HomeBrand Move !!“Revenue Sharing” ใช่ Next Step ของดิจิทัล เอเจนซี่ จริงหรือ? เจาะสเต็ปการปั้นรายได้ YDM Thailand เมื่อต้องทำงานร่วมกับเจ้าของแบรนด์

“Revenue Sharing” ใช่ Next Step ของดิจิทัล เอเจนซี่ จริงหรือ? เจาะสเต็ปการปั้นรายได้ YDM Thailand เมื่อต้องทำงานร่วมกับเจ้าของแบรนด์

แชร์ :

กลายเป็นกระแสฮือฮาสำหรับวงการดิจิทัลเอเจนซีกับการประกาศเปิดตัวโมเดลการคิดค่าบริการแบบใหม่ของ YDM Thailand ในรูปแบบ Revenue Sharing ที่ทางผู้บริหาร YDM Thailand ยอมรับว่า หลังจากมีการแถลงข่าวออกไปนั้นก็มีแบรนด์จำนวนมากให้ความสนใจและติดต่อสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ในอีกด้านหนึ่ง โมเดล Revenue Sharing อาจกำลังกลายเป็นกรณีศึกษาสำคัญสำหรับวงการดิจิทัลเอเจนซีเมืองไทยเช่นกัน หลังเกิดคำถามตามมาว่า โมเดลนี้จะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ที่สุดทั้งฝ่ายเอเจนซีและฝ่ายลูกค้าผู้สนใจ และมันเหมาะกับแบรนด์ หรือสินค้าแบบไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า ซึ่งคนที่ตอบได้ดีที่สุดหนีไม่พ้นคุณธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YDM Thailand นั่นเอง

จริง ๆ เราทำโมเดล Revenue Sharing ขึ้นมาเพื่อจะผลักลูกค้าไปข้างหน้า เพราะทุกวันนี้โลกก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วมาก มีการนำ Data – AI มาใช้งานในกระบวนการด้านการตลาดเต็มไปหมด แต่ปรากฏว่าลูกค้าไม่กล้าลอง ทั้ง ๆ ที่มี Data ในมือ”

“เราก็ถามว่าทำไมไม่กล้าลอง เขาก็ตอบว่า งบประมาณด้านการตลาดที่เขามีต้องลงกับอะไรก็ตามที่มั่นใจได้ว่าจะมีผลตอบแทนที่ชัดเจน ซึ่งแนวทางการทำตลาดที่ผ่านมามันพิสูจน์แล้วว่ามันเวิร์ก แต่โมเดลใหม่ ๆ ไม่มีอะไรมารับรองผลได้”

นั่นเลยเป็นที่มาของโมเดล Revenue Sharing ที่ลูกค้าไม่ต้องเสี่ยงกับอะไรเลย ถ้าผมขายได้คุณค่อยจ่าย เพื่อให้ลูกค้ากล้าที่จะลองทำตลาดใหม่ ๆ ได้เปลี่ยนวิธีคิด และก้าวมาสู่การทำตลาดแบบวัดผลได้จริง”

โดยรูปแบบการใช้บริการของโมเดลดังกล่าวจะคิดจากส่วนแบ่งยอดขาย ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 2% – 50% ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า และช่องทางในการขาย ที่สำคัญ อาจไม่ใช่สินค้าทุกชนิดที่สามารถใช้โมเดลนี้ได้

โดยคุณธนพลยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า “สินค้าเช่นเครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่มีมาร์จินสูงมากในตลาด และมีคู่แข่งเยอะ การคิดส่วนแบ่งจากยอดขายจึงอาจต้องสูงตามไปด้วย แต่ในบางกรณีที่เจอลูกค้าใจป้ำ บอกคุณมาทำเลย แล้วไม่ว่ายอดขายจะมาจากช่องทางไหนก็ตาม เค้าให้เราแชร์ส่วนแบ่งหมดเลย ถ้าเป็นเคสนี้ ผมอาจขอเปอร์เซ็นต์เขาไม่มาก”

