HomeBrand Move !!ถอดบทเรียน ‘สิงคโปร์’ ผู้ป่วย Covid-19 พุ่ง เพราะคนสิงคโปร์แห่กลับประเทศ

ถอดบทเรียน ‘สิงคโปร์’ ผู้ป่วย Covid-19 พุ่ง เพราะคนสิงคโปร์แห่กลับประเทศ

แชร์ :

ต้องยอมรับว่าในการจัดการกับไวรัส Covid-19 ประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง “สิงคโปร์” เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก ว่ามีการสื่อสารจากภาครัฐที่เหมาะสม แถมยังสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเข้มงวด ไม่มีกรณีเลือกปฏิบัติ หรือเรื่องครหาว่าสองมาตรฐานใด ๆ ให้ปรากฏ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยหากย้อนไปเมื่อต้นเดือนมีนาคม สิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อในประเทศราว 100 กว่าคนเท่านั้น และมีศักยภาพในการหาตรวจเชื้อ Covid-19 ได้ไม่ต่างจากเกาหลีใต้ นั่นคือสามารถตรวจได้มากถึง 6,800 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ขณะที่เกาหลีใต้ตรวจได้ 6,500 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

สถิติผู้ติดเชื้อของสิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ถือว่าน่าสนใจ เพราะพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 คนต่อวันเท่านั้น ผลจากการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ประเทศยังสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ไม่ต้องปิดห้างร้านอาคารสถานที่ใด ๆ ให้ต้องลำบากประชาชนในประเทศมากนัก

อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 ของสิงคโปร์ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมากลับพุ่งขึ้นจาก 100 กว่าคนเป็น 1,000 คนอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายฝ่ายต้องตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นเจ้าแห่งความรักษาระเบียบนี้

เมื่อสิงคโปร์เข้าสู่ “เฟสสอง”

ภาพของประเทศต้นแบบด้านการบริหารจัดการอย่างสิงคโปร์ถูกพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือในวันที่ 1 เมษายน โดยในวันดังกล่าวเพียงวันเดียว สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 74 ราย (มาจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 20 คน และการระบาดในประเทศอีก 54 คน) และทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรวมทะลุ 1,000 คนในที่สุด ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jeremy Lim ผู้เชี่ยวชาญจาก The Saw Swee Hock School of Public Health อธิบายภาพดังกล่าวว่า สิงคโปร์ในวันนี้กำลังเข้าสู่การระบาดของ Covid-19 ใน “เฟสสอง” แล้วอย่างเป็นทางการ

ขอบคุณภาพจาก SCMP

ย้อนอดีตกันอีกนิดหนึ่ง – การระบาดของ Covid-19 เฟสแรกในสิงคโปร์ได้รับการบันทึกว่าเกิดจากนักท่องเที่ยวจากจีนที่นำเชื้อไวรัสมาแพร่ ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์จัดการปัญหาดังกล่าวด้วยนโยบายคุมเข้มการเดินทางเข้าออกประเทศ และจำกัดการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่, เกาหลีใต้, อิตาลี, อิหร่าน เป็นกรณีพิเศษ จนสามารถควบคุมการแพร่เชื้อในประเทศได้เป็นที่น่าพอใจ

แต่สำหรับการระบาดใน “เฟสสอง” นั้น รายงานจาก South China Morning Post และ asianscientist.com ชี้ตรงกันว่า การเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของชาวสิงคโปร์ที่ไปเรียน หรือไปทำงานต่างแดนนั้นคือตัวการของการระบาดรอบใหม่ และพบเคสที่ผู้ป่วยไม่เคยเข้าไปอยู่ในจุดเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jeremy Lim มองว่า การระบาดรอบใหม่นี้เป็นสิ่งที่ชาวสิงคโปร์ทุกคนต้องหันมาร่วมใจกันต่อสู้กับไวรัสแล้วจริง ๆ

ด้าน Kitty Lee หัวหน้าฝ่าย Health and Life Science แห่งบริษัทที่ปรึกษา Oliver Wyman กล่าวถึงการระบาดเฟสสองที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ว่า เป็นเพราะชาวสิงคโปร์ “ไม่ใส่ใจ” มากพอในการทำ Social Distancing เห็นได้จากตัวเลขการ Work From Home ของบริษัทย่านใจกลางเมืองที่พบว่ามีแค่ 40% เท่านั้น ส่วนอีก 60% ยังมาทำงานตามปกติ

เพื่อจำกัดการระบาดในเฟสสอง สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ทำคือการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการ Social Distancing มากขึ้น เช่น เริ่มมีคำสั่งห้ามประชาชนรวมกลุ่มกันเกิน 10 คนขึ้นไป และถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องออกจากบ้าน รวมถึงจำกัดการเดินทางเข้าประเทศในระหว่างวันที่ 23 – 27 มีนาคมด้วย

ส่วนจะจัดการได้เด็ดขาดหรือไม่ หรือจะต้องงัดมาตรการอื่น ๆ เข้ามาใช้เพิ่มเป็นสิ่งที่เราต้องติดตามต่อไปในอนาคต แต่สิ่งที่ศาสตราจารย์ Teo Yik Ying คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ของ Saw Swee Hock กล่าวให้สัมภาษณ์กับสื่อสิงคโปร์อย่าง The Straits Times น่าจะเป็นการให้สัมภาษณ์ที่กระตุกใจคนสิงคโปร์ และอาจรวมถึง “คนไทยบางกลุ่ม” ได้พอสมควร กับการกล่าวเตือนตรง ๆ ว่า

“ถ้าชาวสิงคโปร์ไม่สามารถทำตามกฎพื้นฐานที่รัฐบาลร้องขอได้ หลังจากนี้ สิงคโปร์จะต้องพบกับการระบาดในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้แน่นอน”

สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องทำเพื่อจัดการกับ “Covid-19 รอบสอง”

โดยสิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ย้ำมากขึ้นในขณะนี้ก็คือ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับเชื้อ Covid-19 สามารถแพร่เชื้อได้แม้ไม่แสดงอาการ ซึ่งนั่นอาจนำไปสู่มาตรการ Social Distancing ที่เข้มข้นขึ้นในอนาคต

ขณะที่มาตรการเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยก็ได้รับการหยิบยกมาพูดคุยด้วยเช่นกัน เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลสิงคโปร์เคยปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่บอกว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อให้มีหน้ากากเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ทาง WHO เริ่มตระหนักแล้วว่า คำแนะนำดังกล่าวอาจใช้ไม่ได้ผลจริง เนื่องจากมีสถิติที่เห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศที่ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยกันอย่างแพร่หลาย (ญี่ปุ่น – ฮ่องกง) มีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ประเทศที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของ WHO อย่างสหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกากลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

ส่วนประเทศไทยจะเจริญรอยตามสิงคโปร์ในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่ อีกไม่นานเราคงได้ทราบกัน

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like