HomeBrand Move !!“Save-Ryokan” จ่ายก่อน-ใช้บริการทีหลัง โปรเจ็คช่วยเหลือเรียวกังญี่ปุ่น

“Save-Ryokan” จ่ายก่อน-ใช้บริการทีหลัง โปรเจ็คช่วยเหลือเรียวกังญี่ปุ่น

แชร์ :

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เรียวกังญี่ปุ่น” น่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เจอผลกระทบจากวิกฤติ Covid-19 เข้าอย่างจัง ส่วนหนึ่งเพราะไวรัสดังกล่าวระบาดอย่างหนักตั้งแต่เดือนมีนาคมต่อเนื่องมาถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่ประเทศญี่ปุ่นเคยทำเงินได้มหาศาลจากนักท่องเที่ยวในเทศกาลชมดอกซากุระ และนั่นทำให้โปรเจ็คหนึ่งต้องถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้งเพื่อช่วยพยุงเรียวกังให้อยู่รอด ในชื่อ “Tane Project”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะเปิดให้เรียวกังที่สนใจสมัครเข้าร่วม และนำรายชื่อเรียวกังเหล่านั้นเปิดให้แขกที่สนใจจะเข้าพักโอนเงินเข้ามาอย่างน้อย 5,000 เยน แลกกับคำสัญญาว่าจะมาพักในอนาคต (สัญญาอายุ 3 ปี) เพื่อให้เรียวกังนำเงินที่ได้รับไปรักษากิจการเอาไว้ให้อยู่รอดต่อไปก่อน

ส่วนแขกที่จ่ายเงินเอาไว้ เมื่อพวกเขาเดินทางมาพัก ก็แค่จ่ายส่วนต่างที่เหลือ

โปรเจ็คนี้ริเริ่มเมื่อปี 2011 โดยชาวโทยาม่าชื่อ Naohiko Niwa วัย 51 ปี ที่บอกว่าอยากสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือเรียวกังทางตอนเหนือของประเทศที่เคยได้รับผลกระทบเมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในฟุกุชิม่า

อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดวิกฤติ Covid-19 สิ่งที่ตามมาคือ ยอดผู้เข้าพักในเรียวกังของญี่ปุ่นลดลงถึง 90% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบกับปี 2019 (อ้างอิงจากสำนักข่าว Kyodo) ซึ่งวิกฤตินี้ได้ทำให้เรียวกังหลาย ๆ แห่งเริ่มถอดใจ และกำลังตัดสินใจปิดกิจการ เพราะประเมินแล้วว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาเรียวกังเอาไว้นั้นค่อนข้างสูงมาก ทางทีมจึงมีการพิจารณานำโปรเจ็คดังกล่าวกลับมาปัดฝุ่นอีกครั้งเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพื่อช่วยพยุงกิจการของเรียวกังญี่ปุ่นเอาไว้

โดยถึงตอนนี้ มีเรียวกังมากถึง 73 แห่งสมัครเข้ามาแล้ว และมีผู้สนับสนุนแล้วราว 1,823 รายที่จ่ายเงินเข้ามาช่วย คิดเป็นตัวเงินมากถึง 54,815,000 เยนเลยทีเดียว (เมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละเรียวกังจะมีการแสดงยอดเงินที่ได้รับเอาไว้อย่างชัดเจน)

ไม่เพียงเท่านั้น ทางเว็บไซต์ยังได้รับข้อความจากบรรดาผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากด้วย ซึ่งหลาย ๆ ข้อความเป็นการส่งกำลังใจให้กับเจ้าของกิจการ โดยเล่าถึงประสบการณ์พิเศษในอดีตที่เคยได้รับจากเรียวกังนั่นเอง

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ดังกล่าวใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก และไม่มีเวอร์ชันภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นไปได้ที่กลุ่มเป้าหมายจะเป็นชาวญี่ปุ่นในประเทศกันเองมากกว่าจะพุ่งเป้าที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

Source

Source


แชร์ :

You may also like