โชว์จุดแข็งมี 9 บริษัทในเครือร่วมด้วยช่วยขาย

สำหรับความมั่นใจในการให้บริการโมเดล Revenue Sharing ส่วนหนึ่งมาจากบริษัทในเครือ YDM Thailand ที่ประกอบด้วย FCB Bangkok เอเจนซี่ด้านการทำแบรนด์คอมมูนิเคชั่น, Nawin Consultant ที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์, Adyim ผู้ให้บริการด้าน Digital Marketing Solutions, Gottimize ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและการซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์, อัลเทอร์เนท65 เจ้าของแพลตฟอร์ม REVU เชี่ยวชาญด้านการรีวิวสินค้าโดยใช้ Micro influencers, ADPOCKET ผู้ให้บริการด้านการทำ Mobile Advertising, แจ่มจรัส ผู้ให้บริการด้านการทำการตลาดภูธรแบบครบวงจร, AVG Thailand ผู้ให้บริการด้านำ Digital Marketing เจาะตลาดจีนโดยเฉพาะ และ Doer แพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ที่ให้บริการด้านการทำ Website, Mobile Application 

“Revenue Sharing” โมเดลนี้จะอินดี้หน่อย ๆ

คุณธนพล ทรัพย์สมบูรณ์

เมื่อเราถามต่อว่า ในกรณีที่ YDM Thailand มีบริษัทลูกอยู่ถึง 9 บริษัท เป็นไปได้หรือไม่ที่แบรนด์จะถือสินค้าเข้ามาแล้วบอกว่าอยากใช้บริการทั้งหมด 9 บริษัทเลย ในจุดนี้คุณธนพลเผยว่า

โมเดล Revenue Sharing จะอินดี้หน่อย ๆ เพราะผู้กำหนดกลยุทธ์คือ YDM Thailand

“ดังนั้น การตัดสินว่าแบรนด์ที่รับทำให้นั้นควรจะใช้เซอร์วิสใดบ้างจึงจะเหมาะสมจะพิจารณาจากทีมงาน YDM Thailand ซึ่งอาจไม่ได้ใช้ทุกบริการที่เตรียมไว้”

“ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงพยาบาล ผมอาจทำตลาดเพื่อดึงลูกค้าจากจีนมาให้เขาได้ หรือธุรกิจรถยนต์ อาจคิดจากจำนวนคนที่เราสามารถดึงมา Test Drive ได้ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ จะใช้โซลูชัน หรือกลยุทธ์อะไร เราเป็นคนเลือกให้เองตามความเหมาะสม แต่ถ้าลูกค้าอยากได้หลายเซอร์วิสจากเรา ผมก็มีอีกโมเดลให้เลือก นั่นคือคุณมาจ้างเราทำงานในฐานะเอเจนซี่”

เปิดตัว 2 เครื่องมือช่วยงาน “Sell & Buy”

อย่างไรก็ดี การจะทำโมเดล Revenue Sharing ให้ครบถ้วนทั้ง Ecosystem นั้น YDM Thailand จำเป็นต้องสร้างผู้ช่วยคนสำคัญขึ้นมาอีก 2 ตัว นั่นคือแพลตฟอร์มชื่อ SellZabuy.com กับ BuyZabuy.com สำหรับช่วยมอนิเตอร์การขายบนโลกออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยประหยัดต้นทุนให้กับทุกฝ่าย

โดยรูปแบบการทำงานของ SellZabuy.com คือการเป็นระบบหลังบ้านคอยเชื่อมต่อกับอินฟลูเอนเซอร์ และงานด้านการขายต่าง ๆ ส่วน BuyZabuy.com นั้น จะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (คล้าย Lazada – Shopee) แต่สินค้าที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์จะเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะด้าน ไม่ใช่สินค้าที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด

จากนั้น อินฟลูเอนเซอร์ที่ YDM มีในระบบ จะเป็นผู้นำ Link สินค้าบนแพลตฟอร์ม BuyZabuy.com ไปกระจายตามช่องทางต่าง ๆ ของตนเองต่อไป และเมื่อมียอดขายเกิดขึ้น การมีแพลตฟอร์มอย่าง SellZabuy.com กับ BuyZabuy.com จะช่วยให้การ Track ยอดขายเกิดขึ้นได้อย่างตรงไปตรงมา

การพยายามซิกแซก หาช่องทางเพื่อจะได้มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนอื่นอาจเคยเป็นรูปแบบที่ทำให้บางคน บางธุรกิจได้กำไรมหาศาลในอดีตก็จริง แต่สิ่งที่เราเห็นจากเครื่องมือการตลาดยุคใหม่นั้นกำลังจะสะท้อนว่า การสร้างยอดขายอย่างตรงไปตรงมาบนโลกดิจิทัลนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงหากรู้จักใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ส่วนจะมีคนกล้าทดลองใช้งานมากแค่ไหน ไม่นาน YDM Thailand คงออกมาบอกให้เราทราบกัน

 


แชร์ :

You may also like