HomeDigitalอยาก ‘ปักหมุดให้ขลัง’ ฟังทางนี้ กูเกิลบอกเอง สถิติข้อมูลเด็ด ใส่แล้วดี ค้าขายรวย

อยาก ‘ปักหมุดให้ขลัง’ ฟังทางนี้ กูเกิลบอกเอง สถิติข้อมูลเด็ด ใส่แล้วดี ค้าขายรวย

แชร์ :

แม้จะอยู่ในยุค Digital Economy แต่การจับจ่ายใช้สอยของผู้คนทั่วไปในปัจจุบันที่สัดส่วนสูงถึง 98% ยังอยู่ในฟากของออฟไลน์เป็นหลัก การใช้จ่ายออนไลน์ยังเป็นส่วนน้อยเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของการใช้จ่ายโดยรวม ธุรกิจที่จะอยู่รอดในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่ม SME จึงจำเป็นต้องสร้างความแข็งแรงให้ธุรกิจในฟากของออฟไลน์ให้ได้เสียก่อน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่การทำธุรกิจในปัจจุบันก็จำเป็นต้องเรียนรู้และสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ให้ได้ด้วย ​เพราะถึงแม้การซื้อขายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโลกออฟไลน์ แต่ด้วย พฤติกรรมในยุค Mobile First ทำให้ผู้คนคงนิยมค้นหาข้อมูลที่สนใจ รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการไป ผ่านมือถือกันมากขึ้น ดังนั้น การมีตัวตนหรือทำให้ผู้บริโภคสามารถพบเจอได้ในโลกออนไลน์จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้

GMB เครื่องมือปักหมุดให้ขลัง

ขณะที่​เทคโนโลยีหรือฟีเจอร์ต่างๆ จากบรรดา Digital Platform ที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบัน ต่างก็เอื้อต่อการทำธุรกิจในยุคนี้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากสามารถ Provide ข้อมูลต่างๆ ของธุรกิจได้แล้ว ยังสามารถนำพาลูกค้ามาถึงที่ตั้งของธุรกิจแต่ละแห่งได้ด้วย รวมทั้งยังมีฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ประกอบการและลูกค้าสามารถสื่อสารถึงกันได้โดยตรงเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ หรืออำนวยความสะดวก เพื่อจองคิวใช้บริการ​ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าของธุรกิจต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

แพลตฟอร์ม Google my Business (GMB) ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่พัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ อย่างเข้าใจอินไซต์ของ Users ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งฟากของลูกค้า​ จนทำให้ผู้ประกอบการหลายรายใช้ GMB เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น

คุณไมค์ จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย เปิดเผยพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยในปัจจุบันมีถึง 6 ใน 8 ที่ก่อนตัดสินใจจะซื้อสินค้าใดๆ จะหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเหล่านั้น บนโลกออนไลน์ไปก่อน โดยเฉพาะ Key Word สำคัญว่า “ใกล้ฉัน”​ ที่ถูกเสิร์ชเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในระยะเวลาตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารใกล้ฉัน ร้านกาแฟใกล้ฉัน หรือร้านดอกไม้ใกล้ฉัน เป็นต้น แม้กระทั่งการหาสิ่งอื่นๆ ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน ตู้เอทีเอ็ม ดังนั้น ทุกธุรกิจจึงสามารถใช้ GMB ได้เช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันมี 3 กลุ่มธุรกิจหลักๆ ที่ใช้บริการ ได้แก่ F&B ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ Service กลุ่มธุรกิจบริการ เช่น ร้านนวด สปา และ Retail หรือร้านค้าปลีกต่างๆ เป็นต้น

“เป้าหมายสำคัญของ GMB คือการทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการต่างๆ มีตัวตนในโลกออนไลน์ และถูกหาให้พบเจอได้ง่าย จากพฤติกรรมของลูกค้าในยุคนี้ที่ชอบค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านการเสิร์ชบนโลกออนไลน์บนกูเกิลเสิร์ชและกูเกิลแม็พ ด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เช่น สามารถ​ใส่ข้อมูลของธุรกิจลงไปได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ลิงก์เว็บไซต์ของร้าน ข้อมูลอัพเดทโปรโมชั่น การรีวิวของลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจที่ใช้ GMB โดดเด่นจากการแสดงผลผมากกว่ารายอื่นๆ ที่ขึ้นมาจากการเสิร์ชพร้อมกัน​ จึงดึงดูดความสนใจได้มากกว่า และเพิ่มโอกาสที่จะถูกคลิกเข้ามาดูเป็นอันดับแรกๆ และยังสามารถสร้าง Engage กับลูกค้าได้โดยตรงจากฟีเจอร์ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ม”  

