HomeBrand Move !!10 ปีหลังล้มละลาย อาจไม่ใช่ปีฉลองใหญ่ของ “เจแปนแอร์ไลน์”

10 ปีหลังล้มละลาย อาจไม่ใช่ปีฉลองใหญ่ของ “เจแปนแอร์ไลน์”

แชร์ :

ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 10 ปีของการล้มละลายของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (JAL) ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นความล้มเหลวของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น คำถามและคำวิจารณ์ยังคงวนเวียนอยู่ในประเด็นของการช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐบาลเพื่อกอบกู้บริษัทจากหนี้จำนวนมหาศาลกว่า 2.3 ล้านล้านเยน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“เราสร้างปัญหาให้กับหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ถือหุ้นของเรา หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และกระทรวง รวมถึงสถาบันการเงินพันธมิตร” Yuji Akasaka ประธานสายการบินเจแปนแอร์ไลน์กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

“มีคนจำนวนมากที่ยังคงทุกข์ทรมานอยู่ และเราไม่เคยคิดว่าเราจะฟื้นความไว้วางใจกลับมาได้ 100% แต่ด้วยการช่วยเหลือสังคมผ่านธุรกิจของเราและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรายังหวังว่าจะกู้คืนความไว้วางใจกลับมาได้”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การครบรอบ 10 ปีของการล้มละลายเจแปนแอร์ไลน์ และกลับมาประสบความสำเร็จในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วด้วยเงินทุนสาธารณะ การลดตำแหน่งงาน และการปฏิรูปการบริหารภายใต้การนำของ Kazuo Inamori ผู้ก่อตั้ง Kyocera Corp. ซึ่งเป็นผู้นำในการเปลี่ยนสู่ยุคใหม่ของบริษัท เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามากเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

โดยก่อนการล้มละลาย มาตรฐานของเจแปนแอร์ไลน์นำมาซึ่งผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นการครอบครองเครื่องบินขนาดใหญ่จำนวนมากที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และการจ่ายเงินบำนาญก้อนใหญ่ให้แก่พนักงานผู้เกษียณอายุ รัฐบาลในเวลานั้นจึงตัดสินใจว่าจ้าง Enterprise Turnaround Initiative Corp. ของญี่ปุ่นเพื่อปฏิรูปสายการบินเสียใหม่ และหลังจากเตรียมการเพื่อป้องกันการล้มละลายจากการการหยุดให้บริการเที่ยวบิน รัฐบาลก็จัดการนำเจแปนแอร์ไลน์เข้าสู่กระบวนการชำระบัญชีตามกฎหมาย

กองทุนสาธารณะจำนวน 3.5 แสนล้านเยนถูกอัดฉีดผ่านร่างฟื้นฟู และธนาคารเจ้าหนี้ของเจแปนแอร์ไลน์ก็ตกลงที่จะตัดหนี้จำนวนรวมประมาณ 5.2 แสนล้านเยน ผู้ถือหุ้นแต่ละรายยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการเพิกถอนหลักทรัพย์ของ JAL ออกจากตลาดหุ้น

ด้าน Inamori ซึ่งเป็นประธาน JAL ตามคำร้องขอของรัฐบาลในขณะนั้น ได้เข้ามาเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท โดยการนำเสนอมาตรการ เช่น ระบบการจัดการ “อะมีบา” ซึ่งแต่ละแผนกหรือแต่ละอะมีบา จะแสวงหากำไรของตนเอง

“ก่อนการล้มละลายผู้บริหารและพนักงานของเราขาดความตระหนักและความรับผิดชอบต่อต้นทุน” Akasaka กล่าว “สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างมาก หลังจากการเป็นผู้นำของประธานอินาโมริ”

ด้วยการลดตำแหน่งงาน 16,000 ตำแหน่งรวมถึงการเลิกจ้าง JAL มีกำไรจากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 204,900 ล้านเยนในเดือนมีนาคม 2012 และทำให้บริษัทได้กลับคืนสู่ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวในเดือนกันยายนของปีเดียวกันนั้นเอง

โดยสิ่งที่ Akasaka มองเห็นคือโอกาสใหม่ ๆ อย่างการเปิดตัวเที่ยวบินราคาประหยัดในเดือนพฤษภาคมปีนี้ หรือโอกาสทางธุรกิจในโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์

แต่ความหวังทั้งหมดที่กล่าวมา ต้องบอกว่ามลายหายไปแล้วเรียบร้อยจากวิกฤติ Covid-19 เพราะนอกจากจะทำให้การแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก และพาราลิมปิกต้องเลื่อนออกไป ธุรกิจการบินยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก เห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารจากต่างประเทศของเจแปนแอร์ไลน์ที่ลดลงถึง 98% ในเดือนเมษายน หรือผู้โดยสารภายในประเทศที่เคยเดินทางในช่วงโกลเด้นวีคก็ลดลงถึง 95% ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้บริษัทต้องหั่นโบนัสพนักงานลงครึ่งหนึ่ง

โดยตัวเลขโบนัสที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2 เดือน ซึ่งหากลดลงครึ่งหนึ่งเท่ากับว่า พนักงานเจแปนแอร์ไลน์จะเหลือโบนัสเพียงหนึ่งเดือน ซึ่งเท่ากับโบนัสที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเมื่อปี 2011 หลังจากล้มละลายเลยทีเดียว

ไม่เฉพาะสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ เพราะทาง ANA ก็มีรายงานว่าอาจจะลดโบนัสพนักงานเช่นกัน ซึ่งจากสถานการณ์นี้ ทำให้ปี 2020 ที่เจแปนแอร์ไลน์ควรจะได้ฉลองอย่างยิ่งใหญ่อาจไม่เป็นอย่างที่คิดอีกแล้วก็เป็นได้

Source

Source


แชร์ :

You may also like