HomeDigitalจับตา! ทิศทางต่อไปของ Uber กับการขายพื้นที่ “โฆษณา” และเพิ่มบริการ “Uber Eats Pool” เพื่อเตรียมเข้า IPO

จับตา! ทิศทางต่อไปของ Uber กับการขายพื้นที่ “โฆษณา” และเพิ่มบริการ “Uber Eats Pool” เพื่อเตรียมเข้า IPO

แชร์ :

โมเดลธุรกิจในปัจจุบันของ Google คือ ช่วยให้คุณค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ และ ขายโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับของที่คุณค้นหา เช่นเดียวกันกับ Facebook ที่ช่วยให้คุณเลือกดูคอนเทนต์ที่คุณชอบได้อย่างอิสระ และ ขายโฆษณาเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่คาดว่าคุณจะสนใจ แล้วทำไม Uber ผู้ช่วยคลายความหิวของคุณในยุคนี้ จะกลายเป็น “พื้นที่โฆษณา” ให้กับร้านอาหารบ้างไม่ได้ละ???

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แนวคิดของบริการนี้ได้เริ่มชิมลางมาบ้างแล้วกับ Uber Eats India โดยได้ทดลองให้ร้านอาหารในอินเดียใช้บริการ ร้านอาหารเข้ามาเพิ่มชื่อร้านของตัวเองเข้าไปในระบบ แล้วนำเสนอส่วนลดให้กับลูกค้า พร้อมกันนี้ยังมีฟังก์ชั่น “ค้นหา” (Search) ซึ่งสำหรับร้านที่ซื้อโฆษณาก็จะปรากฏให้เห็นเป็นพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับร้านอาหารที่ต้องการเพิ่มยอดขายในช่วงนอกเวลาอาหารที่มียอดขายต่ำ ระบายสต็อคอาหาร นำเสนออาหารที่ทำกำไรได้มาก หรือ เพิ่มลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาในร้าน รวมถึงอีกหลายเหตุผลที่จะต้องจ่ายเงินให้ Uber ไม่ว่าจะทางอ้อมผ่านการให้ส่วนลดหรือทางตรงโดยการซื้อโฆษณาเพื่อการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

Stephen Chau หัวหน้าฝ่าย Uber Eats ระบุถึงความตั้งใจที่จะเป็นบริษัทโฆษณากับ Tech Crunch ว่ามีหนทางมากมายที่พวกเราสามารถทำงานกับร้านอาหาร หากพวกเรามีร้านอาหารในพื้นที่ค้าขายและพวกเราให้เครื่องมือแก่พวกเขา ก็จะเป็นหนทางที่ช่วยให้ร้านเหล่านี้เติบโตขึ้น การทำการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกเขาจำเป็นจะต้องซื้อโฆษณาที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ขณะนี้เรากำลังทดสอบขั้นต่อไป ให้ร้านค้าสามารถใส่โปรโมชั่นเข้าไปได้ทันที ด้วยตัวเอง ทำให้โปรโมชั่นสามารถปรากฏให้ลูกค้าเห็นได้ในทันที” 

นอกจากจะเพิ่มเติม “พื้นที่โฆษณา” เข้าไปในโมเดลธุรกิจแล้ว Uber ยังรุกธุรกิจด้านอาหารเพิ่มขึ้น โดยสร้าง  “Uber Eats Pool” ขึ้นมา บริการนี้จะจับคู่ออร์เดอร์อาหารที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันให้ไปด้วยกัน คล้ายๆ Car Pool ที่ทำให้ผู้โดยสารหลายคนที่ไปทางเดียกวัน นั่งรถคันเดียวกัน สำหรับ “Uber Eats Pool” นี้จะจับคู่ในลักษณะเดียวกัน แล้วให้ส่วนลดกับคนที่สั่งอาหารทีหลัง แต่ยอมรับอาหารจากร้านที่มีคนสั่งก่อนหน้า (ประมาณว่า ในเมื่อคุณไม่ได้เลือกอาหารด้วยตัวเอง 100% แต่จำใจสั่งอาหารจากร้านที่มีคนสั่งอยู่ก่อนหน้าแล้ว ระบบก็จะมอบส่วนลดเป็นแรงจูงใจ) รวมทั้งระบบจะมี “เวลานับถอยหลัง” เพื่อไม่ให้คนที่สั่งก่อนต้องรอนานเกินไป 

นอกจากนี้ “Uber Eats Pool” ยังมีแผน จับคู่ “คน” กับ “อาหาร” ผู้โดยสารที่ยอมเดินทางไปพร้อมกับการเดลิเวอรี่อาหารในเส้นทางเดียวกัน ก็จะได้ส่วนลด เพราะผลขับเองก็ลดต้นทุนลงไปเช่นเดียวกัน 

เหตุผลที่ Uber สามารถทำบริการที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลยในอดีตให้เกิดขึ้นได้เพราะ Uber นำข้อมูลของการสั่งซื้อมาทำประโยชน์มากขึ้นร่วมกับความชำนาญด้านการขนส่งจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับคนขับ Uber สุดท้ายส่งผลให้ Uber ได้รับค่าธรรมเนียมมากขึ้นอีกด้วยและการเริ่มมาทำธุรกิจโฆษณาก็เพื่อช่วยให้เกิด conversion rate มากที่สุดภายในแอปฯ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือให้กับร้านอาหารสามารถติดตามการทำโปรโมชันการบันทึกการขายได้อย่างมีประสิทธภาพมากยิ่งขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ Uber น่าจะเข้าสู่การระดมทุนในปีนี้ ดังนั้น การสร้างโมเดลที่สามารถหารายได้เพิ่มขึ้น ก็ดูจะเป็นหนทางที่ต้องเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามในฐานะพลเมืองของโลก ที่อยู่ในพื้นที่ที่ ไม่มี Uber ให้บริการซะแล้ว เราก็คงต้องลุ้นกันว่าแนวคิดของ Uber ที่เป็นวิธีคิดแบบ Sharing-Economy ไปอีกขั้น ในเทคโนโลยีและข้อมูลมาพล็อตเส้นทาง แล้วจับคู่ให้คน/อาหาร ที่ต้องเดินทาง/ขนส่งเส้นทางดียวกันไปด้วยกัน จะสำเร็จหรือไม่ ถ้าทำได้น่าสนใจและน่าจะช่วยให้ลดบริการการใช้ทรัพยากรเพื่อการเดินทางไปอีกไม่มากก็น้อย 

Source


แชร์ :

You may also like