นอกจากทำให้ธุรกิจมีตัวตนและสร้าง Engage ที่ดีแล้ว GMB ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนพัฒนาธุรกิจได้ดีขึ้น เพราะมีอินไซต์ข้อมูลต่างๆ เชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาดูว่าเป็นกลุ่มไหน เข้ามาเวลาไหน จากช่องทางใด เพื่อเข้าใจลูกค้า​และสามารถนำอินไซต์ที่ได้ ไปพัฒนาธุรกิจให้ดีและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการ​สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล​พบว่า แต่ละข้อมูลที่ธุรกิจใส่ลงไป​นั้น ช่วย​เพิ่มโอกาสให้ลูกค้าที่กำลังค้นหาสถานที่ ​เลือกคลิกและมาใช้บริการธุรกิจของเราได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็น

Google ช่วยเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ธุรกิจมากถึง 1 แสนล้านครั้ง/เดือน และช่วยให้ลูกค้าติดต่อธุรกิจได้โดยตรงมากกว่า 3 พันล้านครั้ง

ธุรกิจที่ใส่รูปภาพลงในข้อมูลของตนผ่าน Google My Business จะได้รับคำขอเส้นทางจากลูกค้าเพิ่มขึ้น 42%

– โดย​พบว่าลูกค้า 90% ที่เสิร์ช ผ่าน Google Search และ Google Map มักจะเลือกคลิกข้อมูลที่มีรูปภาพด้วย ทำให้ธุรกิจที่ใช้ GMB มีเปอร์เซ็นต์ที่จะถูกคลิกจากลูกค้ามากกว่าผลจากการ Search Engine ท่ัวไป

การใส่ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างครบถ้วน ทั้งรูปภาพ เวลาเปิด-ปิด เบอร์โทรศัพท์ จะทำให้คนคลิกเข้าไปดูเพิ่มมากขึ้นถึง 7 เท่า โดยเฉพาะถ้าเราใส่เวลาเปิด -ปิด ที่ชัดเจน โอกาสที่คนจะไปที่ร้านเราจะเพิ่มมากขึ้นถึง 90%

– การมีรีวิวธุรกิจ ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกร้านค้ามากขึ้น โดยพบว่า 66% ของผู้บริโภคจะมั่นใจมากขึ้นโดยพิจารณาจากกรีวิวต่างๆ 

– เรื่องโปรโมชั่นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้ เพราะพบว่า มีถึง 50% ของลูกค้าที่มองหาโปรโมชั่น ไปพร้อมกันในระหว่างทำการเสิร์ช 

“กูเกิลพยายามพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ​ บน GMB เพื่อช่วยให้ SME มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เพราะตอบโจทย์อินไซต์ลูกค้า รวมท้ังยังมีข้อมูลเชิงลึกในการทำธุรกิจ โดยตั้งเป้าให้ SME ไทยมีการสร้างตัวตนบนออนไลน์เพิ่มมากขึ้นจนครบ 1 ล้านราย ในปีนี้ ซึ่งตลอดเวลาหลายปีที่แนะนำเครื่องมือนี้สามารถเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2018 ที่ผ่านมา หลังสามารถข้ามกำแพงสำคัญในการ Verfify หรือแสดงตัวตนของเจ้าของธุรกิจก่อนใช้งาน จากที่ต้องรอ Pin Code จากโปสการ์ดที่ทางกูเกิลส่งมา ก็สามารถเพิ่มช่องทางในการ Verify ได้ที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ในพื้นที่ ทำให้ลดเวลาจาก 14 วันเหลืออยู่ที่ราว 30 นาที และในปีนี้ได้เพิ่มอีกหนึ่งช่องทางที่สะดวกมากขึ้นด้วยการยืนยันผ่าน SCB Easy App ทำให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะทำให้มีผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้”​​ 

3 ธุรกิจดัง​ ขยายฐานลูกค้าผ่านโลกออนไลน์​

ตัวอย่างธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ และใช้งาน GMB เพื่อช่วยในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการโปรโมทธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ผ่านออนไลน์ รวมทั้งการนำทางไปยังร้านได้อย่างถูกต้องแม้ว่าจะเพิ่งเคยมาเป็นครั้งแรก รวมทั้งยังได้คอมเม้นต์จากลูกค้า รวมทั้งนำข้อมูลอินไซต์ที่ได้มาปรับให้การทำธุรกิจตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ดีมากขึ้น ประกอบด้วย

