ มี Tagline สวยๆ ที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อในแบรนด์นั้นได้ หากแต่แบรนด์ต้องมี “คำมั่นสัญญา” (Promise) ให้กับลูกค้า

“คำมั่นสัญญา” ที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อในแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ต้องประกอบด้วย 4A คือ

1. Authenticity แสดงให้เห็นถึงความเป็นตัวจริง – ความเป็นต้นฉบับ (Original) ในเรื่องนั้น

2. Ability ถ้าแบรนด์อยาก Stand for อะไรสักอย่างหนึ่ง ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า มีความสามารถตามที่สื่อสาร หรือบอกกับผู้บริโภคได้หรือไม่ เพื่อทำให้ลูกค้าเชื่อในสิ่งที่แบรนด์สื่อสาร

3. Actions หมดยุคพูดอย่างเดียวแล้ว ต้องลงมือทำ ดังนั้นแบรนด์ต้องพิสูจน์ว่า ได้ลงมือทำจริงในสิ่งที่พูดไว้ และส่งมอบประสบการณ์นั้นให้กับลูกค้า

4. Alignment แบรนด์ต้องเข้าใจ – สัมผัสชีวิตลูกค้าได้จริง และตอบสนองความมุ่งหวังของลูกค้าได้หรือไม่

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants

คุณขนิษฐา ตั้งวรพจน์วิธาน Consultant & Chief Strategist, Cheevamitr SE

 

การตลาดยุค  “Human Centric” จะทรานส์ฟอร์มธุรกิจต้อง Rethink โมเดลธุรกิจ – เซ็กเมนต์ – การออกแบบประสบการณ์ลูกค้า

พัฒนาการของการตลาดได้เปลี่ยนจากยุค Product Centric ที่เป็นยุคผลิตสินค้า เพื่อเน้นขายเท่านั้น ไปสู่ Customer Centric เน้นลุกค้าเป็นศูนย์กลาง มาถึงปัจจุบันเข้าสู่ยุค “Human Centric” ที่แบรนด์ต้องเข้าใจ Human Needs และเข้าถึง “จิตวิญญาณ” ของลูกค้า

จากเดิมโครสร้างการตลาดในอดีต วัดผล KPI กันที่ Brand Awareness,​ การกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการทดลองสินค้าให้ได้มากที่สุด, เมื่อผู้บริโภคได้ทดลองแล้ว เปลี่ยนมาเป็นผู้ซื้อเท่าไร และพัฒนาเป็นแฟนแบรนด์เท่าไร

แต่ปัจจุบัน Marketing Framework ได้กลับหัว กลายเป็นว่า ให้เริ่มสร้างฐานลูกค้าที่รักในแบรนด์ก่อน (Start with love your customer) เพราะหากแบรนด์มีฐานแฟนแบรนด์ คนกลุ่มนี้จะสร้างทั้ง Tri-al และ Advertising ให้แบรนด์เอง

เพราะฉะนั้นการตลาดกลายพันธุ์ แบรนด์ต้อง Rethink ใน 3 เรื่องสำคัญคือ

1. Re-define business model

ในโลกการเปลี่ยนแปลง และยิ่งมี COVID-19 ปัจจัยเร่งให้แบรนด์/องค์กรต้องทรานส์ฟอร์มตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่แบรนด์/องค์กร ต้องหาว่าอะไรคือ Growth Engine ของแบรนด์/องค์กร

ขณะเดียวกันในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ทุกคนพยายามรักษาสภาพคล่อง และกระแสเงินสด ดังนั้นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้แบรนด์/องค์กร ยังคงมีกระแสเงินสดที่ดี และไม่เพิ่มต้นทุนคงที่ คือ การหาพาร์ทเนอร์ เพื่อช่วยกันเสริมกำลังการทำธุรกิจ

2. Re-focus segment

แบรนด์เป็นทุกอย่างให้ทุกคนไม่ได้ แต่แบรนด์เป็นบางอย่างให้กับบางคนได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นคำว่าเซ็กเมนต์ในที่นี้ จึงไม่ใช่ Customer Target” อีกแล้ว แต่คือ Human Segment” ซึ่งสอดคล้องกับยุค Human Centric ที่แบรนด์ต้องเข้าใจลูกค้าลึกซึ้งถึงความต้องการ และจิตวิญญาณ ด้วยใช้ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ผสานกับ Data เพื่อทำให้เป็นแบรนด์ที่ลูกค้ารัก

3. Re-design brand experience with shared purpose

ออกแบบการสร้างประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการแบ่งปัน Purpose ระหว่างแบรนด์ กับ Stakeholder ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทเนอร์ และผู้บริโภค

ภายใต้ Purpose-driven แบรนด์ต้องคิดถึง People และ Planet มาก่อน Profit เพราะเมื่อไรแบรนด์คิดเรื่องผลกำไรขาดทุนมาเป็นลำดับแรก แบรนด์จะลืมคำนึงถึงคนในสังคม และโลกใบนี้

ดังนั้นโมเดลการตลาดกลายพันธุ์ (MUTANT) ในที่สุดแล้วจะสร้าง Win ให้กับทั้งแบรนด์, พาร์ทเนอร์ และผู้บริโภค ขณะเดียวกันทำให้แบรนด์/องค์กร อยู่ร่วมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้

MAT 2020 The Marketing Mutation_Consumer The Real Mutants


แชร์ :

You may also like