ร้าน “แดงอาหารทะเล” ร้านอาหารดังแห่งสมุทรสงคราม ที่มีอายุกว่า 4 ทศวรรษ​ โดย คุณสแตมป์ กมเลศน์ กอสกุล ผู้บริหารร้านและทายาทรุ่นสอง ให้ข้อมูลว่า GMB ช่วยให้ลูกค้าไม่สับสนร้าน “แดงอาหารทะเล”​ ต้นตำรับกับร้านอื่นๆ เนื่องจากมีร้านอาหารชื่อแดง อยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงจำนวนหลายร้าน ​เมื่อปักหมุด ก็สามารถนำลูกค้ามาร้านได้อย่างถูกต้อง รวมทั้ง ยังเห็นลูกค้าหน้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ที่เดินทางด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากการเสิร์ชหาร้านจากออนไลน์ ลูกค้าที่มายังนิยมโพสต์ภาพเมนูอาหารทำให้ร้านได้รับความสนใจ และมีคนมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น​ รวมทั้งยังมีลูกค้านิยมสอบถามข้อมูล รวมทั้งรับบริการจองคิวผ่านฟีเจอร์แชทที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มอีกด้วย

สถิติจาก GMB ของร้านแดงอาหารทะเล พบว่า  84.6% ของลูกค้าพบร้านแดงผ่านการเสิร์ช โดยมี​การเข้ามาค้นหาและเสิร์ซแผนที่มากกว่า 2.25 แสนครั้ง เมื่อราว 1 เดือนที่ผ่านมา, ​​​มีคนเข้ามาดูรูปภาพที่ลงไว้กว่า 1​  แสนภาพ และมีการขอเส้นทาง 3,290 ครั้ง เมื่อราว 1 เดือนที่ผ่านมา โดยคำนิยมใช้ค้นหาสำหรับร้านแดงอาหารทะเล คือ ​‘ร้านอาหารสมุทรสงคราม’ และ ‘ร้านอาหารแม่กลอง’ ​​โดยมีคนเข้ามาชมรูปของร้านแดงมากกว่า 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับร้านอื่น ๆ ในพื้นที่เดียวกัน

ร้านกาแฟ “Hidden Tree Garden” โดย คุณโอม สุรกานต์ อังสุโชติ ที่ตัดสินใจออกจากงานประจำมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดของตัวเองได้ราว 2 ปี  โดยใช้บ้านตัวเองที่มีจุดเด่นที่ความร่มรื่นธรรมชาติ​ มาเปิดร้านกาแฟในสไตล์ Tropical Garden และมักพบปัญหาว่าลูกค้าหาร้านได้ยาก และหมุดที่ปักไว้มักจะเคลื่อนจากการที่ลูกค้ามักจะขยับตำแหน่ง รวมทั้งใช้ข้อมูลจากคอมเม้นต์ลูกค้ามาปรับพื้นที่ และจัดโซนนิ่งในร้าน เช่น แยกพื้นที่สำหรับคนสูบบุหรี่และไม่สูบ รวมทั้งการถ่ายรูปมุมสวยๆ หรือเมนูต่างๆ ที่ลูกค้าชื่นชอบ

ส่วนสถิติของ Hidden Tree Garden พบว่า 83.8% ของลูกค้าพบร้านจากการเสิร์ช​ โดยข้อความยอดนิยม คือ​coffee รวมทั้งยังหาพบได้จากการเสิร์ช “ร้านกาแฟใกล้ฉัน” และ“ ร้านกาแฟในอัมพวา” ขณะที่​ภาพถ่ายของ Hidden Tree Garden ถูกรับชมมากกว่าธุรกิจอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกันถึง  20​ เท่า และมีการ​ของเส้นทาง​ 43% ของการขอเส้นทางในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มาจากลูกค้านอกพื้นที่แม่กลองรวมถึงกรุงเทพฯ ​ 

สวนมะนาวโห่ลุงศิริ​ โดย คุณทสม์ เจริญช่าง ผู้พัฒนาธุรกิจแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สืบต่อมาจากรุ่นพ่อแม่ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ภาพสวนมะม่วงหาว มะนาวโห่ การทำเวิร์คช็อป แยมมะนาวโห่ รวมทั้งบรรยากาศร้านกาแฟและเมนูเครื่องดื่มและเบเกอรี่ที่มีให้บริการ​ จนปัจจุบันกลายเป็นอีกหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในพื้นที่

โดยสถิติของ สวนมะนาวโห่ลุงศิริ พบว่า 95.1% ของลูกค้าที่พบธุรกิจไม่ได้มาจากการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวโดยตรง แต่พบจากการค้นหาสินค้าหรือบริการ แต่ด้วยความโดดเด่นของคอนเทนต์ทำให้ลูกค้าคลิกดู โดยมีการขอเส้นทางไปบ้านสวน 290 ครั้ง ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่คนส่วนใหญ่คลิกเข้ามาดูข้อมูลมักจะเป็นช่วงบ่ายวันอาทิตย์ และดูข้อมูลเฉลี่ยครั้งละ 1 ชั่วโมง ​


แชร์ :

You may also like